แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา163,164การที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งคำร้องนั้นแล้วพิพากษาคดีไปเป็นการมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนการพิจารณาชอบที่ศาลอุทธรณ์จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดีตามมาตรา208(2)การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยเห็นว่าเป็นความผิดของโจทก์ที่ไม่แถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้ดำเนินการดังกล่าวก่อนจึงไม่ชอบ
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 67, 102 ริบของกลาง
จำเลย ให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง , 67 จำคุก 2 ปีจำเลย ให้การรับสารภาพ เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา มีเหตุ บรรเทา โทษลดโทษ ให้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คง จำคุก 1 ปีริบของกลาง
โจทก์ อุทธรณ์ ขอให้ เพิ่มโทษ ที่ จะ ลง แก่ จำเลย กึ่งหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ โจทก์ ยื่นฟ้อง จำเลย เมื่อ วันที่6 พฤษภาคม 2537 จำเลย ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้พนักงานคุมประพฤติ สืบเสาะ และ พินิจ จำเลย แล้ว รายงาน ให้ ศาล ทราบและ เลื่อน ไป ฟัง คำพิพากษา ใน วันที่ 31 พฤษภาคม 2537 เวลา 10 นาฬิกาวันที่ 12 พฤษภาคม 2537 โจทก์ ยื่น คำร้องขอ แก้ไข คำฟ้อง ว่า จำเลยเคย ต้อง คำพิพากษาถึงที่สุด ของ ศาลจังหวัด นครศรีธรรมราช ใน ข้อหามี เฮโรอีน ไว้ ใน ครอบครอง โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต และ ข้อหา เสพ เฮโรอีนลงโทษ จำคุก กระทง ละ 6 เดือน รวม จำคุก 1 ปี และ ภายใน เวลา 5 ปีนับแต่ วัน พ้นโทษ จำเลย กลับมา กระทำผิด คดี นี้ อีก ขอให้ เพิ่มโทษ จำเลยตาม พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 97 ศาลชั้นต้นสั่ง คำร้อง นี้ เมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม 2537 ว่า รอ ไว้ สั่ง ใน วันนัดสำเนา ให้ จำเลย ศาล จะ ได้ มี คำสั่ง หลังจาก ที่ ได้ สอบถาม จำเลย แล้วเมื่อ ศาลชั้นต้น มิได้ สั่ง คำร้อง ใน วันที่ โจทก์ ยื่น และ มิได้ แจ้งคำสั่ง ให้ โจทก์ ทราบ ถือว่า โจทก์ ไม่ทราบ คำสั่ง นั้น ใน วันนัดฟัง คำพิพากษา ศาลชั้นต้น จด รายงาน กระบวนพิจารณา ว่า โจทก์ และ จำเลยมา ศาล อ่าน รายงาน สืบเสาะ และ พินิจ ให้ จำเลย ฟัง แล้ว จำเลย ยอมรับข้อเท็จจริง ตาม รายงาน ดังกล่าว ได้ อ่าน คำพิพากษา ให้ คู่ความ ฟัง แล้วโดย ไม่ปรากฏ ว่า มี การ ส่ง สำเนา คำร้องขอ แก้ไข คำฟ้อง ของ โจทก์ ให้ แก่จำเลย สอบถาม จำเลย และ มี คำสั่ง เรื่อง คำร้อง ดังกล่าว แต่อย่างใดเห็นว่า เรื่อง โจทก์ ขอแก้ไข คำฟ้อง นั้น ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคแรก บัญญัติ ว่า “เมื่อ มีเหตุ อันควร โจทก์มีอำนาจ ยื่น คำร้อง ต่อ ศาล ขอแก้ หรือ เพิ่มเติม ฟ้อง ก่อน มี คำพิพากษาศาลชั้นต้น ถ้า ศาล เห็นสมควร จะ อนุญาต หรือ จะ สั่ง ให้ ไต่สวน มูลฟ้องเสีย ก่อน ก็ ได้ เมื่อ อนุญาต แล้ว ให้ ส่ง สำเนา แก้ฟ้อง หรือ ฟ้องเพิ่มเติมแก่ จำเลย เพื่อ แก้ และ ศาล จะ สั่ง แยก สำนวน พิจารณา ฟ้องเพิ่มเติมนั้น ก็ ได้ ” และ มาตรา 164 บัญญัติ ว่า “คำร้องขอ แก้ หรือ เพิ่มเติม ฟ้องนั้น ถ้า จะ ทำให้ จำเลย เสียเปรียบ ใน การ ต่อสู้ คดี ห้าม มิให้ ศาล อนุญาตฯลฯ ” ถือได้ว่า เมื่อ โจทก์ ยื่น คำร้องขอ แก้ไข คำฟ้อง แล้ว ศาลชั้นต้นมี หน้าที่ ต้อง สั่ง อนุญาต หรือไม่ อนุญาต ตาม ข้อ บัญญัติ ของ กฎหมายมาตรา ดังกล่าว การ ที่ ศาลชั้นต้น ไม่ สั่ง คำร้อง นั้น แล้ว พิพากษาคดีไป เลย เป็น การ มิได้ ปฏิบัติ ให้ ถูกต้อง ตาม กระบวนการ พิจารณาที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า แม้ เป็น ความ บกพร่อง ของ ศาลชั้นต้น ที่ ไม่ได้ส่ง สำเนา คำร้อง และ สอบถาม จำเลย ตาม คำร้องขอ งโจทก์ ที่ ขอแก้ไข คำฟ้องใน ส่วน คำขอ ให้ เพิ่มโทษ ก็ ดี แต่ โจทก์ ก็ มี หน้าที่ ระวัง ผลประโยชน์คดี ของ ตน เมื่อ โจทก์ ยื่น คำร้องขอ แก้ไข คำฟ้อง เช่นนี้ แล้ว โจทก์ ควรต้อง ติดตาม คอย ระวัง คดี ว่า ศาล ได้ ดำเนินการ ไป ตาม คำร้อง นั้น เพียงไรหรือไม่ หาก ศาล ยัง ไม่ได้ สั่ง โจทก์ ก็ ควร จะ ต้อง แถลง ต่อ ศาล เสีย ก่อนศาล จะ พิพากษาคดี เพื่อ ศาล จะ ได้ สั่ง ดำเนินการ ต่อไป คดี นี้ ศาลชั้นต้นมิได้ ดำเนินการ เพื่อ สั่ง คำร้องขอ แก้ไข คำฟ้อง ของ โจทก์ และ ไม่ปรากฏว่า โจทก์ ได้ แถลง ต่อ ศาล ให้ ศาล ดำเนินการ เกี่ยวกับ คำร้อง นี้แต่อย่างใด เลย จน กระทั่ง ศาลชั้นต้น พิพากษาคดี ดังนี้ เท่ากับศาลชั้นต้น มิได้ อนุญาต ให้ โจทก์ แก้ไข คำฟ้อง แม้ จะ มี รายงาน สืบเสาะและ พินิจ ของ พนักงานคุมประพฤติ เสนอ ต่อ ศาลชั้นต้น ว่า จำเลย เคย ต้องคำพิพากษา ให้ จำคุก ใน ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษและ ได้ กระทำ ความผิด ภายใน 5 ปี นับแต่ วัน พ้นโทษ ตาม คำร้องขอ แก้ไขคำฟ้อง ของ โจทก์ จริง ก็ ตาม ศาล ก็ มิอาจ พิพากษา เพิ่มโทษ จำเลย ได้เนื่องจาก เป็น การ พิพากษา เกินคำขอ ขัด ต่อ ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษาคดี โดย ไม่ เพิ่มโทษ จำเลยนั้น ชอบแล้ว นั้น ศาลฎีกา เห็นว่า ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อกฎหมาย ผิดพลาดเพราะ เมื่อ ศาลชั้นต้น มิได้ ปฏิบัติ ให้ ถูกต้อง ตาม กระบวนพิจารณา แล้วมิใช่ เป็น เพียง ความ บกพร่อง แต่ เป็น กระบวนพิจารณา ที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมายจะ ให้ โจทก์ เข้า มา ร่วมรับผิด ด้วย อย่างไร เมื่อ การ ที่ ศาลชั้นต้นมิได้ ปฏิบัติ ให้ ถูกต้อง ตาม กระบวนพิจารณา ปรากฏ ต่อ ศาลอุทธรณ์ เช่นนี้ก็ ชอบ ที่ ศาลอุทธรณ์ จะ ยก คำพิพากษา ศาลชั้นต้น ให้ ศาลชั้นต้น ทำการพิจารณา และ พิพากษา หรือ สั่ง ใหม่ ตาม รูปคดี ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2) ที่ ศาลอุทธรณ์ เห็นพ้อง ด้วย กับ คำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษายก คำพิพากษา ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ ศาลชั้นต้น ทำการ พิจารณาและ พิพากษา ใหม่ ตาม รูปคดี