คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2486

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1522 ไช้บังคับสำหรับไนกรนีที่ฝ่ายชายผู้เปนสามีจะฟ้องความตามมาตรา 1520.
ฟ้องขอไห้รับรองบุตร โจทไม่จำต้องกล่าวไนฟ้องว่ามีหนังสือเปนหลักถานตามที่บัญญัติไว้ไนมาตรา 1529 (2) และโจทนำสืบถึงหนังสือนั้นได้.
หนังสือที่จำเลยทำไห้โจทรับจะเลี้ยงดูโจทย่อมเปนหลักถานโดยปริยายแล้วว่า จำเลยซาบแน่ว่าบุตรไนครรภ์นั้นเปนบุตรอันเกิดแต่จำเลย ๆ จึงยินยอมทำหนังสือรับเลี้ยงดู.

ย่อยาว

โจทฟ้องขอไห้สาลบังคับจำเลยรับรองเด็กชายสงวนว่าเปนบุตรโดยชอบด้วยกดหมายของจำเลย และขอไห้ส่งค่าเลี้ยงดูบุตร
จำเลยไห้การปติเสธและว่าฟ้องโจทเคลือบคลุมโดยไม่กล่าวว่า-ล่อลวงโดยวิธีได เมื่อได สถานที่ไดเปนเหตุไห้จำเลยเสียเปรียบ และเด็กเกิดเกิน ๑ ปี แล้วจึงมาขอไห้รับรอง ฟ้องโจทจึงขาดอายุความ.
สาลชั้นต้นฟังว่าเด็กชายสงวนเปนบุตรของจำเลย แต่เห็นว่า โจทไม่ฟ้องร้องว่ากล่าวไห้จำเลยรับรองเด็กเปนบุตร
ไนเวลา ๑ ปี นับแต่บิดารู้วันเกิดของเด็ก ฟ้องโจทจึงขาดอายุความตามประมวนแพ่ง ฯ มาตรา ๑๕๒๒ พิพากสายกฟ้อง.
โจทอุทธรน์ สาลอุธรน์เห็นว่าประมวนแพ่ง ฯ มาตรา ๑๕๒๒ ไช้บังคับได้สำหรับคดีที่ฝ่ายชายผู้เปนสามีจะฟ้องตามมาตรา ๑๕๒๐ ไนข้อที่ไม่รับเด็กเปนบุตรซึ่งเกิดขนะหยิงเปนภรรยาชายตามมาตรา ๑๕๑๙ เท่านั้น คดีนี้ต้องบังคับตามมาตรา ๑๕๑๙ ฟ้องของโจทไม่ขาดอายุความและโจทเปนผู้แทนโดยชอบธัมของเด็กตามมาตรา ๑๕๔๑ ย่อมมีสิทธิฟ้องแทนเด็กได้ พิพากสากลับว่าเด็กชายสงวนเปนบุตรของจำเลย ไห้จำเลยจ่ายค่าเลี้ยงดูไห้เดือนละ ๕ บาท จนอายุครบ ๑๐ ปี และต่อไปอีกเดือนละ ๑๐ บาท จนบันลุนิติภาวะ
จำเลยดีกา สาลดีกาฟังข้อเท็ดจิงตามสาลอุธรน์แล้ววินิจฉัยปัญหาข้อกดหมายดังต่อไปนี้.
๑. จำเลยว่าฟ้องโจทขาดอายุความประมวนแพ่ง ฯ มาตรา ๑๕๒๒ สาลดีกาเห้นว่าฟ้องโจทไม่ขาดอายุความตามคำพิพากสาสาลอุธรน์
๒. จำเลยว่าฟ้องโจทเปนกรนีตามประมวนแพ่ง ฯ มาตรา ๑๕๒๙ ข้อ ๒ ซึ่งต้องมีหลักถานเปนหนังสือบิดาทำไว้ จึงจะมีหน้าที่ต้องรับรองเอาเด็กเปนบุตร แต่โจทมิได้กล่าวไนฟ้องว่ามีหลักถานเช่นนี้ โจทจึงนำสืบว่ามีหนังสือเช่นนั้นไม่ได้ สาลดีกาเห็นว่ากดหมายเพียงแต่ต้องการไห้สืบข้อเท็ดจิงไนเรื่องนี้โดยมีพยานเอกสารเปนหลักถานเท่านั้น ก็นำสืบถึงหนังสือนั้นได้.
๓. จำเลยว่าหนังสือตามที่กล่าวไนข้อ ๒ มีใจความเพียงยอมไห้ค่าเลี้ยงดูโจทเท่านั้นหาได้รับรองถึงเด็กเปนบุตรด้วยไม่ จึงไม่เปนหลักถานเพียงพอ สาลดีกาเห็นว่ากดหมายต้องการเพียงว่าไนข้อเท็ดจิงที่ว่าเด็กจะเปนบุตรของชายหรือไม่นั้น ต้องมีหลักถานเปนหนังสือที่ชายทำไว้ และคดีก็ได้ความว่าเมื่อโจทตั้งครรภ์แล้วจำเลยไม่เลี้ยงดูโจท โจทจะฟ้องร้องจำเลยจึงทำหนังสือรับจะเลี้ยงดูโจท ย่อมสแดงโดยปริยายว่าจำเลยตระหนักแล้วว่า เด็กไนครรภ์เกิดจากจำเลย จำเลยจึงยินยอมทำหนังสือรับเลี้ยงดู หนังสือจึงเปนหลักถานอันเพียงพอตามกดหมายแล้ว จึงพิพากสายืนตามสาลอุธรน์.

Share