คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1906/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เดิมลูกหนี้กู้เงินผู้คัดค้านที่3แล้วจดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทไว้เป็นประกันต่อมาลูกหนี้ขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่1และที่2โดยผู้คัดค้านที่1และที่2กู้เงินจากผู้คัดค้านที่3เท่ากับยอดเงินต้นที่ลูกหนี้ค้างชำระนำไปชำระราคาทรัพย์พิพาทส่วนหนึ่งแล้วลูกหนี้นำเงินดังกล่าวไปชำระแก่ผู้คัดค้านที่3เพื่อ ไถ่ถอนจำนองและ โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้คัดค้านที่1และที่2จากนั้นผู้คัดค้านที่1และที่2ได้จดทะเบียนจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันหนี้เงินกู้แก่ผู้คัดค้านที่3ในวันเดียวกันมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนตัวผู้จำนองฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่3รับจำนองโดยสุจริตแม้ศาลจะ เพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่1และที่2ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของผู้คัดค้านที่3ซึ่งเป็น บุคคลภายนอกอันได้มาโดย สุจริตและมี ค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา116 การ เพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาถือไม่ได้ว่ามีการ ผิดนัดนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ เพิกถอนการโอนอันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่1และที่2ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

ย่อยาว

ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง และ แก้ไข คำร้อง ว่า เมื่อ วันที่ 23 พฤษภาคม2531 โจทก์ ฟ้อง ขอให้ ลูกหนี้ (จำเลย ) ล้มละลาย ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ ลูกหนี้ เด็ดขาด วันที่ 25 กรกฎาคม 2531 และ พิพากษาให้ ล้มละลาย วันที่ 28 กันยายน 2532 ผู้ร้อง สอบสวน แล้ว ทราบ ว่าเมื่อ วันที่ 15 กรกฎาคม 2529 ลูกหนี้ ได้ จดทะเบียน โอน ขาย ที่ดินโฉนด เลขที่ 97342 พร้อม ตึกแถว 3 ชั้น ให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และที่ 2 และ ใน วันเดียว กัน ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ จดทะเบียน จำนองไว้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 3 การ โอน ขาย และ การ จดทะเบียน จำนอง ที่ดิน และตึกแถว ดังกล่าว ได้ กระทำ ใน ระหว่าง ระยะเวลา 3 ปี ก่อน มี การ ขอให้ลูกหนี้ ล้มละลาย เป็น การ โอน และ การ จำนอง โดย ไม่สุจริต ขอให้เพิกถอน การ โอน และ การ จำนอง ที่ดิน และ ตึกแถว ดังกล่าว หาก ไม่สามารถกลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ได้ ให้ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมกัน ใช้ ราคาที่ดิน และ ตึกแถว ดังกล่าว เป็น เงิน 540,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ยใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วัน ยื่น คำร้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1และ ที่ 2 ได้รับ โอน ที่ดิน และ ตึกแถว พิพาท จาก ลูกหนี้ โดยสุจริต และ เสียค่าตอบแทน ขอให้ ยกคำร้อง
ผู้คัดค้าน ที่ 3 ยื่น คำคัดค้าน ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2เป็น ลูกค้า ของ ธนาคาร ผู้คัดค้าน ที่ 3 สาขา ถนนประดิพัทธ์ การ รับ จำนอง ของ ผู้คัดค้าน ที่ 3 ได้ กระทำ โดยสุจริต และ เสีย ค่าตอบแทนขอให้ ยกคำร้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ เพิกถอน การ โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 97342ตำบล สีกัน (บ้านใหม่) อำเภอบางเขน (ตลาดขวัญ) กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ระหว่าง ลูกหนี้ กับ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2โดย ให้ กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม หาก ไม่สามารถ กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ได้ ก็ ให้ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ชดใช้ ราคา ที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง เป็นเงิน 540,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีนับแต่ วัน ยื่น คำร้อง (วันที่ 12 กันยายน 2533) เป็นต้น ไป จนกว่าชำระ เสร็จ กับ ให้ เพิกถอน นิติกรรม จำนอง ระหว่าง ผู้คัดค้าน ที่ 1 และที่ 2 กับ ผู้คัดค้าน ที่ 3 ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 114, 116
ผู้คัดค้าน ทั้ง สาม อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก คำร้องขอ งผู้ร้อง
ผู้ร้อง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง เบื้องต้น ฟังได้ว่า โจทก์ ฟ้อง ลูกหนี้ ให้ ล้มละลาย เมื่อ วันที่ 23 พฤษภาคม 2531ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ของ ลูกหนี้ เด็ดขาด วันที่ 25 กรกฎาคม2531 เมื่อ วันที่ 15 กรกฎาคม 2529 ลูกหนี้ ได้ จดทะเบียน โอนขาย ทรัพย์พิพาท ให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ใน ราคา 540,000 บาทและ ใน วันเดียว กัน ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ นำ ทรัพย์พิพาทจดทะเบียน จำนอง ไว้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 3 เพื่อ เป็น ประกันหนี้ ที่ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ กู้เงิน ไป จาก ผู้คัดค้าน ที่ 3 จำนวน387,000 บาท คดี มี ปัญหา จะ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ ผู้ร้อง ว่า มีเหตุให้ เพิกถอน การ โอน และ การ จำนอง ทรัพย์พิพาท หรือไม่ เห็นว่า การ โอนทรัพย์พิพาท เป็น การ โอน ทรัพย์สิน ของ ลูกหนี้ ซึ่ง ลูกหนี้ ได้ กระทำ ในระหว่าง ระยะเวลา สาม ปี ก่อน มี การ ขอให้ ล้มละลาย ศาล ย่อม มีอำนาจสั่ง เพิกถอน การ โอน นั้น ได้ เว้นแต่ ผู้รับโอน จะ แสดง ให้ พอใจ ศาล ว่าการ โอนนั้น ได้ กระทำ โดยสุจริต และ มีค่า ตอบแทน ซึ่ง ความ ข้อ นี้ โดยสภาพ และพฤติการณ์ ดังกล่าว จึง เชื่อ ว่า ขณะที่ มี การ ซื้อ ขาย ทรัพย์พิพาท กัน นั้นผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 รู้ อยู่ แล้ว ว่า ลูกหนี้ เป็น คน มีหนี้สินล้นพ้นตัว และ เหตุ ที่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ตกลง ซื้อทรัพย์พิพาท ก็ โดย เจตนา ช่วยเหลือ มิให้ ทรัพย์พิพาท ถูก เจ้าหนี้ยึด ไป บังคับ ชำระหนี้ นั่นเอง จึง ถือไม่ได้ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 1 และที่ 2 กระทำการ โดยสุจริต มีเหตุ ที่ จะ เพิกถอน การ โอน ทรัพย์พิพาทระหว่าง ลูกหนี้ กับ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 สำหรับ ผู้คัดค้าน ที่ 3 นั้นข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า เมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2526 ลูกหนี้ ได้กู้เงิน ผู้คัดค้าน ที่ 3 จำนวน 400,000 บาท แล้ว จดทะเบียน จำนอง ทรัพย์พิพาท ไว้ เป็น ประกัน ซึ่ง เมื่อ คำนวณ ถึง เดือน กรกฎาคม 2529 ที่ ลูกหนี้โอน ขาย ทรัพย์พิพาท ให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 แล้ว ปรากฏว่าลูกหนี้ ค้างชำระ เงินต้น อยู่ จำนวน 387,000 บาท กับ ค้างชำระ ดอกเบี้ยอีก ประมาณ 130,000 บาท ใน การ ซื้อ ขาย ทรัพย์พิพาท ระหว่างลูกหนี้ กับ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ก็ กระทำ โดย ผู้คัดค้าน ที่ 1 และที่ 2 กู้เงิน จาก ผู้คัดค้าน ที่ 3 เท่ากับ ยอดเงิน ต้น ที่ ลูกหนี้ค้างชำระ นำ ไป ชำระ ราคา ทรัพย์พิพาท ส่วน หนึ่ง แล้ว ลูกหนี้ได้ นำ เงิน ไป ชำระ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 3 เพื่อ ไถ่ถอน จำนอง และ โอนกรรมสิทธิ์ ให้ แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 จาก นั้น ผู้คัดค้าน ที่ 1และ ที่ 2 ได้ จดทะเบียน จำนอง ทรัพย์พิพาท เป็น ประกันหนี้ เงินกู้ดังกล่าว แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 3 ใน วันเดียว กัน มี ลักษณะ เป็น การเปลี่ยน ตัว ผู้จำนอง จาก ลูกหนี้ มา เป็น ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2ซึ่ง แม้ จะ ไม่ เปลี่ยน ตัว ผู้จำนอง ดังกล่าว สิทธิจำนอง ก็ ย่อมติด ไป กับ ตัว ทรัพย์พิพาท อยู่ แล้ว ทั้ง จำนวนเงิน จำนอง ที่ เปลี่ยน ไปก็ ลดลง จาก เดิม ไม่ ก่อ ให้ เกิด สิทธิ เพิ่มขึ้น แก่ ผู้คัดค้าน ที่ 3 หรือทำให้ เจ้าหนี้ ของ ลูกหนี้ เสียหาย แต่อย่างใด ฟังได้ ว่า ผู้คัดค้าน ที่ 3รับ จำนอง โดยสุจริต แม้ ศาล จะ เพิกถอน การ โอน ระหว่าง ลูกหนี้ กับผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ก็ ไม่ กระทบ ถึง สิทธิ ของ ผู้คัดค้าน ที่ 3ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก อัน ได้ มา โดยสุจริต และ มีค่า ตอบแทน ก่อน มี การ ขอให้ลูกหนี้ ล้มละลาย ตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116ฎีกา ของ ผู้ร้อง ฟังขึ้น บางส่วน
อนึ่ง ใน กรณี ที่ เพิกถอน การ โอน แล้ว ไม่สามารถ กลับคืน สู่ ฐานะ เดิมที่ ผู้ร้อง ขอให้ ชดใช้ ราคา ทรัพย์พิพาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ยื่น คำร้อง นั้น เห็นว่า การ เพิกถอน การ โอน เป็น ไป โดย ผล ของ คำสั่ง หรือคำพิพากษา ตราบใด ที่ ยัง ไม่มี คำสั่ง หรือ คำพิพากษา ให้ เพิกถอน การ โอนก็ ยัง คง ถือว่า เป็น การ โอน โดยชอบ อยู่ จึง ถือไม่ได้ว่า มี การ ผิดนัด นับแต่ วันที่ ผู้ร้อง ยื่น คำร้องขอ ให้ เพิกถอน การ โอน อัน จะ เป็นเหตุ ให้ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ต้อง รับผิด ใน เรื่อง ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ผู้ร้อง ยื่น คำร้อง ผู้ร้อง คง มีสิทธิ เรียก ดอกเบี้ย นับแต่ วันที่ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ให้ เพิกถอน การ โอน เท่านั้น ปัญหา นี้ เป็น ข้อกฎหมาย อัน เกี่ยว ด้วย ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชน ศาลฎีกายกขึ้น วินิจฉัย เอง ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบ ด้วย พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ เพิกถอน การ โอน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 97342ตำบล สีกัน (บ้านใหม่) อำเภอบางเขน (ตลาดขวัญ) กรุงเทพมหานคร พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ระหว่าง ลูกหนี้ กับ ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2โดย ให้ กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม หาก ไม่สามารถ กลับคืน สู่ ฐานะ เดิม ได้ ให้ผู้คัดค้าน ที่ 1 และ ที่ 2 ชดใช้ ราคา เป็น เงิน 540,000 บาท พร้อม ด้วยดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ ศาลชั้นต้น มี คำสั่งให้ เพิกถอน การ โอน เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ นอกจาก ที่ แก้ คงให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์

Share