แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ซื้อสิทธิการเช่าอาคารราชพัสดุของจำเลยที่2ได้จากการขายทอดตลาดและชำระราคาไปตั้งแต่วันที่18มิถุนายน2530โจทก์ได้รับเงินค่าซื้อทรัพย์ไปจากศาลเมื่อวันที่7กรกฎาคม2530ถือได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วตั้งแต่วันดังกล่าวการที่ผู้ร้องเพิ่งยื่นคำร้องสอดเมื่อวันที่29ธันวาคม2535จึงเกินกำหนดเวลาตามกฎหมายที่จะยื่นได้แม้ผู้ร้องสอดจะอ้างว่าไม่รู้ถึงการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวก็ไม่มีข้อกำหนดในกฎหมายให้ผู้ร้องสอดมาร้องภายหลังจากการบังคับคดีเสร็จลงได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้ประมูล ซื้อ สิทธิ การ เช่า อาคาร ราชพัสดุจาก การ ขายทอดตลาด และ ได้ ไป จดทะเบียน รับโอน สิทธิ การ เช่า อาคาร ราชพัสดุเลขที่ ดังกล่าว จาก นาย ถาวร ผู้เช่า มา เป็น ของ โจทก์ แต่ โจทก์ ไม่สามารถ เข้า ใช้สอย อาคาร ราชพัสดุ เลขที่ ดังกล่าว ได้ เนื่องจาก จำเลย ทั้ง สองเป็น บริวาร ของ นาย ถาวร ได้ ใช้ อาคาร พิพาท เป็น สถานที่ ประกอบ กิจการ ทำให้ โจทก์ เสียหาย ขาด ประโยชน์ จาก การ ใช้สอย อาคาร พิพาท เดือน ละ3,000 บาท ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร ออก ไป จาก อาคาร ราชพัสดุเลขที่ 1259/7 และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ ค่าเสียหาย จำนวน 30,000 บาทแก่ โจทก์ และ ค่าเสียหาย อีก อัตรา เดือน ละ 3,000 บาท นับแต่ วัน ถัด จากวันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สอง และ บริวาร จะ ออก ไป จากอาคาร ราชพัสดุ พิพาท
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ทั้ง สอง อยู่อาศัย ใน อาคาร ราชพัสดุโดย อาศัย สิทธิ การ เช่า ของ นาง จันทร์ อ่างทอง ซึ่ง เป็น ภรรยา จำเลย ที่ 2 นาย ถาวร ได้ โอนสิทธิ การ เช่า อาคาร ดังกล่าว ให้ แก่ นาง จันทร์ โดย นาย ถาวรและนางจันทร์ ได้ มี หนังสือ บอกกล่าว การ โอนสิทธิ การ เช่า อาคาร ดังกล่าว ไป ยัง ราชพัสดุ จังหวัด นครสวรรค์ และ ผู้ว่าราชการจังหวัด นครสวรรค์ ใน ขณะ นั้น โดยชอบ แล้ว โจทก์ ซื้อ สิทธิ ใน การ เช่าโดย ไม่สุจริต เพราะ โจทก์ รู้ อยู่ แล้ว ว่า นาย ถาวร ได้ โอนสิทธิ การ เช่า อาคาร ดังกล่าว ให้ แก่ นาง จันทร์ แล้ว และ ขณะที่ โจทก์ ประมูล ซื้อ สิทธิ การ เช่า อาคาร ดังกล่าว โจทก์ ก็ ทราบ ดี อยู่ แล้ว ว่า จำเลย ทั้ง สองได้ อาศัย อยู่ ใน อาคาร ดังกล่าว โดย อาศัย สิทธิ ของ นาง จันทร์ โจทก์ จึง ไม่ได้ สิทธิ การ เช่า อาคาร ดังกล่าว จาก การ ขายทอดตลาด ตาม คำสั่งศาลจึง ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา ผู้ร้องสอด ยื่น คำร้องขอ เข้า เป็น คู่ความโดย อ้างว่า นาย ถาวร โอนสิทธิ การ เช่า อาคาร ราชพัสดุ ดังกล่าว ให้ แก่ ผู้ร้องสอด และ นาย ถาวร กับ ผู้ร้องสอด ได้ มี หนังสือ บอกกล่าว การ โอนสิทธิ การ เช่า ไป ยัง ราชพัสดุ จังหวัด และ ผู้ว่าราชการจังหวัดใน ขณะ นั้น โดยชอบ แล้ว สิทธิ การ เช่า อาคาร ราชพัสดุ ดังกล่าว จึง เป็น ของผู้ร้องสอด โจทก์ ซื้อ สิทธิ การ เช่า อาคาร ราชพัสดุ โดย ไม่สุจริตเพราะ โจทก์ รู้ อยู่ แล้ว ว่า นาย ถาวร โอนสิทธิ การ เช่า อาคาร ราชพัสดุ ดังกล่าว ให้ แก่ ผู้ร้องสอด แล้ว อีก ทั้ง ขณะที่ โจทก์ ประมูล ซื้อสิทธิ การ เช่า ดังกล่าว โจทก์ ก็ ทราบ ดี อยู่ แล้ว ว่า จำเลย ทั้ง สอง และผู้ร้องสอด ได้ อาศัย อยู่ ใน อาคาร ดังกล่าว ขอให้ มี คำสั่ง เพิกถอนการ ขายทอดตลาด และ การ จดทะเบียน ตาม สัญญาเช่า อาคาร ราชพัสดุเลขที่ 1259/7 ระหว่าง กระทรวงการคลัง ผู้ให้เช่า กับธนาคาร กรุงเทพ จำกัด ผู้เช่า และ เพิกถอน การ จดทะเบียน ตาม หนังสือ สัญญา โอนสิทธิ การ เช่า ฉบับ ลงวันที่ 25 มีนาคม 2534 ระหว่างนาย ถาวรกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด ศาลชั้นต้น อนุญาต
โจทก์ ให้การ แก้ คำร้อง สอด ว่า เจ้าพนักงาน บังคับคดี มิได้ดำเนินการ บังคับคดี ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย ผู้ร้องสอด จึง ไม่มี อำนาจฟ้องขอให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด สิทธิ การ เช่า อาคาร ดังกล่าว ได้ ผู้ร้องสอดยอมรับ การ โอนสิทธิ การ เช่า กับ ภาระ ตาม สัญญาค้ำประกัน ย่อม มีผล เท่ากับผู้ร้องสอด ยอม ให้ โจทก์ นำยึด สิทธิ การ เช่า ดังกล่าว ขายทอดตลาด ได้โจทก์ ซื้อ ทรัพย์ โดยสุจริต ได้เสีย ค่าตอบแทน จาก การ ขายทอดตลาดของ ศาล และ การ จดทะเบียน การ เช่า ก็ เป็น การ จดทะเบียน โดยสุจริต และเสีย ค่าตอบแทน โดย ที่ ผู้ร้องสอด มิได้ ร้องขัดทรัพย์ และ คัดค้าน การจดทะเบียน การ เช่า แต่อย่างใด ผู้ร้องสอด จึง ไม่มี อำนาจ ขอให้ เพิกถอนขอให้ ยกคำร้อง สอด
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว เห็นว่า คดี พอ วินิจฉัย ได้ โดย ไม่จำต้องสืบพยาน จึง ให้ งดสืบพยาน แล้ว พิพากษา ให้ ขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง และบริวาร ออกจาก อาคาร ราชพัสดุ เลขที่ 1259/7 และ ให้ จำเลย ทั้ง สองชำระ ค่าเสียหาย จำนวน 17,000 บาท และ ชำระ ค่าเสียหาย อีก อัตราเดือน ละ 1,700 บาท นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลยทั้ง สอง และ บริวาร จะ ออกจาก อาคาร ราชพัสดุ ข้างต้น คำขอ อื่น ให้ยกและ ให้ยก คำร้อง สอด
ผู้ร้องสอด อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า กรณี ขอให้ เพิกถอนการ ขายทอดตลาด นั้น ปรากฏว่า การ บังคับคดี ได้ เสร็จ ลง แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ร้องสอดเพิ่ง มา ขอ เพิกถอน เมื่อ เกิน กำหนด เวลา สำหรับ ที่ ขอให้ เพิกถอน การจดทะเบียน ตาม สัญญาเช่า การ จดทะเบียน ตาม สัญญา โอนสิทธิ การ เช่าล้วน เป็น เรื่อง ที่ ผู้ร้องสอด ขอให้ บังคับ ให้ โจทก์ กับ บุคคลภายนอกซึ่ง มิใช่ เป็น คู่ความ ใน คดี จึง ไม่มี อำนาจ ขอให้ เพิกถอน ได้ พิพากษายืน
ผู้ร้องสอด ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “เจ้าพนักงาน บังคับคดี ได้ ยึด สิทธิ การ เช่าอาคาร เลขที่ 1259/7 หมู่ ที่ 10 ตำบล นครสวรรค์ตก อำเภอ เมือง นครสวรรค์ จังหวัด นครสวรรค์ ของ จำเลย ที่ 2 ใน คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 765/2525 ของ ศาลชั้นต้น ขายทอดตลาด โจทก์ ประมูล ได้เมื่อ วันที่ 18 มิถุนายน 2530 และ ได้ จดทะเบียน โอนสิทธิ การ เช่า กับกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เมื่อ วันที่ 22 ธันวาคม 2531 ผู้ร้องสอดยื่น คำร้อง สอด เมื่อ วันที่ 29 ธันวาคม 2535 อ้างว่า มีสิทธิ ใน การ เช่าอาคาร ที่ โจทก์ ซื้อ ได้ จาก การ ขายทอดตลาด ใน การ บังคับคดี และ โจทก์ไม่สุจริต ขอให้ เพิกถอน การ ขายทอดตลาด และ การ จดทะเบียน ที่ โจทก์ได้รับ จาก การ ซื้อ ทรัพย์ ได้ จาก การ ขายทอดตลาด กรณี เช่นนี้ เป็น การกล่าวอ้าง ว่า ผู้ร้องสอด เป็น ผู้มีส่วนได้เสีย และ มี การ บังคับคดีฝ่าฝืน ต่อ กฎหมาย ผู้ร้องสอด ต้อง ยื่น คำร้องขอ ก่อน การ บังคับคดีได้ เสร็จ ลง แต่ คดี นี้ โจทก์ ได้ ซื้อ สิทธิ การ เช่า จาก การ ขายทอดตลาดและ ชำระ ราคา ไป ตั้งแต่ วันที่ 18 มิถุนายน 2530 และ ปรากฏ หลักฐาน จากจาก ใบรับเงิน หรือ สิ่งของ ที่ คู่ความ รับ ไป จาก ศาล ฉบับ ลงวันที่7 กรกฎาคม 2530 ว่า โจทก์ ได้รับ เงิน ค่าซื้อ ทรัพย์ ไป จาก ศาล อันเป็นกรณี ที่ ถือได้ว่า การ บังคับคดี ได้ เสร็จ ลง แล้ว ตั้งแต่ วัน ดังกล่าวดังนั้น การ ที่ ผู้ร้อง เพิ่ง ยื่น คำร้อง สอด เมื่อ วันที่ 29 ธันวาคม2535 จึง เกิน กำหนด เวลา ตาม กฎหมาย ที่ จะ ยื่น ได้ แม้ ผู้ร้องสอด จะ อ้างว่าไม่รู้ ว่า มี การ ขายทอดตลาด ทรัพย์ ดังกล่าว ก็ ไม่มี ข้อกำหนด ใน กฎหมายให้ ผู้ร้องสอด จะ ร้อง ภายหลัง จาก การ บังคับคดี เสร็จ ลง ได้ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ผู้ร้องสอด ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน