แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การที่ผู้คัดค้านจะใช้ สิทธิเรียกร้องของจำเลยทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา119ได้นั้นสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และแม้มีบุคคลใดที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้คัดค้านในกรณีทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านได้ยึดไว้สูญหายไปก็เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านต้องติดตามเอาคืนมาหรือเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ที่ต้องรับผิดต่อไปเมื่อสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องต้องรับผิดเนื่องจากทรัพย์สินที่ยึดสูญหายไปเกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจึงไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา119เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระเงินดังกล่าวแก่ผู้คัดค้านได้และเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ย่อยาว
คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลยทั้ง สาม ชั่วคราว เมื่อ วันที่ 25 กรกฎาคม 2523 และ มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2525 ผู้คัดค้านสอบสวน แล้ว มี หนังสือ ที่ ยธ 0306/2191/6970 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม2532 ยืนยัน หนี้ ให้ ผู้ร้อง ชำระ ค่า ทรัพย์ ของ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง ถูก ยึด ไว้แล้ว หาย ไป คือ ทรัพย์ หมาย ก. รายการ ที่ 1 ถึง 8, 10 ถึง 13, 15 ถึง27 และ 29 ถึง 31 ทรัพย์ หมาย ข. รายการ ที่ 1 ถึง 8 และ 11 รวมเป็น เงิน จำนวน 846,500 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี นับแต่ วันที่ 3 กันยายน 2531 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จแก่ ผู้คัดค้าน
ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ว่า ผู้ร้อง ไม่ใช่ เป็น ผู้ รักษา ทรัพย์สินที่ ยึด จึง ไม่ต้อง ชำระ เงิน ให้ ผู้คัดค้าน ขอให้ จำหน่าย ชื่อ ผู้ร้องออกจาก บัญชี ลูกหนี้
ผู้คัดค้าน ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ได้ ยึดทรัพย์ แล้ว มอบ ให้ผู้ร้อง เป็น ผู้ดูแล ทรัพย์สิน ที่ ยึด แต่ ผู้ร้อง ได้ มอบ ให้ พนักงาน ของจำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ดูแล รักษา อีก ทอด หนึ่ง ถือว่า ผู้ร้อง เป็น ผู้รับ ฝากทรัพย์ เมื่อ ทรัพย์ ที่อยู่ ใน ความ ดูแล สูญหาย ไป ผู้ร้อง จึง ต้อง รับผิดขอให้ ยกคำร้อง และ ให้ ผู้ร้อง ใช้ ราคา ทรัพย์สิน จำนวน 846,500 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 3 กันยายน2531 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ ผู้คัดค้าน
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ยก คำร้องขอ งผู้ร้อง
ผู้ร้อง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ผู้ร้อง เป็น หนี้ จำเลย ที่ 1 จำนวน600,000 บาท
ผู้ร้อง และ ผู้คัดค้าน ฎีกา โดย ผู้คัดค้าน ได้รับ อนุญาต ให้ ฎีกาอย่าง คนอนาถา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟัง เป็น ยุติ ได้ว่าศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลย ทั้ง สาม ชั่วคราว เมื่อ วันที่25 กรกฎาคม 2523 ต่อมา เมื่อ วันที่ 31 กรกฎาคม 2523 นาย วชิระ สนธิรักษ์ ผู้แทน ผู้ร้อง ได้ นำ ผู้คัดค้าน และ เจ้าพนักงาน บังคับคดี ไป ยึดทรัพย์ ของ จำเลย ที่ 1 คือ ทรัพย์ หมาย ก. รวม 31 รายการราคาประเมิน 361,900 บาท และ ทรัพย์ หมาย ข. รวม 11 รายการราคาประเมิน 637,000 บาท รวมเป็น เงิน 998,900 บาท โดย ได้ มอบให้ นาย สมนึก กล่ำน้อย พนักงาน ของ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ดูแล รักษา ณ สถานที่ ยึด ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของ จำเลย ทั้ง สาม เด็ดขาด เมื่อ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2525 หลังจากศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สาม ล้มละลาย แล้ว ผู้คัดค้าน ได้ประกาศ ขายทอดตลาด ทรัพย์สิน ที่ ยึด ปรากฏว่า ไม่พบ ทรัพย์สิน ที่ ยึดบางราย การ ทรัพย์ หมาย ก. เป็น เงิน 359,500 บาท และ ทรัพย์ หมาย ข.เป็น เงิน 487,000 บาท รวมเป็น เงิน 846,500 บาท ผู้คัดค้านสอบสวน แล้ว ได้ มี หนังสือ ยืนยัน ให้ ผู้ร้อง รับผิด ใช้ เงิน จำนวน ดังกล่าวพร้อม ดอกเบี้ย เป็น คดี นี้ ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหา ว่าผู้คัดค้าน มีอำนาจ ดำเนินการ ทวง หนี้ จาก ผู้ร้อง ตาม มาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 หรือไม่ ศาลฎีกา เห็นว่า กรณีที่ ผู้คัดค้าน จะ ใช้ สิทธิเรียกร้อง ของ จำเลย ดำเนินการ ทวง หนี้จาก ลูกหนี้ ของ จำเลย ตาม มาตรา 119 นั้น สิทธิเรียกร้อง ของ จำเลยดังกล่าว จะ ต้อง มี อยู่ ก่อน วันที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพราะ เหตุ ว่า เมื่อ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แล้ว ไม่ว่า จะ เป็น คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ชั่วคราว หรือ พิทักษ์ทรัพย์ เด็ดขาด จำเลย ย่อม ไม่มี อำนาจจัด กิจการ และ ทรัพย์สิน ของ ตนเอง อำนาจ ดังกล่าว ตก อยู่ แก่ ผู้คัดค้านเพียง ผู้เดียว ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 6 และ มาตรา 22 การ ยึดทรัพย์ และ การ เก็บรักษา ทรัพย์ของ จำเลย ที่ 1 ใน คดี นี้ ก็ เป็น การ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ จำเลยซึ่ง เป็น อำนาจ ของ ผู้คัดค้าน ผู้ร้อง ใน ฐานะ เจ้าหนี้ ผู้เป็น โจทก์ มีหน้าที่ ช่วยเหลือ ผู้คัดค้าน ใน การ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย แม้ หากมี ทรัพย์ ที่ ยึด สูญหาย ไป ภายหลัง จาก ที่ ผู้คัดค้าน ได้ ร่วม กับ เจ้า พนักงานบังคับคดี ทำการ ยึด ไว้ แล้ว และ ต้อง มี บุคคล ใด ที่ ต้อง รับผิดชอบ ต่อผู้คัดค้าน ใน กรณี ทรัพย์สิน ที่ ยึด สูญหาย ไป ก็ เป็น เรื่อง ที่ ผู้คัดค้านใน ฐานะ ผู้มีอำนาจ รวบรวม ทรัพย์สิน ของ จำเลย จะ ต้อง ติดตาม เอาคืนมา หรือ เรียกร้อง ค่าเสียหาย จาก ผู้ที่ ต้อง รับผิด ต่อไป แต่ สิทธิเรียกร้อง ดังกล่าว นี้ เกิดขึ้น ภายหลัง วันที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ที่ 1 แล้ว หาก ผู้ร้อง ต้อง รับผิดชอบ ใน ความ สูญหาย ของ ทรัพย์สินที่ ยึด อย่างไร ผู้คัดค้าน ชอบ ที่ ต้อง ว่ากล่าว กับ ผู้ร้อง ต่างหากฟัง ไม่ได้ ว่า จำเลย ที่ 1 มีสิทธิ เรียกร้อง ให้ ผู้ร้อง ชำระ เงิน จำนวน846,500 บาท อยู่ ก่อน วันที่ ศาล มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้าน จึงไม่อาจ ใช้ อำนาจ ตาม มาตรา 119 เรียกร้อง ให้ ผู้ร้อง ชำระ เงินจำนวน ดังกล่าว แก่ ผู้คัดค้าน ได้ ปัญหา นี้ เป็น ปัญหา เกี่ยว ด้วยความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ ไม่มี คู่ความ ฝ่ายใด ฎีกา ศาลฎีกาก็ มีอำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย ได้เอง คดี ไม่จำต้อง วินิจฉัย ฎีกา ของ ผู้ร้องและ ผู้คัดค้าน ”
พิพากษากลับ ให้ จำหน่าย ชื่อ ผู้ร้อง ออกจาก บัญชี ลูกหนี้