คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

อำนาจสั่งจำหน่ายคดีในกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลไว้เพื่อใช้ตามควรแก่กรณีมิใช่เป็นบทบัญญัติบังคับว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไปถ้าศาลให้ดุลพินิจไม่สั่งจำหน่ายคดีก็ต้องวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา133การที่ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยคดีไปโดยมิได้สั่งจำหน่ายฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1นั้นเป็นการใช้ดุลพินิจตามควรแก่กรณีแล้วและมีอำนาจวินิจฉัยฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่1ได้ตามกฎหมาย โจทก์บรรยายฟ้องให้รับผิดในลักษณะละเมิดจึงต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อใดแต่โจทก์ได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ในวันดังกล่าวเมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันมอบอำนาจฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา396เป็นกรณีผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของตัวการทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้นการที่จำเลยที่1กระทำไปตามอำนาจหน้าที่ที่เคยปฏิบัติมาและโจทก์เองก็รับรู้และยอมรับข้อปฏิบัติดังกล่าวจึงมิใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์แท้จริงของโจทก์จำเลยที่3ซึ่งปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่1มอบหมายจึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สาม ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน1,226,474.14 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชดใช้ เงิน1,226,474.14 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ดอกเบี้ย ยกฟ้อง จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3
โจทก์ และ จำเลย ที่ 1 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ สำหรับจำเลย ที่ 1 ด้วย นอกจาก ที่ แก้ คง ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้นฟังได้ ว่า โจทก์ เป็น นิติบุคคล ตาม กฎหมาย โดย เป็น กรม ใน รัฐบาลจำเลย ทั้ง สาม เป็น ข้าราชการ ใน สังกัด โจทก์ ใน ปีงบประมาณ 2526จำเลย ที่ 1 ดำรง ตำแหน่ง ผู้กำกับการตำรวจ ภูธร จังหวัด ศรีสะเกษมี หน้าที่ บริหาร งาน ใน หน้าที่ ของ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษซึ่ง รวมทั้ง งาน บริหาร งบประมาณ รายจ่าย ที่ โจทก์ จัดสรร มา ให้ เป็น ไปตาม ระเบียบ และ กฎหมาย จำเลย ที่ 2 ดำรง ตำแหน่ง รองสารวัตร ประจำกองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ ทำ หน้าที่ พลาธิการ ส่วนจำเลย ที่ 3 ดำรง ตำแหน่ง พล ขับ ของ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษอยู่ ใต้ บังคับบัญชา ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ทำ หน้าที่ ตาม ที่ผู้บังคับบัญชา มอบหมาย ใน ปีงบประมาณ 2526 หลังจาก จำเลย ที่ 1จัดซื้อ น้ำมันเชื้อเพลิง และ น้ำมันหล่อลื่น จาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย จน ครบ ตาม จำนวน งบประมาณ ที่ โจทก์ จัดสรร มา ให้ แล้ว จำเลย ที่ 1 ยัง ได้ จัดซื้อ น้ำมัน ดังกล่าว จาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย ไป ใช้ ใน ราชการ ของ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ เพิ่ม อีก 298 ครั้ง เป็น จำนวนเงิน 1,098,993.83 บาทต่อมา ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย ได้ ฟ้องโจทก์ และ จำเลย ที่ 1ให้ ร่วมกัน รับผิด ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ โจทก์ชำระ เงิน จำนวน 1,226,474.14 บาท ปรากฏ ตาม คำพิพากษาคดีแพ่ง หมายเลขแดง ที่ 585/2528 ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ ได้ ชำระ เงินจำนวน ดังกล่าว ให้ แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย ไป แล้ว คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ใน ประการ แรก ว่า ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 มีอำนาจ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 หรือไม่ โดย โจทก์ ฎีกาใน ข้อ นี้ ว่า จำเลย ที่ 1 ยื่น อุทธรณ์ ต่อ ศาลชั้นต้น เมื่อ วันที่ 16เมษายน 2535 ศาล มี คำสั่ง ว่า รับ อุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 สำเนาให้ โจทก์ แก้ และ ให้ จำเลย ที่ 1 นำ ส่ง ภายใน 7 วัน ถ้า ไม่มีผู้รับ ให้ ปิด จำเลย ที่ 1 ไม่นำ ส่ง ตาม คำสั่ง ของ ศาล ปรากฏ ตาม รายงานของ เจ้าหน้าที่ศาล ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2535 จึง ถือว่า จำเลย ที่ 1ทิ้งฟ้อง อุทธรณ์ ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 ต้อง มี คำสั่ง ว่า จำเลย ที่ 1ทิ้งฟ้อง อุทธรณ์ และ ให้ จำหน่ายคดี เสีย จาก สารบบความ โดยไม่มี อำนาจ ที่ จะ วินิจฉัย ฟ้องอุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 เห็นว่าอำนาจ สั่ง จำหน่ายคดี ใน กรณี ทิ้งฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 นั้น กฎหมายให้ อำนาจศาล ไว้ เพื่อ ใช้ ตาม ควร แก่ กรณี ไม่ใช่ เป็น บทบัญญัติ บังคับว่า จะ ต้อง จำหน่ายคดี เสมอ ไป ถ้า ศาล ใช้ ดุลพินิจ ไม่ สั่ง จำหน่ายคดีก็ ต้อง วินิจฉัยชี้ขาด ตัดสิน คดี ไป ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 133 การ ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย คดี ไป โดย มิได้ สั่งจำหน่าย ฟ้องอุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1 นั้น เป็น การ ใช้ ดุลพินิจตาม ควร แก่ กรณี แล้ว และ มีอำนาจ วินิจฉัย ฟ้องอุทธรณ์ ของ จำเลย ที่ 1ได้ ตาม กฎหมาย ฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ต่อไป มี ว่า ฟ้องโจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2 ขาดอายุความแล้ว หรือไม่ โจทก์ ฎีกา ใน ข้อ นี้ ว่า ฟ้อง ของ โจทก์ สำหรับ จำเลย ที่ 2ยัง ไม่ขาดอายุความ เนื่องจาก ตาม คำฟ้อง โจทก์ ใช้ สิทธิ ไล่เบี้ยเอา แก่ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง มี อายุความ 10 ปี เห็นว่า ตาม ฟ้องโจทก์บรรยายฟ้อง พอ สรุป ได้ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ ละเว้น ไม่ปฏิบัติ ตาม ระเบียบและ คำสั่ง ของ โจทก์ โดย ละเว้น ไม่ ควบคุม ดูแล และ ไม่ ตรวจสอบ ติดตาม ว่าใน ปีงบประมาณ 2526 กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษใช้ เงิน จัดซื้อ น้ำมันเชื้อเพลิง และ น้ำมันหล่อลื่น ไป เกินกว่า งบประมาณที่ โจทก์ จัดสรร มา ให้ เป็น จำนวน 1,098,993.83 บาท โดย ไม่ รายงาน ให้จำเลย ที่ 1 ทราบ และ ทำให้ จำเลย ที่ 1 ไม่ได้ รายงาน ถึง หนี้จำนวน ดังกล่าว ให้ โจทก์ ทราบ ก่อน สิ้นปีงบประมาณ 2526 ทำให้ โจทก์ไม่สามารถ ขออนุมัติ งบประมาณ เพิ่มเติม เป็นเหตุ ให้ ศาลชั้นต้น พิพากษาให้ โจทก์ ชำระ เงิน จำนวน ดังกล่าว ให้ แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย จำเลย ที่ 2 ต้อง ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 3 ชดใช้ เงิน จำนวนดังกล่าว คืน โจทก์ ซึ่ง เป็น การ ฟ้อง ให้ รับผิด ใน ลักษณะ ละเมิด ต้องฟ้อง ภายใน หนึ่ง ปี นับแต่ วันที่ โจทก์ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึงต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ทางพิจารณา แม้ จะ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ได้ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึง ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน เมื่อไรก็ ตาม แต่ ได้ความ ตาม หนังสือมอบอำนาจ ให้ ฟ้องคดี เอกสาร หมาย ป.จ. 1ว่า โจทก์ โดย พลตำรวจเอก ณรงค์ มหานนท์ ได้ มอบอำนาจ ให้ นาย จำลอง ราษฎร์ประเสริฐ ผู้ว่าราชการจังหวัด ศรีสะเกษ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สาม เป็น คดี นี้ เมื่อ วันที่ 15 เมษายน 2530ซึ่ง ถือได้ว่า เป็น วันที่ โจทก์ ได้ รู้ ถึง การ ละเมิด และ รู้ตัว ผู้จะพึงต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ตั้งแต่ ใน วันที่ ดังกล่าว แล้ว แต่ โจทก์ เพิ่ง มาฟ้องคดี นี้ ใน วันที่ 13 กรกฎาคม 2531 ซึ่ง เกินกว่า หนึ่ง ปี ไป แล้วฟ้องโจทก์ จึง ขาดอายุความ และ กรณี เช่นนี้ หาใช่ เป็น การ ที่ โจทก์ใช้ สิทธิ ฟ้อง ไล่เบี้ย เอา แก่ จำเลย ที่ 2 ซึ่ง มี อายุความ 10 ปีดัง ที่ โจทก์ กล่าวอ้าง ใน ฎีกา ไม่ ฎีกา ข้อ นี้ ของ โจทก์ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
ปัญหา ต่อไป มี ว่า จำเลย ที่ 1 จะ ต้อง รับผิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 396 หรือไม่ โจทก์ ฎีกาใน ข้อ นี้ ว่า เงิน งบประมาณ เมื่อ ได้รับ มา แล้ว จำเลย ที่ 1 จะ ตั้ง กรรมการพิจารณา ว่า จะ จัดสรร เงิน นั้น ไป จ่าย ใน ส่วน ใด บ้าง แล้ว เสนอไป ยัง กองบังคับการ ตาม ขั้นตอน จน ถึง โจทก์ เมื่อ ใช้ จ่ายเงิน งบประมาณที่ ได้รับ อนุมัติ หมด แล้ว จะ ไป ก่อหนี้ ผูกพัน ภายใน ปีงบประมาณ ไม่ได้ หากงบประมาณ ไม่พอ ต้อง ทำ เรื่อง ของ งบประมาณ เพิ่มเติม เสนอ ผู้บังคับบัญชาไป ตามลำดับ ขั้น การ ที่ จำเลย ที่ 1 ก่อหนี้ ผูกพัน ค่า น้ำมันเชื้อเพลิงและ ค่า น้ำมันหล่อลื่น ใน ปีงบประมาณ 2526 จำนวน 1,098,993.83 บาทโดย ไม่ได้ ขอ งบประมาณ เพิ่มเติม จาก โจทก์ ก่อน เป็น การ เข้า จัดการ อันเป็นการ ขัด กับ ความ ประสงค์ อัน แท้จริง ของ โจทก์ หรือ ขัด กับ ความ ประสงค์ตาม ที่ จะ พึง สันนิษฐาน ได้ จำเลย ที่ 1 ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่โจทก์ เพื่อ ความเสียหาย อัน เกิด แต่ การ ที่ ได้ จัดการ นั้น เห็นว่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 396 บัญญัติ ว่า”ถ้า การ ที่ เข้า จัดการ งาน นั้น เป็น การ ขัด กับ ความ ประสงค์ อัน แท้จริงของ ตัวการ ก็ ดี หรือ ขัด กับ ความ ประสงค์ ตาม ที่ พึง สันนิษฐานได้ ก็ ดี และ ผู้จัดการ ก็ ควร จะ ได้ รู้สึก เช่นนั้น แล้ว ด้วย ไซร้ ท่าน ว่าผู้จัดการ จำต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ ตัวการ เพื่อ ความเสียหายอย่างใด ๆ อัน เกิด แต่ ที่ ได้ เข้า จัดการ นั้น แม้ ทั้ง ผู้จัดการ จะมิได้ มี ความผิด ประการอื่น ” หมายความ ว่า ผู้จัดการ ได้ เข้า จัดการ งานอันเป็น การ ขัด กับ ความ ประสงค์ อัน แท้จริง ของ ตัวการ หรือ ขัด กับความ ประสงค์ ตาม ที่ พึง สันนิษฐาน ได้ ทั้ง ๆ ที่ รู้ อยู่ แล้ว ว่า ตัวการไม่ประสงค์ เช่นนั้น หรือ น่า จะ รู้ ว่า ตัวการ ไม่ประสงค์ เช่นนั้นแต่ ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า น้ำมันเชื้อเพลิง และ น้ำมันหล่อลื่น ที่จำเลย ที่ 1 จัดซื้อ จาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย นั้น จำเลย ที่ 1ใน ฐานะ ผู้กำกับการตำรวจ ภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ ได้ สั่ง ซื้อไป ใช้ ใน ราชการ ของ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษซึ่ง เป็น หน่วยงาน ใน สังกัด ของ โจทก์ และ ทาง จังหวัด ศรีสะเกษ ก็ เคยมี หนังสือ แจ้ง ให้ โจทก์ จัดสรร งบประมาณ เพื่อ นำ ไป ชำระหนี้ ให้ แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย แต่ โจทก์ ไม่ได้ ดำเนินการ ใด ๆ ซึ่ง ก่อนหน้า นี้ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ ก็ เคย เป็นหนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย หลาย ครั้ง เมื่อ ทาง จังหวัด ศรีสะเกษ รายงาน เรื่อง ไป ให้ โจทก์ ทราบ โจทก์ ก็ จัดสรร งบประมาณ ไป ชำระหนี้ทุกครั้ง ดังนี้ แม้ ว่า จำเลย ที่ 1 จะ จัดซื้อ น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันหล่อลื่น จาก ห้างหุ้นส่วนจำกัด วีสมหมาย หลังจาก หมด งบประมาณ ที่ โจทก์ จัดสรร มา ให้ ใน ปีงบประมาณ 2526 แล้ว ก็ ตาม แต่ ก็ เป็น การจัดซื้อ มา เพื่อ ใช้ ใน ราชการ ของ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษตาม ที่ เคย ปฏิบัติ มา และ โจทก์ เอง ก็ รับ รู้ และ ยอมรับ ข้อ ปฏิบัติ ดังกล่าวกรณี จึง เป็น เรื่อง ที่ จำเลย ที่ 1 ทำ ไป ตาม อำนาจ หน้าที่ ใน ฐานะผู้กำกับการตำรวจ ภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ ซึ่ง มี หน้าที่ บริหาร งาน ของกองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ แทน โจทก์ หาใช่ ทำ ไป โดย ขัด กับความ ประสงค์ อัน แท้จริง ของ โจทก์ ดัง ที่ โจทก์ กล่าวอ้าง ไม่ จำเลย ที่ 1จึง ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน ให้ แก่ โจทก์ ตาม ที่ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ใน ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ส่วน ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย ที่ 3 จะ ต้อง ร่วม กับจำเลย ที่ 1 ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน แก่ โจทก์ หรือไม่ นั้น เห็นว่าจำเลย ที่ 3 เป็น ผู้ใต้บังคับบัญชา ของ จำเลย ที่ 1 ต้อง ปฏิบัติงานตาม ที่ จำเลย ที่ 1 มอบหมาย และ ต้อง รายงาน เกี่ยวกับ ยอดหนี้ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และ น้ำมันหล่อลื่น ของ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัดศรีสะเกษ ที่ จ่าย เกิน งบประมาณ ปี 2526 ต่อ จำเลย ที่ 1 เพื่อ จำเลย ที่ 1จะ ได้ รายงาน ให้ โจทก์ ทราบ หน้าที่ ดังกล่าว จึง เป็น ขั้นตอน หนึ่ง ใน การปฏิบัติงาน ของ จำเลย ที่ 1 เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า จำเลย ที่ 1ปฏิบัติงาน ไป ตาม อำนาจ หน้าที่ ไม่ได้ ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์จำเลย ที่ 3 จึง ไม่ต้อง รับผิด ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทน แก่ โจทก์ เช่นกันฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ก็ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share