แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ให้การไว้หากศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้หาใช่อุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225ไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงเป็นการมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งหากศาลฎีกาเห็นสมควรย่อมวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของปรากฏว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อวันที่8ตุลาคม2529ซึ่งมีพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นจึงเป็นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวดังนี้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนี้จึงได้แก่บทบัญญัติมาตรา41(1)ดังกล่าวอันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทหาใช่บทบัญญัติมาตรา67แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยแต่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ดังนั้นปัญหาว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าโจทก์หรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์นั้นปรากฏว่านายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามิได้เป็นคู่ความในคดีกรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกปฏิบัติตามคำขอบังคับท้ายฟ้องของโจทก์ได้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงไม่ชอบศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า อักษร โรมันคำ ว่า “SPORTMAX” ซึ่ง ได้รับ โอน มา โดย ถูกต้อง และ สุจริต จาก บริษัท แม็คซ์มารา เอส.พี.เอ. โจทก์ ได้ นำ เครื่องหมายการค้า นี้ ไป ยื่น ขอ จดทะเบียน ต่อมา วันที่ 7 พฤศจิกายน 2533 โจทก์ ได้รับ แจ้งจาก นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า ว่า เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์จำเลย ได้ ยื่น ขอ จดทะเบียน ไว้ แล้ว เมื่อ วันที่ 18 พฤศจิกายน 2528การ ที่ จำเลย ลักลอบ นำ เอา เครื่องหมายการค้า คำ ว่า “SPORTMAX” ไป ขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เพื่อ ใช้ กับ สินค้า ของ จำเลย เป็น การแสวงหา ผลประโยชน์ ใน ทางการ ค้า จาก เครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ทำให้คำขอ ของ โจทก์ ไม่ได้ รับ จดทะเบียน ขอให้ พิพากษา ว่า โจทก์ มีสิทธิ ในเครื่องหมายการค้า คำ ว่า “SPORTMAX” ตาม คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 208148 ดีกว่า เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยคำ ว่า “SPORTMAX” ทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 104837ให้ จำเลย เพิกถอน คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 151671ทะเบียน เลขที่ 104837 หาก จำเลย ไม่ปฏิบัติ ตาม ให้ ถือเอา คำพิพากษาของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย กับ สั่ง ให้ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า รับ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอเลขที่ 208148 ของ โจทก์ และ ให้ จำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย เป็น รายเดือนเดือน ละ 50,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย จะ เลิก ใช้เครื่องหมายการค้า
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง โจทก์ ไม่ใช่ เจ้าของและ มิได้ ใช้ เครื่องหมายการค้า นี้ มา นาน ตาม ที่ อ้าง ส่วน จำเลย ใช้ มา นาน10 กว่า ปี แล้ว จำเลย มิได้ ละเมิด หรือ เลียนแบบ เครื่องหมายการค้าของ โจทก์ จำเลย คิด ประดิษฐ์ เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เอง จำเลยมีสิทธิ ดีกว่า โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า คำ ว่า “SPORTMAX” ดีกว่า จำเลย ให้ เพิกถอน คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย และ ให้ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า รับ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ของ โจทก์ ต่อไป
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก อุทธรณ์ ของ จำเลย
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ข้อ แรกของ จำเลย ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เนื่องจาก ฟ้อง เกิน กำหนด ระยะเวลา5 ปี นับแต่ วันที่ นายทะเบียน มี คำสั่ง ให้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าของ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67หรือไม่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า ตาม ข้อ อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ ว่า โจทก์ไม่มี อำนาจฟ้อง เนื่องจาก ฟ้อง เกิน กำหนด ระยะเวลา 5 ปี แล้ว หรือไม่ นั้นจำเลย มิได้ ให้การ ไว้ เป็น ที่ ชัดแจ้ง จึง เป็น ข้อ ที่ ยัง มิได้ ยกขึ้นว่า กัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลชั้นต้น และ มิใช่ ปัญหา อัน เกี่ยว ด้วยความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน กรณี เป็น การ ต้องห้าม ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 225 ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัยศาลฎีกา เห็นว่า ปัญหา ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ เป็น ปัญหาอัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน แม้ จำเลย จะ มิได้ ให้การ ไว้หาก ศาลอุทธรณ์ เห็นสมควร ศาล ก็ มีอำนาจ วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว ได้ หาใช่หาใช่ อุทธรณ์ ที่ ต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 ไม่ การ ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ดังกล่าว จึง เป็น การ ที่ ได้ปฏิบัติ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วย คำพิพากษา และคำสั่ง แต่ ศาลฎีกา เห็นสมควร วินิจฉัย ปัญหา ดังกล่าว โดย ไม่จำต้องย้อนสำนวน ปัญหา นี้ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้าของ จำเลย เลขที่ 104837 โดย อ้างว่า โจทก์ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้านั้น ดีกว่า จำเลย ผู้ที่ ได้ จดทะเบียน เป็น เจ้าของ ปรากฏว่า นายทะเบียนได้ มี คำสั่ง ให้ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลย เมื่อ วันที่8 ตุลาคม 2529 ซึ่ง มี พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะ นั้น จึง เป็น การ ที่ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ โดย อาศัย สิทธิที่ มี อยู่ ตาม มาตรา 41(1) แห่ง พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ดังนี้บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ที่ จะ ใช้ บังคับ แก่ คดี นี้ จึง ได้ แก่ บทบัญญัติมาตรา 41(1) ดังกล่าว อันเป็น บท กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ อยู่ ใน ขณะเกิด ข้อพิพาท หาใช่ บทบัญญัติ มาตรา 67 แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 อันเป็น กฎหมาย ที่ ใช้ บังคับ อยู่ ในปัจจุบัน ไม่ กรณี จึง ไม่อาจ นำ บทบัญญัติ มาตรา 67 ดังกล่าว มา วินิจฉัยเกี่ยวกับ อำนาจฟ้อง ของ โจทก์ ดัง ที่ จำเลย ฎีกา ได้ โจทก์ ย่อม มีอำนาจ ฟ้องคดี นี้ ได้ ตาม ที่มา ตรา 41(1) แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 บัญญัติ ให้ ความคุ้มครอง ไว้
ส่วน ปัญหา ตาม ฎีกา ข้อ สุดท้าย ของ จำเลย มี ว่า จำเลย มีสิทธิใน เครื่องหมายการค้า คำ ว่า “SPORTMAX” ดีกว่า โจทก์ หรือไม่ เห็นว่า คดี นี้ ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ดีกว่า จำเลย จำเลย ไม่ได้ อุทธรณ์ คัดค้าน คำพิพากษาศาลชั้นต้น ใน ข้อ นี้ ดังนั้น ปัญหา ว่า จำเลย มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ดีกว่า โจทก์ หรือไม่ จึง เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยกขึ้น ว่ากัน มา แล้ว โดยชอบ ใน ศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม ฎีกา ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย ให้
อนึ่ง ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้ารับ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ตาม คำขอ เลขที่ 208148 ของ โจทก์ต่อไป นั้น ปรากฏว่า นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า มิได้ เป็น คู่ความใน คดี นี้ จึง ไม่อาจ พิพากษา ให้ นายทะเบียน เครื่องหมายการค้า ซึ่ง เป็นบุคคลภายนอก ปฏิบัติ ตาม คำขอบังคับ ท้ายฟ้อง ของ โจทก์ ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้น ใน ส่วน นี้ จึง ไม่ชอบ ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไข เสีย ให้ ถูกต้อง
พิพากษาแก้ เป็น ว่า โจทก์ มีสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า คำ ว่า “SPORTMAX” ตาม คำขอ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 208148และ คำ ว่า “SPORT MAX” ตาม ทะเบียน เครื่องหมายการค้า เลขที่ 104837ดีกว่า จำเลย ให้ เพิกถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้า ของ จำเลยเลขที่ 104837 คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก