คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญการตั้งตัวแทนเพื่อทำสัญญากู้แทนจึงต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา798วรรคสองจำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบว่าจำเลยลงชื่อในสัญญากู้แทน ล. เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย กู้ยืม เงิน โจทก์ จำนวน 60,000 บาท แต่ จำเลยไม่เคย ชำระ ดอกเบี้ย และ ต้นเงิน แก่ โจทก์ ขอให้ บังคับ จำเลย ใช้ เงิน จำนวน105,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ให้การ ว่า นาง เลี้ยน โสขุมา บุตรสาว จำเลย กู้ยืม เงิน โจทก์ จำนวน 60,000 บาท โดย ให้ จำเลย เป็น ผู้ทำสัญญา กู้ แทน ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ใช้ เงิน จำนวน 105,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ใน ต้นเงิน 60,000 บาท นับ ถัดจาก วันฟ้อง จน ถึง วัน ชำระหนี้ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา โดย ผู้พิพากษา ที่ ได้ นั่งพิจารณา คดี ใน ศาลชั้นต้นรับรอง ว่า มีเหตุ สมควร ที่ จะ ฎีกา ใน ข้อเท็จจริง ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า เมื่อ วันที่ 9 สิงหาคม 2526 จำเลย ลง ลายพิมพ์ นิ้วมือที่ ช่อง ผู้กู้ ใน หนังสือ สัญญากู้เงิน ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 และ ยัง ไม่มีการ ชำระ เงิน คืน ตาม สัญญากู้ ดังกล่าว แม้ จะ มี การ รับรอง ให้ ฎีกาใน ข้อเท็จจริง ก็ ต้อง พิจารณา ว่า การ นำสืบ ข้อเท็จจริง ต้องห้าม ตามกฎหมาย หรือไม่ จำเลย ฎีกา ว่า การ ที่ จำเลย นำสืบ ข้อเท็จจริง ว่าจำเลย ลง ลายพิมพ์ นิ้วมือ ใน หนังสือ สัญญากู้ แทน นาง เลี้ยน โสขุมา ซึ่ง เป็น บุตร ของ จำเลย โดย จำเลย มิใช่ ผู้กู้ ได้ หรือไม่ และ การ นำสืบของ จำเลย เป็น การ นำสืบ หักล้าง เอกสาร สัญญากู้ ทั้ง ฉบับ ไม่ใช่ เป็น การเปลี่ยนแปลง แก้ไข ข้อความ ใน เอกสาร ย่อม นำสืบ ได้ นั้น เห็นว่าการกู้ยืมเงิน กว่า ห้า สิบ บาท ขึ้น ไป ถ้า มิได้ มี หลักฐาน แห่ง การ กู้ยืมเป็น หนังสือ อย่างใด อย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อ ผู้ ยืม เป็น สำคัญจะ ฟ้องร้อง ให้ บังคับคดี ไม่ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคหนึ่ง จึง เป็น กรณี เข้า ลักษณะ ที่ กฎหมาย บังคับ ให้ต้อง มี พยานเอกสาร มา แสดง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 การ นำสืบ ว่า ยัง มี ข้อความ เพิ่มเติม ตัด ทอน หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไข ข้อความ ใน เอกสาร นั้น เป็น การ ต้องห้าม ตาม (ข) แห่ง บท กฎหมายดังกล่าว แต่ มี ข้อยกเว้น ใน วรรคท้าย ของ บท กฎหมาย นี้ ว่า ไม่ ตัด สิทธิคู่ความ ใน อัน ที่ จะ กล่าวอ้าง และ นำพยาน บุคคล มา สืบ ประกอบ ข้ออ้าง ว่าพยานเอกสาร ที่ แสดง นั้น เป็น เอกสารปลอม หรือไม่ ถูกต้อง ทั้งหมดหรือ แต่ บางส่วน หรือ สัญญา หรือ หนี้ อย่างอื่น ที่ ระบุ ไว้ ใน เอกสาร นั้นไม่สมบูรณ์ หรือ คู่ความ อีกฝ่าย หนึ่ง ตีความ หมาย ผิด จึง ต้อง พิเคราะห์ว่า ข้อต่อสู้ ของ จำเลย เข้า ข้อยกเว้น นี้ หรือไม่ ตาม ที่ จำเลย ให้การ ว่าจำเลย ลง ลายพิมพ์ นิ้วมือ ใน หนังสือ สัญญากู้ ที่ โจทก์ นำ มา ฟ้อง จริงแต่ อ้างว่า ทำแทน นาง เลี้ยน บุตร ของ จำเลย นั้น ตาม หนังสือ สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 1 ไม่ปรากฏ ข้อความ ว่า จำเลย กระทำ แทน นาง เลี้ยน เมื่อ การกู้ยืมเงิน เกินกว่า ห้า สิบ บาท เป็น กรณี ที่ ต้อง มี หลักฐานเป็น หนังสือ ดังกล่าว แล้ว การ ตั้ง ตัวแทน จึง ต้อง มี หลักฐาน เป็น หนังสือตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสอง ข้ออ้าง จำเลยที่ ว่า กระทำ แทน นาง เลี้ยน จึง ไม่อาจ นำพยาน บุคคล มา สืบ เพื่อ ให้ ศาล รับฟัง เช่นนั้น ได้ เพราะ ต้องห้าม มิให้ นำสืบ ตาม ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณา ความ แพ่ง มาตรา 94 (ข) เช่นกัน จำเลย มิได้ อ้าง ในคำให้การ ว่า เอกสาร ที่ โจทก์ นำ มา ฟ้อง นั้น เป็น เอกสารปลอม หรือไม่ถูกต้อง อย่างไร เพียงแต่ อ้างว่า จำเลย ลงลายมือชื่อ ใน สัญญากู้เนื่องจาก นาง เลี้ยน บุตร ของ จำเลย ต้องการ กู้ยืม เงิน โจทก์ แต่ โจทก์ ไม่ให้ กู้ เพราะ นาง เลี้ยน ไม่มี หลักทรัพย์ เป็น ประกัน จำเลย จึง ต้อง เป็น ผู้กู้ยืม แทน เท่านั้น มิได้ อ้างว่า หนี้ ไม่สมบูรณ์ อย่างไรเมื่อ ปรากฏว่า สัญญากู้ ตาม เอกสาร หมาย จ. 1 ระบุ ว่า จำเลย เป็น ผู้กู้จำเลย จึง ต้อง ผูกพัน ตาม สัญญากู้ นั้น จำเลย จะ หลุดพ้น จาก หนี้ ได้ก็ ต่อเมื่อ ปฏิบัติการ ชำระหนี้ โดย มี หลักฐาน เป็น หนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อ ผู้ ให้ ยืม มา แสดง หรือ เอกสาร อันเป็น หลักฐานแห่ง การ กู้ยืม นั้น ได้ เวนคืน แล้ว หรือ ได้ แทง เพิกถอน ลง ใน เอกสาร นั้นแล้ว ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ จำเลยฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share