คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การ ประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887เป็นการประกันความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยไปก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่นในเมื่อผู้เอาประกันภัยขับหรือยินยอมให้ผู้อื่นขับดังนั้นการประกันภัยค้ำจุนจึงมุ่งที่ตัวบุคคลผู้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญยิ่งกว่าตัวบุคคลผู้เอาประกันภัยเมื่อกรมธรรม์ของจำเลยที่2มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่2ไว้ว่าผู้รับประกันจะไม่รับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกอันเกิดจากการขับโดยบุคคลที่มีใบอนุญาตขับรถยนต์แต่ ขาดการต่ออายุเกินกว่า180วันจำเลยที่2จึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 ขับ รถ ด้วย ความ เร็ว สูง และ ไม่ เว้นระยะ ให้ ห่าง คัน หน้า พอสมควร เมื่อ รถ คัน หน้า หยุด จำเลย ที่ 1ไม่สามารถ หยุด รถ ได้ ทัน รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 1 จึง ชน ท้ายรถยนต์คัน หน้าและ ชน กระแทก รถยนต์ คัน ต่อ ๆ มา จน ถึง รถยนต์ ของ โจทก์ ได้รับ ความเสียหายบริเวณ ด้าน ท้าย จำเลย ที่ 2 ได้รับ ประกันภัยค้ำจุน รถยนต์ ที่จำเลย ที่ 1 ขับ จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ด้วย ขอให้ บังคับจำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ เงิน แก่ โจทก์ 30,150 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย แก่ โจทก์ เป็น เงิน 21,250 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ ที่ เกี่ยวกับจำเลย ที่ 2 นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี นี้ โจทก์ ฎีกา ได้ แต่ เฉพาะ ใน ปัญหาข้อกฎหมาย และ การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมาย เช่นว่า นี้ ศาลฎีกา จำต้องถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ ได้ วินิจฉัย จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวนซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ที่ 1 นำ รถยนต์ คัน เกิดเหตุของ จำเลย ที่ 1 ไป ประกันภัยค้ำจุน ไว้ แก่ จำเลย ที่ 2 ตาม กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย ล. 4 โดย มี ข้อความ เกี่ยวกับ กรณี นี้ ว่าผู้รับประกันภัย ไม่ต้อง รับผิด ต่อ ทรัพย์สิน ของ บุคคลภายนอก ถ้าผู้ขับขี่รถยนต์ มี ใบอนุญาต ขับขี่ รถยนต์ แต่ ขาด ต่อ อายุ เกินกว่า180 วัน ใน ขณะ เกิด อุบัติเหตุ และ ใน ขณะ ทำ สัญญาประกันภัย ปรากฏว่าใบอนุญาต ขับขี่ รถยนต์ ของ จำเลย ที่ 1 ขาด ต่อ อายุ เกินกว่า 180 วันหลังจาก ทำ สัญญาประกันภัย แล้ว จำเลย ที่ 1 ยัง ใช้ ใบอนุญาต ขับขี่รถยนต์ ที่ ขาด ต่อ อายุ ดังกล่าว เรื่อย มา จน กระทั่ง จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์คัน เกิดเหตุ โดยประมาท ทำให้ รถยนต์ โจทก์ เสียหาย โจทก์ ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า ขณะที่ จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญาประกันภัย รถยนต์ คัน เกิดเหตุของ จำเลย ที่ 1 ไว้ แก่ จำเลย ที่ 2 จำเลย ที่ 1 มี ใบอนุญาต ขับขี่ รถยนต์แต่ ขาด ต่อ อายุ เกินกว่า 180 วัน ถือได้ว่า คู่สัญญา มิได้ มี เจตนา ถือเงื่อนไข ใบอนุญาต ขับขี่ รถยนต์ ที่ ขาด ต่อ อายุ เป็น สาระสำคัญ ดังนั้นแม้ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ คัน เกิดเหตุ โดย มี ใบอนุญาต ขับขี่ รถยนต์ที่ ขาด ต่อ อายุ ไป ทำละเมิด ต่อ โจทก์ จำเลย ที่ 2 ก็ จะ ต้อง รับผิด ร่วม กับจำเลย ที่ 1 ดังนี้ เห็นว่า หาก คู่สัญญา มิได้ มี เจตนา ยึดถือ เงื่อนไขการ มี ใบอนุญาต ของ ผู้ขับ รถยนต์ คัน ที่ เอา ประกันภัย เป็น สาระสำคัญ แล้วตาม กรมธรรม์ประกันภัย คง จะ ไม่มี ข้อความ กำหนด เกี่ยวกับ เรื่อง นี้ ไว้แต่ ตาม กรมธรรม์ ของ จำเลย ที่ 2 เอกสาร หมาย ล. 4 ข้อ 2.13.6 ได้ ระบุข้อความ ยกเว้น ความรับผิด ของ ผู้รับประกันภัย ไว้ ชัดแจ้ง ว่า ใน กรณีผู้ขับขี่รถยนต์ ไม่เคย ได้รับ ใบอนุญาต ขับขี่ รถยนต์ ใด ๆ หรือ เคย ได้รับแต่ ขาด ต่อ อายุ เกินกว่า 180 วัน เมื่อ เกิด อุบัติเหตุ ผู้รับประกันภัยไม่ต้อง รับผิด ต่อ ทรัพย์สิน ของ บุคคลภายนอก นอกจาก นี้ การ ประกันภัยค้ำจุน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 ยัง เป็น การ ประกันความเสียหาย อัน เกิดจาก รถยนต์ ที่ เอา ประกันภัย ที่ ไป ก่อ ความเสียหายให้ แก่ บุคคลอื่น ใน เมื่อ ผู้เอาประกันภัย ขับขี่ หรือ ยินยอม ให้ ผู้อื่นขับขี่ ดังนั้น การ ประกันภัยค้ำจุน จึง มุ่ง ที่ ตัวบุคคล ผู้ขับขี่รถยนต์ ที่ เอา ประกันภัย ใน ขณะ เกิดเหตุ เป็น สาระสำคัญ ยิ่งกว่า ตัวบุคคลผู้เอาประกันภัย ใน ขณะ ทำ สัญญาประกันภัย เพราะ มิฉะนั้น แล้ว หาก ทำสัญญาประกันภัย กำหนด เงื่อนไข ไม่ให้ ผู้รับประกันภัย ต้อง รับผิดอย่าง กรณี นี้ นิติบุคคล ซึ่ง เป็น เจ้าของ หรือ มี ส่วนได้เสีย ใน รถยนต์ที่ เอา ประกันภัย ย่อม ไม่มี ทาง จะ ทำ สัญญาประกัน ได้ เลย เพราะ นิติบุคคลโดยสภาพ ย่อม ไม่มี ทาง ขอ มี ใบอนุญาต ขับขี่ รถยนต์ ได้ ฉะนั้น จะ ถือว่าคู่สัญญา มิได้ มี เจตนา ยึดถือ เงื่อนไข การ มี ใบอนุญาต ขับขี่ รถยนต์เป็น สาระสำคัญ มิได้ เมื่อ กรมธรรม์ ของ จำเลย ที่ 2 มี ข้อความ ยกเว้นความรับผิด ของ จำเลย ที่ 2 ไว้ ว่า ผู้รับประกัน จะ ไม่รับ ผิด ต่อ ทรัพย์สินของ บุคคลภายนอก อัน เกิดจาก การ ขับขี่ โดย บุคคล ที่ มี ใบอนุญาต ขับขี่รถยนต์ แต่ ขาด ต่อ อายุ เกินกว่า 180 วัน และ จำเลย ที่ 1 ขับ รถยนต์ที่ เอา ประกันภัย ใน ขณะ เกิดเหตุ โดย ใบอนุญาต ขับขี่ ขาด ต่อ อายุ เกินกว่า180 วัน ไป ก่อ ความเสียหาย แก่ รถยนต์ ของ โจทก์ จึง เข้า เงื่อนไข ข้อยกเว้นความรับผิด ตาม กรมธรรม์ประกันภัย จำเลย ที่ 2 จึง ยกขึ้น เป็น ข้อต่อสู้เพื่อ ปฏิเสธ ความรับผิด ต่อ โจทก์ ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share