คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยที่1ผู้ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่1เป็นพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกันกับโจทก์ที่1จึงเป็นญาติสนิทผู้มีอาวุโสของโจทก์ที่1สมควรที่โจทก์ที่1จะให้ความเคารพนับถือตามควรการที่โจทก์ที่1ด่าว่าจำเลยที่1ด้วยถ้อยคำหยาบคายแสดงถึงการเหยียดหยามไม่ให้ความเคารพนับถือถือว่าเป็นการ หมิ่นประมาทจำเลยที่1อย่าง ร้ายแรง จำเลยที่1จึง ถอนคืนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา531(2)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ทั้ง สอง เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ตามโฉนด เลขที่ 4463 จำเลย ทั้ง สอง ได้ เข้า มา ขอ อาศัย ที่ดิน ดังกล่าวมี เนื้อที่ ประมาณ 10 ไร่ เศษ โจทก์ ทั้ง สอง ได้ บอกกล่าว ให้ จำเลยทั้ง สอง ออก ไป จาก ที่ดิน และ ให้ รื้อถอน บ้านเรือน พร้อม สิ่งปลูกสร้างจำเลย ทั้ง สอง ไม่ยอม ออก การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง อยู่ ใน ที่ดิน ทำให้โจทก์ เสียหาย เดือน ละ 1,000 บาท ขอให้ ขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง และ บริวารออกจาก ที่ดิน ตาม โฉนด เลขที่ 4463 พร้อม ทั้ง ให้ รื้อถอน บ้านเรือนสิ่งปลูกสร้าง และ พืชล้มลุก ออก ไป ให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ ค่าเสียหายเดือน ละ 1,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สองและ บริวาร จะ ออก ไป จาก ที่ดิน
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ และ จำเลย ที่ 1 ฟ้องแย้ง ว่า เดิม ที่ดินที่พิพาท เป็น กรรมสิทธิ์ร่วม ของ จำเลย ที่ 1 และ โจทก์ ที่ 2 คน ละ ส่วนเท่า ๆ กัน โดย จำเลย ที่ 1 และ โจทก์ ที่ 2 ได้ แบ่งแยก การ ครอบครองเป็น สัดส่วน จำเลย ที่ 1 ได้ ยก ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ของ ตน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1โดยเสน่หา มี ข้อตกลง ด้วย วาจา ว่า โจทก์ ที่ 1 ต้อง ยินยอม ให้ จำเลยที่ 1 ทำประโยชน์ ใน ที่ดิน ไป จน ชั่ว ชีวิต ซึ่ง จำเลย ที่ 1 ทำประโยชน์ใน ที่ดิน เรื่อย มา พร้อม ทั้ง ปลูก บ้าน อยู่อาศัย จน บัดนี้ ต่อมา โจทก์ที่ 1 ได้ ทะเลาะ กับ จำเลย ทั้ง สอง โจทก์ ที่ 1 ด่า ว่า จำเลย ที่ 1ด้วย ถ้อยคำ หยาบคาย ลามก เป็น การ หมิ่นประมาท จำเลย ที่ 1 อย่างร้ายแรงอันเป็น การ ประพฤติ เนรคุณ แก่ จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น ผู้ ให้ ที่ดินดังกล่าว โดยเสน่หา ขอให้ ยกฟ้อง และ เพิกถอน นิติกรรม การ ให้ ที่ดินโฉนด เลขที่ 4463 เฉพาะ ส่วน ของ จำเลย ที่ 1 กับ ให้ โจทก์ ทั้ง สองส่งมอบ โฉนด ที่ดิน แก่ จำเลย ที่ 1
โจทก์ ที่ 1 ยื่นคำให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ว่า โจทก์ ที่ 2 ซื้อที่ดิน ที่พิพาท ด้วย เงิน ของ ตน ใส่ ชื่อ จำเลย ที่ 1 ถือ กรรมสิทธิ์ร่วมด้วย ต่อมา โจทก์ ที่ 2 จึง ให้ จำเลย ที่ 1 โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดินของ ตน ให้ โจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 1 ไม่มี สิทธิ บอก ถอน คืน การ ให้ เพราะโจทก์ ที่ 1 ไม่ได้ ประพฤติ เนรคุณ ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง ของ จำเลย ที่ 1
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้องโจทก์ ให้ โจทก์ ที่ 1 ส่งมอบ โฉนดที่ดิน เลขที่ 4463 และ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน เฉพาะ ส่วน ของ โจทก์ ที่ 1ใน ที่ดิน ตาม โฉนด ดังกล่าว คืน ให้ แก่ จำเลย ที่ 1 หาก ไม่ยอม โอน ให้ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา
โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ ขับไล่ จำเลย ทั้ง สอง ออกจาก ที่ดินที่พิพาท พร้อม กับ ให้ รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง พืชล้มลุก ออก ไป จากที่ดิน ที่พิพาท ให้ จำเลย ใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ 1,000 บาท นับแต่วันฟ้อง จนกว่า จำเลย ทั้ง สอง จะ ออก ไป จาก ที่ดิน
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง ยุติ ตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ว่า ที่ดิน โฉนด เลขที่ 4463 ตำบล แพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัด ราชบุรี เดิม โจทก์ ที่ 2 และ จำเลย ที่ 1 ถือ กรรมสิทธิ์ร่วม กันต่อมา เมื่อ วันที่ 28 เมษายน 2523 จำเลย ที่ 1 ยก ที่ดิน เฉพาะ ส่วนของ ตน ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 โดยเสน่หา และ เมื่อ วันที่ 16 มีนาคม 2531จำเลย ที่ 1 สอบถาม โจทก์ ที่ 1 เกี่ยวกับ เรื่อง ลัก มะพร้าว แล้ว เกิดมี ปาก เสียง ทะเลาะ กัน โจทก์ ที่ 1 ได้ ด่า ว่า จำเลย ที่ 1 ว่า “ไอ้พี่ฉิบหาย ไอ้ชาติ ชั่ว เห็น เมีย ดีกว่า น้อง มึง ออก ไป จาก ที่ดิน ของ กูมึง จะ มี ที่ดิน ทำ มา หา แดกหรือไม่ เรื่อง ของ มึง ไป เย็ดกัน ที่อื่นกู ไม่ให้ เย็ดกัน ที่นี่ ” ปัญหา ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สอง มี ว่า ถ้อยคำ ที่ โจทก์ ที่ 1 ด่า ว่า จำเลย ที่ 1 ดังกล่าวข้างต้น เป็น ถ้อยคำ ที่ หมิ่นประมาท จำเลย ที่ 1 อย่างร้ายแรง อัน จำเลยที่ 1 จะ ถอน คืน การ ให้ ได้ หรือไม่ เห็นว่า จำเลย ที่ 1 เป็น พี่ชายร่วม บิดา มารดา เดียว กัน กับ โจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 1 จึง เป็น ญาติ สนิทผู้ มี อาวุโส ของ โจทก์ ที่ 1 และ เมื่อ จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ ยก ที่ดินที่พิพาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 โดยเสน่หา ด้วย แล้ว จำเลย ที่ 1 จึง เป็นผู้ มี บุญ คุณ แก่ โจทก์ ที่ 1 อย่างมาก สมควร ที่ โจทก์ ที่ 1 จะ ให้ ความเคารพนับถือ ตาม ควร การ ที่ โจทก์ ที่ 1 ด่า ว่า จำเลย ที่ 1 ด้วย ถ้อยคำหยาบคาย ย่อม แสดง ถึง การ เหยียดหยาม ไม่ให้ ความ เคารพนับถือ ถือได้ว่าเป็น การ หมิ่นประมาท จำเลย ที่ 1 อย่างร้ายแรง จำเลย ที่ 1 จึง ถอน คืนการ ให้ ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) ศาลอุทธรณ์พิพากษา มา นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็น ศาลฎีกา ฎีกา จำเลย ทั้ง สองฟังขึ้น ”
พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share