แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ในสัญญาต่างตอบแทนเมื่อจำเลยที่1ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่1ย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์บอกเลิกสัญญาได้โดยไม่จำต้องชำระเงินค่างวดแก่จำเลย ขณะจำเลยที่2เข้าทำสัญญากับโจทก์ยังอยู่ในระยะเวลาดำเนินการก่อตั้งและขอจดทะเบียนจำเลยที่1อยู่จำเลยที่2ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ตนได้ทำขึ้นจนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทได้อนุมัติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1113เมื่อไม่ได้ความว่ามีการอนุมัติสัญญาดังกล่าวในการประชุมตั้งบริษัทแม้จะจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่1และจำเลยที่1เข้าถือสิทธิตามสัญญาแล้วก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่2หลุดพ้นจากความรับผิด ความรับผิดของจำเลยที่2เป็นผลเกิดจากเหตุตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391บัญญัติไว้เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่1แล้วย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่2ที่จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมความรับผิดนี้เกิดขึ้นทันทีโดยมิพักต้องอาศัยการบอกกล่าวอีกแต่ประการใด ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสืบเนื่องจากการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาซึ่งจำเลยที่2จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมด้วยการใช้เงินคืนแก่โจทก์โดยให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391เป็นการทดแทนความเสียหายเพื่อให้ได้กลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมหาใช่หนี้ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)ไม่โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในส่วนนี้
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สี่ ร่วมกัน ชำระ เงินมัดจำค่างวด และ ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ 1,701,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ให้การ ว่า โจทก์ จำเลย ไม่มี นิติสัมพันธ์ต่อ กัน และ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ โจทก์ มิได้ บอกเลิก สัญญา โดยชอบด้วย กฎหมาย โจทก์ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ไม่ชำระ เงิน ตั้งแต่ง วดที่ 2ทั้ง ๆ ที่ จำเลย ที่ 1 พร้อม ที่ จะ ส่งมอบ อาคาร ให้ แก่ ผู้ซื้อ จำเลยที่ 1 จึง บอกเลิก สัญญา และ ริบ เงิน ทั้งหมด ที่ โจทก์ ชำระ ไว้ แล้ว ตามข้อ สัญญา จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ไม่เคย สัญญา ว่า จะ ลงมือ ก่อสร้างโรง ภาพ ยนต์ภายใน 2 ปี เดิม จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ว่าจ้าง นาย เจริญ ออก แบบ ทำ โครงการ ที่พิพาท ที่ว่าง ตรง กลาง สามารถ สร้าง โรงภาพยนตร์ได้ 800 ที่นั่ง เมื่อ ก่อสร้าง แล้ว กลับ ขออนุญาต ได้ เพียง 480 ที่นั่งไม่ คุ้ม กับ การลงทุน จึง แจ้ง ผู้ซื้อ อาคาร ทุกคน ทราบ และ เปลี่ยน แบบเป็น โรงแรม ชั้น หนึ่ง จำเลย ที่ 1 มิได้ ประพฤติ ผิดสัญญา ถึง แม้ ไม่มี การสร้าง โรงภาพยนตร์ ราคา ที่ดิน และ อาคาร พิพาท ก็ ตก ราว ห้อง ละ1,200,000 บาท เศษ ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 และ ที่ 4 ให้การ ว่า เคย เป็น ผู้ถือหุ้น และ กรรมการ ของบริษัท จำเลย ที่ 1 แต่ ได้ โอน ขาย หุ้น ทั้งหมด แก่ ผู้อื่น และ ออกจาก การเป็น กรรมการ ของ บริษัท จำเลย ที่ 1 ไป แล้ว โดยสุจริต มิได้ เกี่ยวข้องกับ กิจการ ของ จำเลย ที่ 1 อีก ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน ชำระ เงินมัดจำ 100,000 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีจาก ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันที่ 25 มกราคม 2522 และ ชำระ เงิน ค่างวด300,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน300,000 บาท นับแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2522 กับ ชำระ เงิน ค่างวด260,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงิน260,000 บาท นับแต่ วันที่ 10 ตุลาคม 2522 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระหนี้แก่ โจทก์ เสร็จ แต่ ดอกเบี้ย คิด คำ นวน ถึง วันฟ้อง (21 กุมภาพันธ์ 2526)จาก ต้นเงิน 100,000 บาท ต้อง ไม่เกิน 60,000 บาท จาก ต้นเงิน300,000 บาท ต้อง ไม่เกิน 150,000 บาท และ จาก ต้นเงิน 260,000 บาทต้อง ไม่เกิน 130,000 บาท ตาม ที่ โจทก์ ขอ คำขอ อื่น นอกจาก นี้ ให้ยก
โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 พิพากษายืน
โจทก์ และ จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “สำหรับ ปัญหา ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า โจทก์เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา โดย มิได้ ชำระ เงิน ค่างวด ตาม เวลา ที่ กำหนด ใน สัญญาและ การ บอกเลิก สัญญา ของ โจทก์ อ้าง เหตุ เพียง ไม่มี ไฟฟ้า และ น้ำประปามิได้ บอกเลิก สัญญา เพราะ จำเลย ที่ 1 มิได้ ก่อสร้าง โรงภาพยนตร์ นั้นเห็นว่า ตาม เอกสาร หมาย ล. 5 โจทก์ บอกเลิก สัญญา โดย ระบุ เหตุ ชัดแจ้งทั้ง ใน เรื่อง จำเลย มิได้ จัด ให้ มี ไฟฟ้า และ ประปา ตาม แบบแปลน ท้าย สัญญาและ ยัง อ้าง เงื่อนไข เรื่อง การ สร้าง โรงภาพยนตร์ ชัดแจ้ง ทั้ง เหตุที่ โจทก์ อ้าง ดังกล่าว ชี้ ระบุ ไว้ ชัดแจ้ง ใน สัญญา เอกสาร หมาย จ. 1และ จ. 2 ซึ่ง เป็น สัญญาต่างตอบแทน เมื่อ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ปฏิบัติการ ชำระหนี้ ตอบแทน แก่ โจทก์ ตาม สัญญา จำเลย ที่ 1 ย่อม ตกเป็น ผู้ ผิดสัญญา ชอบ ที่ โจทก์ จะ บอกเลิก สัญญา ได้ โดย ไม่จำต้อง ชำระ เงิน ค่างวดแก่ จำเลย และ มิพัก ต้อง คำนึง ว่า ข้อกำหนด แห่ง การ ชำระ เงิน ค่างวด ตามสัญญา เป็น ข้อสำคัญ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 วินิจฉัย หรือไม่ ฎีกา จำเลยที่ 2 ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
สำหรับ ประเด็น ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า การ จดทะเบียน เป็นนิติบุคคล ของ จำเลย ที่ 1 เป็น การ ให้ จำเลย ที่ 2 ไม่ต้อง รับผิดเป็น ส่วนตัว ตลอดจน โจทก์ มิได้ บอกกล่าว ทวงถาม ให้ จำเลย ที่ 2 รับผิดนั้น เห็นว่า ข้อเท็จจริง รับฟัง เป็น ยุติ ได้ว่า ขณะ จำเลย ที่ 2 เข้า ทำสัญญา เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 กับ โจทก์ นั้น ยัง อยู่ ใน ระยะเวลาดำเนินการ ก่อตั้ง และ ขอ จดทะเบียน จำเลย ที่ 1 อยู่ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะผู้ เริ่ม ก่อการ บริษัท จึง ต้อง รับผิด ตาม สัญญา เอกสาร จ. 1 และ จ. 2 ที่ ตนได้ ทำ ขึ้น จนกว่า ที่ ประชุม ตั้ง บริษัท ได้ อนุมัติ และ ได้ จดทะเบียนบริษัท แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1113 แต่ข้อเท็จจริง แห่ง คดี ตาม ที่ จำเลย นำสืบ ไม่ได้ ความ ว่า มี การ อนุมัติ สัญญาเอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 ใน การ ประชุม ตั้ง บริษัท แต่ ประการใดดังนี้ แม้ จะ มี การ จดทะเบียน บริษัท จำเลย ที่ 1 และ ภายหลัง จำเลย ที่ 1ได้ เข้า ถือ สิทธิ ตาม สัญญา เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2 แล้ว ก็ ตามก็ ยัง ไม่เป็นเหตุ ให้ จำเลย ที่ 2 หลุดพ้น จาก ความรับผิด ดังกล่าว ได้และ ความรับผิด ของ จำเลย ที่ 2 ดังกล่าว นี้ เป็น ผล เกิดจาก เหตุ ตามที่ กฎหมาย บัญญัติ ไว้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391กล่าว คือ เมื่อ โจทก์ ได้ บอกเลิก สัญญา เอกสาร หมาย จ. 1 และ จ. 2ต่อ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ คู่สัญญา แล้ว ผล แห่ง การ เลิกสัญญา ดังกล่าว ย่อมก่อ ให้ เกิด หน้าที่ แก่ บุคคล ทุก ฝ่าย ที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้ง จำเลย ที่ 2ที่ จำต้อง ให้ โจทก์ ได้ กลับคืน สู่ ฐานะ ดัง ที่ เป็น อยู่ เดิม ความรับผิดดังกล่าว เกิดขึ้น ทันที โดย มิพัก ต้อง อาศัย การ บอกกล่าว อีก แต่ ประการใดดังนี้ ปัญหา ว่า โจทก์ ได้ บอกกล่าว จำเลย ที่ 2 ก่อน ฟ้อง แล้ว หรือไม่ จึงไม่เป็น ประโยชน์ ต่อ รูปคดี ของ จำเลย ที่ 2
สำหรับ ฎีกา จำเลย ที่ 2 ข้อ สุดท้าย ที่ ว่า โจทก์ ไม่มี สิทธิเรียกร้อง ดอกเบี้ย ค้าง ส่ง เกินกว่า 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม นั้น เห็นว่า ดอกเบี้ยที่ โจทก์ เรียกร้อง คดี นี้ สืบเนื่อง มาจาก การ ใช้ สิทธิ บอกเลิก สัญญาซึ่ง จำเลย ที่ 2 จำต้อง ให้ โจทก์ ได้ กลับคืน ฐานะ ดัง ที่ เป็น อยู่ เดิมด้วย การ ใช้ เงิน คืน แก่ โจทก์ โดย ให้ บวก ดอกเบี้ย เข้า ด้วย คิด ตั้งแต่ เวลาที่ ได้รับ ไว้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ซึ่ง เป็นการ ทดแทน ความเสียหาย อย่างหนึ่ง เพื่อ ให้ ได้ กลับคืน ฐานะ ดัง ที่ เป็นอยู่ เดิม หาใช่ หนี้ ดอกเบี้ย ค้าง ส่ง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 (เดิม ) ดัง ที่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ไม่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3วินิจฉัย เกี่ยวกับ จำเลย ที่ 2 นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา จำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น ทุก ข้อ
ส่วน ปัญหา ตาม ฎีกา โจทก์ ที่ ขอให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน ชำระเงิน งวด แรก ที่ จำเลย ที่ 2 และ 3 ได้รับ จาก โจทก์ ไป คืน นั้น จึง ต้องฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ร่วมกัน รับ เงิน ตามเช็คเอกสาร จ. 10 และ จ. 11 เป็น เงิน งวด แรก จาก โจทก์ ไป ตาม สัญญา เอกสารจ. 1 และ จ. 2 จริง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 จึง ต้อง รับผิด คืนเงินจำนวน ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ ด้วย ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ยก คำขอโจทก์ ใน ส่วน นี้ ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ของ ศาลฎีกา ฎีกา โจทก์ ฟังขึ้น ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน คืนเงิน จำนวน450,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2522 เป็นต้น ไป สำหรับ เงินต้น 200,000 บาทและ นับแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2522 เป็นต้น ไป สำหรับ เงินต้น 240,000 บาทจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ ให้ โจทก์ ด้วย นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ ภาค 3