แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
สิทธิของโจทก์ที่ได้รับ เงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาลจาก บริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535ส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทน ค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ.2533เมื่อเป็นสิทธิตามกฎหมายแต่ละฉบับโดยโจทก์ต้องเสีย เบี้ยประกันภัยและส่ง เงินสมทบเข้า กองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับกำหนดไว้ซึ่งต้องชำระทั้ง2ทางและพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นมารับเงินทดแทนอีกจำเลยจึงยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยมาแล้วมาอ้างเพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ให้แก่โจทก์หาได้ไม่โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ลูกจ้าง บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน ) และ เป็น ผู้ประกัน ตน ไว้ กับ จำเลย ซึ่ง มีสิทธิ ได้รับประโยชน์ ทดแทน กรณี ประสบ อุบัติเหตุ หรือ ป่วย เจ็บ อัน มิใช่ เนื่องจากการ ทำงาน โดย จำเลย ได้ กำหนด ให้ โรงพยาบาล กล้วยน้ำไท เป็น สถานพยาบาล เพื่อ ให้ โจทก์ ได้รับ บริการ ทางการ แพทย์ ต่อมา เมื่อ วันที่ 5 มีนาคม2537 โจทก์ ขับ รถยนต์ ประสบ อุบัติเหตุ ชน กับ รถจักรยานยนต์ ทำให้ โจทก์ได้รับ บาดเจ็บ สาหัส และ หมด สติ มี ผู้นำ โจทก์ ส่ง โรงพยาบาล แพทย์รังสิต โจทก์ ต้อง เสีย ค่าบริการ ทางการ แพทย์ ไป เป็น เงิน 7,905 บาท หลังจาก นั้นน้อง ภริยา โจทก์ ได้ นำ โจทก์ ไป รักษา ต่อ ที่ โรงพยาบาล สมิติเวช ได้เสีย ค่าบริการ ทางการ แพทย์ ไป อีก เป็น เงิน 138,420 บาท รวม สอง แห่งเป็น เงิน ทั้งสิ้น 146,325 บาท โจทก์ ได้ ใช้ สิทธิ ของ ภริยา ซึ่งรับ ราชการ เบิก ค่ารักษาพยาบาล เป็น เงิน 23,643 บาท และ ได้รับเงินทดแทน ตาม พระราชบัญญัติ คุ้มครอง ผู้ ประสบ ภัย จาก รถ พ.ศ. 2535อีก จำนวน 10,000 บาท ต่อมา โจทก์ ได้ ยื่น คำร้องขอ รับ เงิน ประโยชน์ ทดแทนกรณี เจ็บป่วย จาก จำเลย แต่ จำเลย วินิจฉัย ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิ ได้รับ เงินดังกล่าว ปรากฏ ตาม คำวินิจฉัย ที่ 10115448/2537 โจทก์ อุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการ อุทธรณ์ คณะกรรมการ อุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า อาการ บาดเจ็บของ โจทก์ ที่ เกิดจาก อุบัติเหตุ และ ถูก นำ ส่ง โรงพยาบาล แพทย์รังสิต ซึ่ง อยู่ ใกล้ ที่เกิดเหตุ มีสิทธิ ได้รับ เงินทดแทน ค่าบริการ ทางการ แพทย์แต่ โจทก์ ได้รับ เงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาล จำนวน 10,000 บาท ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครอง ผู้ ประสบ ภัย จาก รถ พ.ศ. 2535 แล้วจึง ไม่มี สิทธิ ได้รับ เงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาล อีก ส่วน การ รักษา พยาบาลต่อมา ที่ โรงพยาบาล สมิติเวช โจทก์ มิได้ ปฏิบัติ ตาม ระเบียบ ของ สำนักงาน ประกัน สังคม จึง ไม่มี สิทธิ ได้รับ เงินทดแทน ค่าบริการทางการ แพทย์ ปรากฏ ตาม คำวินิจฉัย ที่ 271/2538 โจทก์ ไม่เห็น ด้วย กับคำวินิจฉัย ดังกล่าว เพราะ โจทก์ มีสิทธิ ได้รับ ค่าบริการ ทางการ แพทย์ตาม พระราชบัญญัติ ประกัน สังคม พ.ศ. 2533 อีก ต่างหาก ขอให้ เพิกถอนคำวินิจฉัย ของ กอง ประโยชน์ ทดแทน ที่ 10115448/2537 และ คำวินิจฉัยของ คณะกรรมการ อุทธรณ์ ที่ 271/2538 ให้ จำเลย จ่ายเงิน ทดแทน ค่าบริการทางการ แพทย์ จำนวน 122,691 บาท แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า กรณี ที่ โจทก์ ประสบ อุบัติเหตุ จำเป็น ต้อง ได้รับการ รักษา ใน ทันที การ ที่ มี ผู้นำ โจทก์ ส่ง โรงพยาบาล แพทย์รังสิต ถือได้ว่า เป็น กรณี ที่ ไม่สามารถ ไป รับ บริการ ทางการ แพทย์ จาก สถานพยาบาลที่ กำหนด คือ โรงพยาบาล กล้วยน้ำไท ได้ โจทก์ จึง มีสิทธิ ได้รับ เงิน ค่าบริการ ทางการ แพทย์ จำนวน 7,905 บาท จาก จำเลย ซึ่ง เป็น การให้การ สงเคราะห์ แก่ ลูกจ้าง เมื่อ ประสบ อันตราย หรือ เจ็บป่วย อัน มิใช่เนื่องจาก การ ทำงาน เป็น การ ให้ ความคุ้มครอง ด้าน สวัสดิการ แก่ ลูกจ้างเมื่อ ได้รับ ความ เดือดร้อน เจ็บป่วย ตาม เจตนารมย์ ของ พระราชบัญญัติประกัน สังคม พ.ศ. 2533 แต่เมื่อ โจทก์ ได้รับ สิทธิ ประโยชน์ จากบริษัท ไทยประสิทธิประกันภัย จำกัด ตาม พระราชบัญญัติ คุ้มครอง ผู้ ประสบ ภัย จาก รถ พ.ศ. 2535 เป็น เงิน 10,000 บาท ซึ่ง คุ้ม จำนวนเงินที่ โจทก์ ต้อง เสีย ค่าบริการ ทางการ แพทย์ ให้ แก่ โรงพยาบาล แพทย์รังสิต แล้ว โจทก์ จึง ไม่มี สิทธิ เรียก ค่ารักษาพยาบาล จาก จำเลย อีกส่วน ค่ารักษาพยาบาล ที่ โรงพยาบาล สมิติเวช อันเป็น กรณี ที่ โจทก์ ย้าย จาก โรงพยาบาล แพทย์รังสิต มา รักษา ต่อ ที่ โรงพยาบาล ดังกล่าว ซึ่ง มิใช่ สถานพยาบาล ที่ จำเลย กำหนด แต่ เป็น ความ ประสงค์ ของ โจทก์โดย ยัง อยู่ ใน วิสัย ที่ โจทก์ สามารถ ไป รับ บริการ ทางการ แพทย์ ที่โรงพยาบาล กล้วยน้ำไท ซึ่ง เป็น สถานพยาบาล ที่ กำหนด ให้ โจทก์ จะ ต้อง เข้า รักษา ได้ แต่ โจทก์ ไม่ ใช้ สิทธิ นั้น ตาม เงื่อนไข โจทก์ จึงไม่มี สิทธิ ได้รับ เงิน ค่าบริการ ทางการ แพทย์ ใน ส่วน นี้ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอน คำวินิจฉัยของ กอง ประโยชน์ ทดแทน ที่ 10115448/2537 และ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการอุทธรณ์ ตาม พระราชบัญญัติ ประกัน สังคม พ.ศ. 2533 ที่ 271/2538เฉพาะ ใน ส่วน ที่ เกี่ยวกับ ค่ารักษาพยาบาล ของ โจทก์ ที่ โรงพยาบาล แพทย์รังสิต โดย ให้ จำเลย จ่าย ค่าบริการ ทางการ แพทย์ ให้ แก่ โจทก์ จำนวน 7,905 บาท นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำวินิจฉัย เดิม
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “คดี คง มี ปัญหา ตาม อุทธรณ์ของ จำเลย เฉพาะ ที่ เกี่ยวกับ ค่ารักษาพยาบาล ที่ โรงพยาบาล แพทย์รังสิต จำนวนเงิน 7,905 บาท ว่า เมื่อ โจทก์ ได้รับ เงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาลจำนวน 10,000 บาท จาก บริษัท ประกันภัย ตาม พระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ ประสบ ภัย จาก รถ พ.ศ. 2535 แล้ว โจทก์ จะ ยัง มีสิทธิ ได้รับ เงินทดแทนค่าบริการ ทางการ แพทย์ จำนวน 7,905 บาท ดังกล่าว จาก จำเลย ตามพระราชบัญญัติ ประกัน สังคม พ.ศ. 2533 อีก หรือไม่ ซึ่ง จำเลย อุทธรณ์ ว่าพระราชบัญญัติ ประกัน สังคม พ.ศ. 2533 มี เจตนารมณ์ ที่ จะ ช่วยเหลือสงเคราะห์ ลูกจ้าง และ บุคคลอื่น ซึ่ง ประสบ อันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพหรือ ตาย อัน มิใช่ เนื่องจาก การ ทำงาน รวมทั้ง การ คลอด บุตรกรณี สงเคราะห์ บุตร กรณี ชรา ภาพ และ กรณี ว่าง งาน ซึ่ง ให้ หลักประกันเฉพาะ ลูกจ้าง อันเป็น การ ช่วยเหลือ โดย ไม่มี วัตถุประสงค์ ให้ ลูกจ้างมา ค้า กำไร จาก การ ประกัน สังคม นี้ ฉะนั้น จึง เบิก ซ้ำซ้อน ไม่ได้เมื่อ เงิน ใน ส่วน ที่ จ่าย ไป โจทก์ เบิก ได้ จาก บริษัท ไทยประสิทธิประกันภัย จำกัด แล้ว หาก ให้สิทธิ แก่ โจทก์ มา เบิก จาก จำเลย ได้ อีก ก็ เท่ากับ ลูกจ้าง มีสิทธิ เบิก ได้ ซ้ำซ้อน 2 ทางจาก อุบัติเหตุ อัน เดียว กัน กรณี จะ เทียบ เคียง กับ พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ไม่ได้ ต้อง ใช้ หลักกฎหมาย ทั่วไป ใน เรื่องประกันวินาศภัย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 870, 871, 872,874 และ 877 ประกอบ ด้วย มาตรา 4 มา บังคับ เห็นว่า สิทธิ ของ โจทก์ที่ ได้รับ เงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาล จาก บริษัท ประกันภัย เป็น สิทธิตาม พระราชบัญญัติ คุ้มครอง ผู้ ประสบ ภัย จาก รถ พ.ศ. 2535 ที่ บังคับให้ เจ้าของ รถ ซึ่ง ใช้ รถ หรือ มี รถ ไว้ เพื่อ ใช้ ต้อง จัด ให้ มี การ ประกันความเสียหาย สำหรับ ผู้ ประสบ ภัย โดย ประกันภัย กับ บริษัท และ ต้อง เสียเบี้ยประกัน ภัย ส่วน สิทธิ ของ โจทก์ ที่ จะ ได้รับ เงินทดแทน ค่าบริการทางการ แพทย์ จาก จำเลย เป็น สิทธิ ตาม พระราชบัญญัติ ประกัน สังคมพ.ศ. 2533 ซึ่ง บังคับ ให้ ลูกจ้าง ต้อง เป็น ผู้ประกัน ตน และ ส่ง เงินเข้า กองทุน สมทบ เมื่อ เป็น สิทธิ ของ โจทก์ ตาม กฎหมาย แต่ละ ฉบับ โดยโจทก์ ต้อง เสีย เบี้ยประกัน ภัย และ ส่ง เงิน เข้า กองทุน สมทบ แล้วแต่ กรณีตาม ที่ กฎหมาย แต่ละ ฉบับ ดังกล่าว กำหนด ไว้ ซึ่ง ต้อง ชำระ ทั้ง 2 ทางและ เมื่อ พระราชบัญญัติ ประกัน สังคม พ.ศ. 2533 ไม่มี บทบัญญัติตัด สิทธิ มิให้ ผู้ที่ได้รับ เงินทดแทน ตาม กฎหมาย อื่น แล้ว มา รับ เงินทดแทนอีก จำเลย จึง จะ ยก เอา เหตุ ที่ โจทก์ ได้รับ เงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาลจาก บริษัท ประกันภัย แล้ว มา เป็น ข้ออ้าง เพื่อ ไม่จ่าย เงินทดแทนแก่ โจทก์ หาได้ไม่ พระราชบัญญัติ ประกัน สังคม พ.ศ. 2533 เป็นกฎหมาย พิเศษ ที่ บัญญัติ ขึ้น เพื่อ ให้การ สงเคราะห์ แก่ ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึ่ง ประสบ อันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือ ตาย อัน มิใช่เนื่องจาก การ ทำงาน รวมทั้ง กรณี อื่น อีก จึง จะ นำ หลักกฎหมาย ทั่วไปใน เรื่อง ประกันวินาศภัย ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มา ใช้ บังคับใน กรณี นี้ ไม่ได้ โจทก์ มีสิทธิ ได้รับ เงินทดแทน ค่าบริการ ทางการ แพทย์จำนวน 7,905 บาท จาก จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ประกัน สังคม พ.ศ. 2533ที่ ศาลแรงงานกลาง พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว อุทธรณ์ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน