คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ธนาคารจำเลยกำหนดให้ผู้ยื่นใบสมัครเข้าทำงานแสดงรายการในใบสมัครว่าเคยต้องคดีใดๆมาก่อนหรือไม่เพื่อจะได้คัดเลือกผู้ที่มีความซื่อสัตย์หรือไม่มีประวัติด่างพร้อยมาก่อนให้เข้าทำงานกับจำเลยโจทก์ยื่นใบสมัครเข้าทำงานกับจำเลยโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จทำให้จำเลยหลงเชื่อคุณสมบัติของโจทก์และยอมรับโจทก์เข้าทำงานซึ่งอาจทำให้กิจการของจำเลยได้รับความเสียหายเมื่อจำเลยทราบความจริงในภายหลังย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้การเลิกจ้างเพราะเหตุนี้ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างเพราะโจทก์กระทำผิดในระหว่างที่เป็นลูกจ้างของจำเลยแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะรับโจทก์เข้าทำงานจึงมิใช่เป็นการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า. จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้งคือทุกวันที่15และวันสิ้นเดือนจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่20กุมภาพันธ์จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเวลา23วัน.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ของ จำเลย จำเลย เลิกจ้างโจทก์ โดย ไม่ มี ความผิด ไม่ บอกกล่าว ล่วงหน้า เป็น การ เลิกจ้างไม่ เป็นธรรม จำเลย จ่าย ค่าชดเชย ให้ โจทก์ แล้ว ขอ ให้ บังคับ จำเลยจ่าย ค่าเสียหาย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า พร้อม ดอกเบี้ยและ ออก ใบสำคัญ ผ่าน งาน ให้ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ โจทก์ ได้ ยื่น ใบสมัครเข้า ทำงาน กับ จำเลย โดย ปกปิด ข้อเท็จจริง ด้วย การ ระบุ ใน ใบสมัครเข้า ทำงาน ว่า โจทก์ ไม่ เคย ต้อง คดี ใดๆ มา ก่อน อัน เป็น ความเท็จเพราะ โจทก์ ถูก กรมที่ดิน มี คำสั่ง ให้ ออก จาก ราชการ และ ฟ้องเรียก เงิน ค่า ธรรมเนียม จด ทะเบียน จำนอง ที่ ขาด ไป คืน จาก โจทก์หาก จำเลย ทราบ ความจริง แต่ แรก ก็ จะ ไม่ รับ โจทก์ เข้า ทำงาน การที่ จำเลย ทราบ ความจริง ภายหลัง ย่อม มี สิทธิ เลิกจ้าง โจทก์ ได้และ การ กระทำ ของ โจทก์ ถือ ได้ ว่า มี พฤติการณ์ อัน ไม่ สมควร แก่การ ปฏิบัติ หน้าที่ ของ ตน ให้ ลุล่วง ไป ได้ โดย ถูกต้อง และ สุจริตจำเลย จึง เรียก ค่าเสียหาย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า จากโจทก์ ไม่ ได้ ขอ ให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย ออก ใบสำคัญ ผ่าน งาน ให้ โจทก์ คำขออื่น ให้ ยก
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ใน ปัญหา เรื่อง เหตุ เลิกจ้าง และสินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า ว่า จำเลย เป็น ธนาคาร ซึ่ง ดำเนินกิจการ และ ธุรกิจ ด้าน การ เงิน กิจการ ของ จำเลย จะ ดำเนิน ไป ด้วยความ ราบรื่น มั่นคง หรือ อยู่ ใน ความ เลื่อมใส ศรัทธา ของ ประชาชนหรือ ลูกค้า นั้น ย่อม ขึ้น อยู่ กับ ความ ซื่อสัตย์ สุจริต และ ความประพฤติ ของ พนักงาน เป็น สำคัญ การ ที่ จำเลย กำหนด ให้ ผู้ยื่นใบสมัคร เข้า ทำงาน กับ จำเลย แสดง รายการ ใน ใบสมัคร เข้า ทำงาน ว่าเคย ต้องคดี ใดๆ มา ก่อน หรือไม่ ก็ เพื่อ จะ ได้ คัดเลือก ผู้ ที่ มีความ ซื่อสัตย์ หรือ ไม่ มี ประวัติ ด่างพร้อย มาก่อน ให้ เข้า ทำงานกับ จำเลย เมื่อ โจทก์ ยื่น ใบสมัคร เข้า ทำงาน กับ จำเลย โดย แสดงข้อความ อัน เป็น เท็จ ทำให้ จำเลย หลงเชื่อ ใน คุณสมบัติ ของ โจทก์และ ยอมรับ โจทก์ เข้า ทำงาน นั้น อาจ ทำ ให้ กิจการ ของ จำเลย ได้ รับความเสียหาย การ ที่ จำเลย ทราบ ความจริง ใน ภายหลัง จำเลย ย่อม มีสิทธิ เลิกจ้าง โจทก์ ได้ อย่างไร ก็ ตาม การ ที่ จำเลย เลิกจ้าง เพราะเหตุ ที่ โจทก์ ยื่น ใบสมัคร เข้า ทำงาน โดย แสดง ข้อความ อัน เป็น เท็จนั้น ไม่ ใช่ เป็น การ เลิกจ้าง เพราะ โจทก์ กระทำ ผิด ใน ระหว่าง ที่เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย แต่ เป็น เหตุ ที่ เกิดขึ้น ก่อน ที่ จำเลย จะรับ โจทก์ เข้า ทำงาน กรณี จึง ไม่ ใช่ เป็น การ กระทำ ผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เมื่อ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดยไม่ บอกกล่าว ล่วงหน้า จำเลย ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า สำหรับ จำนวน สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า นั้นข้อเท็จจริง ซึ่ง ศาลแรงงานกลาง รับฟัง ได้ ความ ว่า จำเลย จ่าย ค่าจ้างเดือน ละ สอง ครั้ง คือ ทุก วันที่ 15 และ วัน สิ้นเดือน จำเลย เลิกจ้างโจทก์ เมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2522 ฉะนั้น จำเลย ต้อง จ่าย สินจ้างแทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า เป็น เวลา 23 วัน
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง

Share