คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2073/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ทายาทมีข้อขัดแย้งไม่อาจตกลงกันให้ผู้จัดการมรดกจัดการแบ่งอสังหาริมทรัพย์ส่วนใดเป็นของทายาทคนใดถ้าผู้จัดการมรดกจัดการแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวตามความต้องการของทายาทฝ่ายหนึ่งย่อมขัดกับความประสงค์ของทายาทอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งการแบ่งอาจไม่สำเร็จลุล่วงไปและอาจทำให้มีกรณีพิพาทเกิดขึ้นระหว่างทายาทกันเองและระหว่างทายาทกับผู้จัดการมรดกตามมาอีกได้ประกอบกับบำเหน็จที่ผู้จัดการมรดกได้รับก็เป็นบำเหน็จเฉพาะสำหรับผลงานที่ได้ทำสำเร็จไปแต่ละครั้งคราวกรณีมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้จัดการมรดกลาออกจากตำแหน่ง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

คดี นี้ สืบเนื่อง จาก เดิม ศาล มี คำสั่ง ตั้ง นาย โกวิท บุญยัษฐิติและ นาย ประธาน ดวงรัตน์ เป็น ผู้จัดการ มรดก ของ หม่อมเจ้าหญิงวิมลปทัมราช จิรประวัติ แทน หม่อมเจ้า ขจรจิรพันธุ์ จิรประวัติผู้จัดการ มรดก คนเดิม ซึ่ง สิ้นชีพตักษัย ต่อมา ผู้ร้อง ที่ 3 ที่ 4ยื่น คำร้อง ขอ ให้ ถอน ผู้จัดการ มรดก ทั้ง สอง ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2ยื่น คำร้องคัดค้าน ใน วันนัด ไต่สวน คำร้อง ผู้จัดการ มรดก ทั้ง สองยื่น คำร้อง ขอ ถอน ตน จาก การ เป็น ผู้จัดการมรดก ผู้ร้อง ที่ 3 ที่ 4จึง ขอ ถอน คำร้อง ที่ ขอ ถอน ผู้จัดการ มรดก ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 แถลงคัดค้าน ว่า ไม่ มี เหตุ ที่ ผู้จัดการ มรดก จะ ถอน ตน ศาลชั้นต้นพิจารณา แล้ว มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ผู้ร้อง ที่ 3 ที่ 4 ถอน คำร้องขอถอน ผู้จัดการ มรดก ได้ และ นัด ไต่สวน คำร้อง ของ ผู้จัดการ มรดก ที่ขอ ถอน ตน จาก การ เป็น ผู้จัดการ มรดก
วันนัด ไต่สวน ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ งด การ ไต่สวน ให้ ผู้จัดการมรดก ส่ง บันทึก ของ หม่อมเจ้า ขจรจิรพันธุ์ จิรประวัติ ต่อ ศาล และนัด พร้อม
วันนัด พร้อม ผู้จัดการ มรดก ส่ง เอกสาร ตาม ที่ ศาล สั่ง ผู้ร้อง ที่1 ที่ 2 แถลง ว่า เอกสาร ที่ ผู้จัดการ มรดก ส่ง ต่อ ศาล ไม่ เกี่ยวกับเรื่อง การ ถอน ผู้จัดการ มรดก ผู้ร้อง ที่ 3 ที่ 4 ปฏิเสธ ว่า ไม่ เคยเห็น และ ไม่ เคย ตกลง ตาม เอกสาร นั้น ศาลชั้นต้น สั่ง ว่า คดี เสร็จการ พิจารณา และ มี คำสั่ง อนุญาต ให้ ผู้จัดการ มรดก ทั้ง สอง ลาออกจาก ตำแหน่ง ผู้จัดการ มรดก รายนี้ ได้
ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน ผู้ร้อง ที่ 1ที่ 2 ฎีกา ศาลฎีกา พิพากษา ย้อน สำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ พิจารณาพิพากษา ใหม่ เพราะ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ อุทธรณ์ โดย ไม่ ได้ ส่ง สำเนาอุทธรณ์ ให้ ผู้จัดการ มรดก ทั้ง สอง แก้
ใน การ พิจารณา พิพากษา ใหม่ ตาม คำพิพากษา ศาลฎีกา นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษา ยืน ผู้ร้อง ที่ 1 ฎีกา
‘ศาลฎีกา ตรวจ สำนวน ประชุม ปรึกษา แล้ว ปัญหา มี ว่า มี เหตุ สมควรที่ จะ อนุญาต ให้ ผู้จัดการ มรดก ทั้ง สอง ลาออก จาก ตำแหน่ง หรือไม่ที่ ผู้ร้อง ที่ 1 ฎีกา ว่า ไม่ มี เหตุ สมควร อนุญาต ให้ ผู้จัดการมรดก ลา ออก โดย อ้าง เหตุ ว่า การ จัดการ มรดก ไม่ ยุ่งยาก ประการหนึ่ง และ ผู้จัดการ มรดก ได้ รับ บำเหน็จ ไป แล้ว อีก ประการ หนึ่งนั้น เห็น ว่า ข้ออ้าง ประการ แรก เมื่อ ปรากฏ ว่า บันทึก ข้อตกลงระหว่าง ผู้รับ พินัยกรรม ตาม เอกสาร หมาย จ.2 มี เพียง การ กำหนด ให้ทายาท แต่ละ คน ได้ ส่วนแบ่ง ทรัพย์มรดก แต่ มิได้ กำหนด ว่า คนใด ได้ส่วนใด ตอนใด และ บันทึก นั้น ก็ ไม่ มี ข้อความ ใดๆ ที่ แสดง ให้ เห็นว่า ผู้ร้อง ที่ 3 หรือ ที่ 4 เข้า ไป เกี่ยวข้อง รับรู้ อยู่ ด้วย ส่วนบันทึก ข้อความ ตกลง ระหว่าง ผู้ รับ พินัยกรรม ตาม เอกสาร หมาย จ.1ซึ่ง มี การ แบ่ง ทรัพย์ มรดก เป็น รายละเอียด นั้น ก็ ไม่ ปรากฏลายมือชื่อ ของ ผู้ร้อง ที่ 3 และ ที่ 4 รับรอง ไว้ ทั้ง ผู้ร้อง ที่3 และ ที่ 4 ยัง ได้ โต้แย้ง ไว้ ชัดแจ้ง ใน ระหว่าง พิจารณา ของศาลชั้นต้น ว่า ไม่ เคย เห็น บันทึก เอกสาร หมาย จ.1 กรณี ย่อม ฟังไม่ ได้ ว่า ผู้ร้อง ที่ 3 และ ที่ 4 ตกลง ยินยอม ให้ มี การ แบ่งทรัพย์มรดก ตาม บันทึก เอกสาร หมาย จ.1 และ จ.2 ทรัพย์ มรดก รายนี้ ตาม ที่ปรากฏ ใน เอกสาร หมาย จ.2 มี อสังหาริมทรัพย์ เป็น สำคัญ และ จะ ต้องแบ่ง ให้ ทายาท แต่ละ คน ได้ รับ ตาม ส่วน การ ทำ ข้อตกลง ต้อง กระทำโดย บุคคล ทุก ฝ่าย ที่ เกี่ยวข้อง และ ให้ ชัดเจน ว่า ส่วนใด เป็น ของทายาท คนใด ข้อตกลง นั้น จึง จะ เป็น ผล เมื่อ ปรากฏ ว่า ทายาท บาง ฝ่ายไม่ยอม ตกลง ด้วย ผู้จัดการ มรดก ย่อม จัดการ แบ่งปัน มรดก ตาม นั้นไม่ ได้ นอกจาก นี้ ผู้จัดการ มรดก มี ฐานะ เสมือน ตัวแทน ทายาท บางกรณีและ อาจ ถูก ฟ้อง ให้ รับผิด ต่อ ทายาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1720 ได้
สำหรับ ฎีกา ผู้ร้อง ที่ 1 ที่ อ้าง ว่า ไม่ สมควร ที่ จะ อนุญาต ให้ผู้จัดการ มรดก ลาออก จาก ตำแหน่ง เพราะ ผู้จัดการ มรดก ได้ รับบำเหน็จ นั้น เห็น ว่า ตาม บันทึก ข้อตกลง จ่าย บำเหน็จ เอกสาร หมายจ.5 ระบุ ว่า ให้ ผู้จัดการ มรดก ได้ ค่า บำเหน็จ คิด ตาม ส่วน ของ เงินรายรับ ทั้ง สิ้น ของ ผลประโยชน์ ที่ ได้ จาก การ จัดการ มรดก ก่อนหัก รายจ่าย ซึ่ง ตาม ข้อตกลง นี้ แสดง ให้ เห็น ว่า ผู้จัดการ มรดกจะ ได้ รับ บำเหน็จ ต่อ เมื่อ จัดการ ให้ ได้ เงิน มา ใน แต่ละ ครั้งแต่ ละ คราว ซึ่ง ไม่ เกี่ยวกับ เรื่อง การ แบ่งแยก ทรัพย์ มรดก ให้แก่ ทายาท และ ปรากฏ ตาม ฎีกา ของ ผู้ร้อง ที่ 1 เอง ว่า ผู้จัดการ มรดกได้ บำเหน็จ มา เกือบ สิบ ปี แล้ว เป็น ข้อสนับสนุน ให้ เห็น ว่าบำเหน็จ ที่ ตกลง กัน ผู้จัดการ มรดก ได้ รับ เป็น ครั้งคราว ตาม ผล ของงาน การ จัด เก็บ เงิน ผลประโยชน์ ให้ แก่ กองมรดก ทาง พิจารณา ไม่ปรากฏ ว่า ได้ มี ข้อตกลง ให้ บำเหน็จ แก่ ผู้จัดการ มรดก ทั้ง สอง ในการ จัดการ แบ่งปัน ทรัพย์มรดก นอกเหนือ ไป จาก ที่ กล่าวมา แล้วข้อเท็จจริง ย่อม ฟัง ได้ ว่า ผู้จัดการ มรดก จัดการ ไป แล้ว และ ได้รับ บำเหน็จ เป็น ครั้งคราว ตาม ผลสำเร็จ ของ การงาน ที่ ทำ ใน แต่ละครั้ง ตาม ข้อตกลง
เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ว่า ผู้ร้อง ทั้ง สี่ ซึ่ง เป็น ทายาท มีข้อ ขัดแย้ง กัน ไม่อาจ ตกลง กัน ให้ ผู้จัดการ มรดก จัดการ แบ่งอสังหาริมทรัพย์ ซึ่ง เป็น ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ส่วนใด เป็น ของทายาท คนใด ได้ และ บำเหน็จ ที่ ผู้จัดการ มรดก ได้ รับ ก็ เป็น บำเหน็จเฉพาะ สำหรับ ผลงาน ที่ ทำ สำเร็จ ไป แล้ว แต่ ละ ครั้งคราว ไม่เกี่ยวกับ การ จัด แบ่งปัน ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ตรง ตาม ข้อตกลงที่ ทำ ไว้ กับ ทายาท ของ เจ้ามรดก แล้ว เช่นนี้ ศาลฎีกา เห็น ว่าถ้า ผู้จัดการ มรดก จัดการ แบ่ง ทรัพย์ มรดก ดังกล่าว ตาม ความ ต้องการของ ทายาท ฝ่ายหนึ่ง ย่อม ขัดกับ ความประสงค์ ของ ทายาท อีก ฝ่ายหนึ่งซึ่ง การ แบ่ง อาจ ไม่ สำเร็จ ลุล่วง ไป ได้ ดังกล่าว แล้ว และ อาจ ทำให้ มี กรณี พิพาท เกิดขึ้น ระหว่าง ทายาท กันเอง และ ระหว่าง ทายาทกับ ผู้จัดการ มรดก ตาม มา อีก ได้ กรณี มี เหตุ สมควร ที่ จะ อนุญาตให้ ผู้จัดการ มรดก ทั้ง สอง ลาออก จาก ตำแหน่ง คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่1809/2527 ระหว่าง หม่อมราชวงศ์ สุรภี สวัสดิวัฒน์ กับพวก โจทก์หลวงสารนัยประสาสน์ กับพวก จำเลย ที่ ผู้ร้อง ที่ 1 อ้าง มา ประกอบ ฎีกานั้น ข้อเท็จจริง ไม่ ตรง กับ คดี นี้ เทียบเคียง กัน ไม่ ได้ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ชอบ แล้ว ฎีกา ผู้ร้อง ที่ 1 ฟัง ไม่ ขึ้น
พิพากษา ยืน ผู้จัดการ มรดก ทั้ง สอง มิได้ แก้ ฎีกา จึง ไม่ กำหนดค่าทนายความ ชั้นฎีกา ให้’

Share