คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่อจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอำนาจในการต่อสู้คดีย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา22(3)แม้ที่ประชุมเจ้าหนี้จะมีมติว่าไม่ประสงค์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนหรือมีมติประการใดก็ไม่ทำให้อำนาจในการต่อสู้คดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปจำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาด้วยตนเอง

ย่อยาว

คดี นี้ ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ที่ดิน มือเปล่า ซึ่ง ตั้ง อยู่ บ้านตลาดแค หมู่ ที่ 12 ตำบล ธารปราสาท อำเภอสูงเนิน จังหวัด นครราชสีมา เนื้อที่ ประมาณ 2 ไร่ ตาม แผนที่ พิพาท จ. 1, ล. 1เป็น ของ โจทก์ ห้าม จำเลย และ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง อีก ต่อไปจำเลย อุทธรณ์ และ ยื่น คำร้องขอ อุทธรณ์ อย่าง คนอนาถา
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า จำเลย เป็น บุคคล ล้มละลาย ให้ แจ้งเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ทราบ และ นัด พร้อม เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ยื่น คำแถลง ว่า ไม่ ขอ เข้า ว่าคดี แทน ลูกหนี้ (จำเลย ) ใน คดี นี้ ตาม มติที่ ประชุม เจ้าหนี้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า เมื่อเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ ไม่ เข้า มา ใน คดี จำเลย จึง ไม่อาจ ดำเนินกระบวนพิจารณา ต่อไป ได้ จึง ไม่รับ คำร้องขอ อุทธรณ์ อย่าง คนอนาถาและ หาก จำเลย ประสงค์ จะ ดำเนิน กระบวนพิจารณา ใน ชั้นอุทธรณ์ ต่อไปให้ จำเลย เสีย ค่าขึ้นศาล ใน ชั้นอุทธรณ์ ต่อ ศาล ภายใน 15 วันนับแต่ วัน นี้ (วันที่ 28 เมษายน 2538)
จำเลย ยื่น คำร้องคัดค้าน คำสั่งศาล และ ต่อมา จำเลย อุทธรณ์ คำสั่ง
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 วินิจฉัย ว่า ใน ระหว่าง ที่ ยื่น คำร้องขอ อุทธรณ์อย่าง คนอนาถา นั้น จำเลย เป็น บุคคล ล้มละลาย อำนาจ ใน การจัดการ ทรัพย์สิน รวมทั้ง การ ต่อสู้ คดี ย่อม เป็น ของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ แต่ ผู้เดียว จำเลย จึง ไม่มี อำนาจ ดำเนินคดีนี้ ได้ ด้วย ตนเอง ที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ไม่รับ คำร้องขอ อุทธรณ์อย่าง คนอนาถา ของ จำเลย นั้น ชอบแล้ว มี คำสั่ง ยกคำร้อง อุทธรณ์คำสั่ง ของ จำเลย คืน ค่าธรรมเนียม ให้ จำเลย
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหาข้อกฎหมาย ขึ้น มา สู่ การ วินิจฉัยของ ศาลฎีกา ว่า คำสั่งศาล ชั้นต้น ที่ ไม่รับ คำร้องขอ อุทธรณ์อย่าง คนอนาถา ของ จำเลย ชอบ ด้วย กฎหมาย หรือไม่ ศาลฎีกา เห็นว่าพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22 บัญญัติ ว่า”เมื่อ ศาล สั่ง พิทักษ์ทรัพย์ ของ ลูกหนี้ แล้ว เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ ผู้เดียว มีอำนาจ ดัง ต่อไป นี้
(3) ประนีประนอม ยอมความ หรือ ฟ้องร้อง หรือ ต่อสู้ คดี ใด ๆเกี่ยวกับ ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ”
ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ศาล พิพากษา ว่าที่ดิน มือเปล่า เนื้อที่ ประมาณ 2 ไร่ เป็น ของ โจทก์ และ ห้าม จำเลยกับ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง จำเลย ให้การ ว่า ที่ดิน ดังกล่าว เป็น ของ จำเลยโจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง กรณี จึง พิพาท กัน เกี่ยวกับ สิทธิใน ที่ดิน หาใช่ เป็น การ ใช้ สิทธิ เฉพาะตัว ดัง ที่ จำเลย กล่าวอ้าง มาใน ฎีกา ไม่ ฉะนั้น เมื่อ จำเลย เป็น บุคคล ล้มละลาย อำนาจ ใน การต่อสู้ คดี ดังกล่าว ย่อม เป็น ของ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ แต่ ผู้เดียวทั้งนี้ ตาม บทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ดังกล่าว แม้ ที่ ประชุม เจ้าหนี้ จะ มี มติว่า ไม่ประสงค์ ให้ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เข้า ว่าคดี แทน หรือมี มติ ประการใด แต่ ก็ ไม่ทำ ให้ อำนาจ ใน การ ต่อสู้ คดี ของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เปลี่ยนแปลง จำเลย จึง ไม่มี สิทธิ ต่อสู้ คดีได้ ด้วย ตนเอง ซึ่ง รวมทั้ง สิทธิ ใน การ ยื่น คำร้องขอ ดำเนินคดีอย่าง คนอนาถา ด้วย คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ที่ ไม่รับ คำร้องขออุทธรณ์ อย่าง คนอนาถา ของ จำเลย จึง ชอบ ด้วย กฎหมาย ศาลอุทธรณ์ ภาค 1มี คำสั่ง ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share