แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยขอให้แก้เป็นไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 – 5, 7 – 8 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไว้ด้วยแล้ว แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์กล่าวเพียงว่าโจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 พร้อมทั้งวินิจฉัยเฉพาะการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 เท่านั้น หาได้กล่าวถึงหรือวินิจฉัยการกระทำผิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาตอนหนึ่งว่านอกจากที่แก้คงเป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอันมีผลบังคับไปถึงจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นคำวินิจฉัยไม่ครบทุกข้อตามที่โจทก์ขอมาในอุทธรณ์