แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา
ย่อสั้น
ประมวลรัษฎากรมาตรา57ตรีวรรคแรกใช้บังคับเฉพาะจนกรณีที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้ซึ่งกฎหมายให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีโดยให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเท่านั้นฉะนั้นหากภริยาไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วหรือมีเฉพาะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(1)เพียงอย่างเดียวซึ่งภริยาได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีโดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีตามมาตรา57ตรีแล้วก็มิใช่กรณีการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาที่กฎหมายบังคับให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีซึ่งสามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีและถ้าภาษีค้างชำระและภริยาได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า7วันแล้วภริยาต้องร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นตามมาตรา57ตรีวรรคแรกเมื่อจำเลยซึ่งเป็นภริยาไม่มีเงินได้ถึงประเมินประเภทอื่นนอกจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(1)และจำเลยได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา57เบญจแล้วจึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา57ตรีมาใช้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่สามีค้างชำระได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นภริยานายสุนทร ไกรธรรมจิตกุลโดยจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ได้อยู่ร่วมกันมาตลอดปีภาษี 2521ถึงปีภาษี 2524 ต่างมีเงินได้พึงประเมินซึ่งต้องร่วมกันรับผิดชำระภาษีเงินได้แก่โจทก์ นายสุนทรถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 23มีนาคม 2525 โจทก์ออกหมายเรียกจำเลยซึ่งเป็นภริยา ทายาทและผู้จัดการมรดกของนายสุนทรมาไต่สวนแทน พบว่านายสุนทรมีทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้น มีค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในช่วงปี พ.ศ. 2521ถึง พ.ศ. 2524 ให้โจทก์ แต่ไม่ชำระให้ถูกต้อง จึงทำการประเมินภาษีเงินได้สุทธิหักค่าลดหย่อนคิดเป็นเงินค่าภาษีที่นายสุนทรต้องชำระเป็นเงิน 77,368,548.21 บาท จำเลยอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาลดภาษีให้บางส่วนคงให้รับผิดเป็นเงิน 41,156,691.18 บาท จำเลยมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ จึงเป็นหนี้เด็ดขาดจำนวนแน่นอน ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ต้องร่วมกับนายสุนทรรับผิดในหนี้ภาษีอากรต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม เนื่องจากจำเลยรับราชการเป็นพยาบาลมีรายได้เป็นเงินเดือนและแยกยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่างหากจากนายสุนทรโดยถูกต้องมาตลอด จำเลยมิได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับกิจการงานที่มีรายได้ของนายสุนทรแต่อย่างใด จำเลยคงต้องรับผิดในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของนายสุนทร และไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่ตน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาข้อกฎหมายมาสู่ศาลฎีกาว่าจำเลยซึ่งเป็นภริยาของนายสุนทร ไกรธรรมจิตกุล จะต้องร่วมรับผิดในหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่นายสุนทรค้างชำระแก่โจทก์หรือไม่ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยจะต้องร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระของสามีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี วรรคแรก ที่บัญญัติว่า “ในการเรียกเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยานั้น ถ้าสามีและภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีและให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แต่ถ้าภาษีค้างชำระและภริยาได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันแล้ว ให้ภริยาร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย” นั้น ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ซึ่งกฎหมายให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี โดยให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีเท่านั้น ฉะนั้น หากภริยาไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมานั้น หรือมีเฉพาะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) เพียงอย่างเดียวซึ่งภริยาได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี โดยให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีตามมาตรา 57 ตรี ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 57 เบญจ แล้ว ก็มิใช่กรณีการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาที่กฎหมายบังคับให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี ซึ่งสามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี และถ้าภาษีค้างชำระและภริยาได้รับแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน แล้ว ภริยาต้องร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระนั้น ตามมาตรา 57 ตรี วรรคแรกแต่อย่างใด เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าไม่ปรากฎว่าจำเลยมีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นนอกจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และจำเลยก็ได้แยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา 57 ตรีมาใช้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดในการเสียภาษีที่สามีค้างชำระได้ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากตามมาตรา 57 เบญจ เป็นเพียงบทบัญญัติต่อเนื่องเกี่ยวกับวิธีการชำระภาษีของสามีภริยา ซึ่งได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ทั่วไปไว้ในมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เท่านั้น ดังนั้น แม้ภริยาจะแยกยื่นรายการและเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 57 เบญจ แล้วก็ตาม ความรับผิดของภริยาร่วมกับสามีในภาษีอากรค้างชำระในส่วนที่ถือว่าเป็นเงินได้ของสามีก็ยังคงมีอยู่ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 57 ตรี ไม่ว่าภริยาจะมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40กี่ประเภทก็ตาม นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฎิบัติต่อรัฐ อันมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชนจึงต้องตีความโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิของประชาชนผู้ซึ่งเป็นฝ่ายจะต้องเสียเพิ่มขึ้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้นชอบแล้ว”
พิพากษายืน