แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
บทบัญญัติมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เป็นเพียง กำหนดให้สหภาพแรงงานดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น และไม่มีมาตรา อื่นใดบังคับว่า สหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมการทุกคน เมื่อข้อบังคับของสหภาพ แรงงานโจทก์มิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น กรณีจึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 ว่าการจะทำความตกลงต่าง ๆ ในทางอำนวยกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก ในหมู่ผู้จัดการทั้งหลายด้วยกัน
พระราชบัญญัติตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 36 ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งคนเป็นสมาชิก ดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงาน ซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมาย แรงงานแทนลูกจ้าง ผู้นั้นได้เท่านั้น ไม่หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพ แรงงานโดยเฉพาะ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 98 (2) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ ของสมาชิก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำชี้ขาดได้
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคล จดทะเบียนตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มีวัตถุประสงค์แสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง สวัสดิภาพในการทำงาน และอื่น ๆ กรรมการซึ่งมีเสียงข้างมาก มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ได้มอบอำนาจให้ ข. และ ณ. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีนี้ได้ จำเลยทั้ง ๑๑ คน เป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ เดิมสมาชิกสหภาพแรงงานโจทก์ก็ได้เข้าทำงานในโรงงานสุราบางยี่ขัน ขณะนั้น เป็นโรงงานอุตสาหกรรม สังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ต่อมาบริษัท ส. ได้เช่ากิจการโรงงานสุราบางยี่ขันจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยสัญญาเช่ามีสาระสำคัญในส่วนที่เกี่ยวกับคนงานของโรงงานสุราบางยี่ขันว่า ผู้เช่ายอมตกลงรับโอนพนักงานและคนงานซึ่งยังไม่พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ให้ทำงานกับผู้เช่าตลอดกำหนดเวลาการเช่า และผู้เช่าต้องให้พนักงานและคนงานได้รับสิทธิ ประโยชน์ เงินช่วยเหลือฯ จากผู้เช่าไม่น้อยกว่า ที่เคยได้รับอยู่จากผู้ให้เช่า ตามคำสั่งและระเบียบที่ยังใช้ปฏิบัติในวันที่ลงในสัญญาเช่า ถ้าหากหลังจากวันใช้คำสั่งและระเบียบได้มีระเบียบหรือคำสั่งของทางราชการในเรื่องเดียวกันออกใช้ใหม่ สำหรับลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจเป็นการให้ประโยชน์ดีขึ้น ผู้เช่าย่อมถือปฏิบัติตามระเบียบหรือคำสั่งของทางราชการนั้นสำหรับพนักงานและคนงานดังกล่าว ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ ให้รัฐวิสาหกิจนำเงินที่จ่ายเงินค่าครองชีพ เงินค่ายังชีพ ฯลฯ ไปบวกรวมเข้ากับเงินเดือน ค่าจ้าง ซึ่งบริษัท ส. ต้องถือปฏิบัติตาม แต่บริษัท ไม่ปฏิบัติตามสหภาพแรงงานโจทก์ไม่ยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัท ส. ให้รวมเงินค่าครองชีพ ที่บริษัทจ่ายให้ คนงานเข้าเป็นอัตราค่าจ้างและเงินเดือน บริษัท ส.ไม่ยินยอม บริษัท ส. และโจทก์ได้แจ้งให้กรมแรงงานทราบ กรมแรงงานได้ส่งเรื่องให้จำเลยในฐานะเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ชี้ขาด จำเลยชี้ขาดโดยคำสั่งชี้ขาด ที่ ๑๐๓/ ลงวันที่ ตุลาคม ว่าตามมติของคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๒๑ และหนังสือกระทรวงการคลัง ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจ เท่านั้น ไม่นำมาใช้กับบริษัท ส. ซึ่งเป็นการไม่ชอบ ขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของจำเลย
จำเลยให้การว่า ตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๑๐๐ ให้สหภาพแรงงานมีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการแทน ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก คณะกรรมการของโจทก์ มีทั้งหมด ๑๘ คน แต่กรรมการที่มอบอำนาจแทนโจทก์ในฟ้องคดีนี้มีเพียง ๑๐ คน เป็นการไม่ชอบ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องเคลือบคลุม มติของคณะรัฐมนตรี ตามฟ้องใช้บังคับเฉพาะกับลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ เท่านั้น บริษัท ส. ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ จะนำมติดังกล่าวมาใช้ไม่ได้ ค่าครองชีพที่บริษัท ส. จ่ายให้แก่พนักงานและลูกจ้างนั้น ไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ ๒ คำวินิจฉัยชี้ขาดของจำเลยถูกต้องแล้ว
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง ฟ้องไม่เคลือบคลุม บริษัท ส. ต้องถือตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ ก.ค. ๐๕๑๒/๒๘๔๙๗ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๒๑ ที่ให้นำเงินค่าครองชีพบวกรวมเป็นเงินเดือนให้แก่พนักงานและรัฐวิสาหกิจมาใช้กับพนักงานและลูกจ้างของบริษัท ส. ด้วย พิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาด ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
จำเลยอุทธรณ์
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ตาม ราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๑๐๐ เป็นเพียงข้อกำหนดให้สหภาพแรงงานซึ่งเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการต่าง ๆ โดยทางผู้แทนทั้งหลายที่เรียกว่าคณะกรรมการเท่านั้น หาได้มีมาตราอื่นใดของพระราชบัญญัติ ข้ออื่นใด ของ พระราชบัญญัติฉบับนี้บังคับว่า สหภาพแรงงานจะดำเนินกิจการใด ๆ ได้ต้องอาศัยความเห็นชอบของคณะกรรมทุกคนไม่ตลอดทั้งข้อบังคับของสหภาพแรงงานโจทก์ก็มิได้ระบุไว้ประการอื่น กรณีจึงต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๗ ที่ว่า การจะทำความตกลงต่าง ๆ ในทางอำนวยกิจการของนิติบุคคลนั้น ท่านให้เป็นไปตามเสียงข้างมากในหมู่ผู้จัดการ ทั้งหลายด้วยกัน เมื่อสหภาพแรงงานโจทก์มีกรรมการทั้งหมด ๑๘ คน ฉะนั้น กรรมการ ๑๐ คน ซึ่งเป็นเสียงข้างมากจึงมีอำนาจโดยชอบที่จะมอบหมายทั้งหมด ๑๘ คน ฉะนั้น กรรมการ ๑๐ คน ซึ่งเป็นเสียงข้างมาก จึงมีอำนาจโดยชอบที่จะมอบหมายให้ ข.และ ณ . ดำเนินการฟ้องร้องจำเลยคดีนี้ได้ และตาม พระราชบัญญัติตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๖ ให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งคนเป็นสมาชิก ดำเนินคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานแทนลูกจ้างที่จะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงาน แทนลูกจ้างผู้นั้นได้เท่านั้น หาได้หมายถึงการฟ้องคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสหภาพ แรงงานโดยเฉพาะ ไม่ สหภาพแรงงานโจทก์มีวัตถุประสงค์ว่า เพื่อแสวงหาและคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๙๘ (๒) กำหนดให้สหภาพแรงงานมีอำนาจหน้าที่จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน ฉะนั้น เมื่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ วินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของโจทก์ไปในทางเสื่อมประโยชน์ ของสมาชิก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและตามสัญญาเช่าระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับบริษัท ส. บริษัท ส. ย่อมต้องถูกผูกมัดให้ปฏิบัติตามมติของคณะรัฐมนตรีตามฟ้อง คำชี้ขาดของจำเลยในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ ที่ชี้ขาดข้อเรียกร้องข้อ ๒ของสหภาพแรงงานโจทก์ เป็นการไม่ชอบ
พิพากษายืน