แหล่งที่มา :
ย่อสั้น
++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ – ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ทป.18/2541 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้หนี้ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระงับ พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++
++ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว
++ ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประเทือง เทียนสุวรรณ ได้ทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงในกองมรดกของนายประเทือง จำนวน 484 เพลง ให้แก่โจทก์ โดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงว่า หากโจทก์ได้ขายหรือให้เช่าลิขสิทธิ์เพลงของนายประเทือง โจทก์จะแบ่งผลประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 กึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้จากการขายหรือให้เช่า ต่อมาวันที่ 27 มีนาคม 2540 จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยกล่าวหาว่าปฏิบัติผิดข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ลิขสิทธิ์ดังกล่าว ครั้นวันที่ 24 สิงหาคม2541 โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมตามคดีหมายเลขแดงที่ ทป.18/2541 ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2542 โดยกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวข้างต้น โดยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 จำเลยที่ 1มอบให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาอนุญาตให้บริษัทเวิลด์ มิวสิก เรคคอร์ดจำกัด ใช้ลิขสิทธิ์เพลงที่เคยขายให้โจทก์แล้วจำนวน 120 เพลง โดยให้มีสิทธินำทำนองเพลงไปดัดแปลงได้ไม่เกิน 4 ต้นแบบ รวมทั้งเปลี่ยนตัวนักร้อง นักดนตรีและประเภทเครื่องดนตรีได้ตามความเหมาะสมและจำเลยทั้งสองได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน 1,200,000 บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า หนี้ตามฟ้องได้ระงับโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธินำลิขสิทธิ์เพลงจำนวน 484 เพลง ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง ฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ไปโอนขายให้แก่บุคคลภายนอก แต่ให้ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอนุญาตให้แก่บุคคลอื่นนำไปทำสิ่งบันทึกเสียงทุกชนิดและแถบบันทึกภาพพร้อมเสียงทุกชนิดเป็นครั้งคราวไม่เกินครั้งละ 1 ต้นแบบ โดยผู้รับอนุญาตไม่มีสิทธิดัดแปลงหรือแก้ไขเสียงร้อง เสียงดนตรีจากต้นแบบเดิมที่ได้รับอนุญาต และตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่16 กรกฎาคม 2535 โดยให้ใช้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้แทน
++ ดังนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงและบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2535 ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นต้นไปเท่านั้น โดยมิได้เป็นการเลิกสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้ตามคำฟ้องคดีนี้ที่เกิดขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
++ กรณียังไม่มีข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จะวินิจฉัยได้ว่า หนี้ตามฟ้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์และผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ก่อนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด่วนมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ ชอบที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบต่อไป ++
++ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน 30,000 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ ++
++ พิพากษายกคำสั่งงดสืบพยานและคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน200 บาท ให้แก่โจทก์ ++
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ ๒ เป็นบุตรของจำเลยที่ ๑ กับนายประเทือง เทียนสุวรรณ นายประเทืองถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๒๘ และจำเลยที่ ๑ ได้เป็นผู้จัดการมรดกของนายประเทืองตามคำสั่งศาลแพ่ง ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นายประเทืองเป็นศิลปินและนักประพันธ์เพลงโดยใช้ชื่อในวงการบันเทิงว่า “สุชาติเทียนทอง” มีผลงานเพลงที่ประพันธ์ไว้จำนวน ๔๘๔ เพลง อันเป็นลิขสิทธิ์และเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงทายาท เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๕จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประเทืองได้นำบทประพันธ์เพลง๔๘๔ เพลง ดังกล่าวมาทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงแก่โจทก์และได้รับค่าตอบแทนไปจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ ๑ ได้โอนขายลิขสิทธิ์เพลงทั้งหมดในกองมรดกให้แก่โจทก์เป็นการเสร็จเด็ดขาดตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และให้โจทก์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ โฆษณา หรือกระทำโดยประการอื่นใดในเพลงดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของโจทก์ไม่ว่าในทางใด ๆ โดยจำเลยที่ ๑ หรือกองมรดกไม่มีสิทธินำไปใช้หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์จากลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวได้ ภายหลังจากการทำสัญญาดังกล่าวแล้วโจทก์ได้เข้าครอบครองและยึดถือเอาผลงานเพลงทั้งหมดเป็นประโยชน์ของโจทก์ในรูปแบบต่าง ๆ โดยจำเลยทั้งสองและทายาทอื่นของนายประเทืองทราบเรื่องเป็นอย่างดี และไม่มีผู้ใดคัดค้านท้วงติงแต่อย่างใดแต่ปรากฏว่าเมื่อปี ๒๕๓๗ จำเลยที่ ๑ ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ ๒จัดการเกี่ยวกับบทประพันธ์เพลงของนายประเทืองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวไปในทางการค้า และจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำละเมิดลิขสิทธิ์ต่อโจทก์เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ โดยจำเลยที่ ๑ ได้มอบให้จำเลยที่ ๒นำผลงานเพลงดังกล่าวจำนวน ๑๒๐ เพลง ไปทำสัญญาซื้อขายเนื้อร้องและทำนองเพลงให้แก่บริษัทเวิลด์มิวสิก เรคคอร์ด จำกัด โดยอนุญาตให้ผู้ซื้อมีสิทธินำผลงานเพลงดังกล่าวไปทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือผลิตเสียงร้องเสียงดนตรีลงบนโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เพื่อจัดจำหน่ายหรือหาประโยชน์ในทางการค้าได้โดยไม่จำกัดจำนวนและระยะเวลา และจำเลยทั้งสองได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทเวิลด์มิวสิก เรคคอร์ด จำกัด เป็นเงินจำนวน๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นการผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันใช้เงินจำนวน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท ที่ได้ไปโดยทุจริตให้แก่โจทก์ โจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดเมื่อวันที่ ๖กันยายน ๒๕๓๙ และแจ้งเตือนให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินจำนวน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท คืนให้แก่โจทก์ทันที และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี จากต้นเงิน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาทนับถัดจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น
จำเลยที่ ๑ ให้การว่า การที่โจทก์กับจำเลยที่ ๑ และทายาทได้ทำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงของนายประเทือง เทียนสุวรรณหรือ “สุชาติ เทียนทอง” ฉบับลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๕ มีบันทึกตกลงแบ่งผลประโยชน์กันคนละครึ่งว่า โจทก์จะนำลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวไปจัดทำเทป แผ่นซีดี เพื่อเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไป และหากโจทก์ขายลิขสิทธิ์เพลงหรือให้เช่าได้ในแต่ละครั้ง ให้นำผลประโยชน์มาแบ่งให้จำเลยที่ ๑ และทายาทครึ่งหนึ่ง โดยตกลงกันว่า หากโจทก์นำลิขสิทธิ์เพลงไปขายให้แก่ห้างใดหรือจัดให้มีการทำเทปแล้วได้เงินมา โจทก์จะแจ้งให้จำเลยที่ ๑ ทราบด้วยว่า ได้ขายต่อห้างใด ในราคาเท่าใด ทุก ๆ ครั้งตลอดไป แต่โจทก์ได้ประพฤติผิดสัญญาตามบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงฉบับดังกล่าว โดยโจทก์ได้ขายลิขสิทธิ์เพลงของ”สุชาติ เทียนทอง” ให้แก่บริษัทห้างร้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก และได้รับผลประโยชน์ประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยไม่แจ้งให้จำเลยที่ ๑ทราบ และมีส่วนที่จำเลยที่ ๑ ไม่ทราบอีกจำนวนมาก เป็นเหตุให้จำเลยที่ ๑ ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ ๑ จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงต่อโจทก์ และเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ จำเลยที่ ๑ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์เป็นจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ในข้อหาผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงฉบับดังกล่าว เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๕๓๐๖/๒๕๔๐และในระหว่างพิจารณาคดีดังกล่าวโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ ๑ เป็นจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.๗๐๔/๒๕๔๑ ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ-การค้าระหว่างประเทศกลาง ต่อมาคดีหมายเลขดำที่ ๕๓๐๖/๒๕๔๐ ของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ได้โอนมาเป็นคดีหมายเลขดำที่ ทป.๔๕/๒๕๔๑ ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลทรัพย์สิน-ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้พิพากษาตามยอมเป็นคดีหมายเลขแดงที่ ทป.๑๘/๒๕๔๑ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๑ ซึ่งจำเลยที่ ๑ ขอถือเอาเอกสารพร้อมสำนวนคดีหมายเลขแดงที่ ทป.๑๘/๒๕๔๑และสำนวนคดีหมายเลขดำที่ อ.๗๐๔/๒๕๔๑ ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำให้การจำเลยที่ ๑ จากข้อเท็จจริงและรายละเอียดทั้งหมดนี้ โจทก์ได้นำประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อนมาฟ้องเป็นคดีใหม่ อีกทั้งคู่ความในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคู่ความเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๔และ ๑๔๘ และหลังจากจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ ทป.๑๘/๒๕๔๑ ดังกล่าว เมื่อวันที่ ๒๔สิงหาคม ๒๕๔๑ แล้ว จำเลยที่ ๑ หรือตัวแทนหรือทายาทไม่เคยไปกระทำการละเมิดสิทธิของโจทก์เลย จำเลยที่ ๑ จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ ๒ ชดใช้เงินจำนวน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่โจทก์ และโจทก์ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกเงินจำนวนดังกล่าวตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ ๑ ยื่นคำร้องขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอ้างว่าคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำ เพราะจำเลยที่ ๑ คดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ ทป.๑๘/๒๕๔๑ ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน อีกทั้งคู่ความในคดีดังกล่าวกับคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันคดีดังกล่าวได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว
โจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้าน
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ทป.๑๘/๒๕๔๑ ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แต่การที่โจทก์และจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ ทำให้หนี้ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระงับ พิพากษายกฟ้อง ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยที่ ๑ โดยกำหนดค่าทนายความให้ ๒,๐๐๐ บาท
โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงในเบื้องต้นรับฟังได้ว่าเมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๕ จำเลยที่ ๑ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายประเทือง เทียนสุวรรณ ได้ทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงในกองมรดกของนายประเทือง จำนวน ๔๘๔ เพลง ให้แก่โจทก์ โดยมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงว่า หากโจทก์ได้ขายหรือให้เช่าลิขสิทธิ์เพลงของนายประเทือง โจทก์จะแบ่งผลประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ ๑ กึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้จากการขายหรือให้เช่า ต่อมาวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ จำเลยที่ ๑ ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยกล่าวหาว่าปฏิบัติผิดข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ลิขสิทธิ์ดังกล่าว ครั้นวันที่ ๒๔ สิงหาคม๒๕๔๑ โจทก์และจำเลยที่ ๑ ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมตามคดีหมายเลขแดงที่ ทป.๑๘/๒๕๔๑ ของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๒ โดยกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์และปฏิบัติผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวข้างต้น โดยเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ จำเลยที่ ๑มอบให้จำเลยที่ ๒ ทำสัญญาอนุญาตให้บริษัทเวิลด์ มิวสิก เรคคอร์ดจำกัด ใช้ลิขสิทธิ์เพลงที่เคยขายให้โจทก์แล้วจำนวน ๑๒๐ เพลง โดยให้มีสิทธินำทำนองเพลงไปดัดแปลงได้ไม่เกิน ๔ ต้นแบบ รวมทั้งเปลี่ยนตัวนักร้อง นักดนตรีและประเภทเครื่องดนตรีได้ตามความเหมาะสมและจำเลยทั้งสองได้รับค่าตอบแทนเป็นเงิน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า หนี้ตามฟ้องได้ระงับโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวหรือไม่ เห็นว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ ๑ ตกลงกันว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีสิทธินำลิขสิทธิ์เพลงจำนวน ๔๘๔ เพลง ตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง ฉบับลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๕ ไปโอนขายให้แก่บุคคลภายนอก แต่ให้ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิที่จะอนุญาตให้แก่บุคคลอื่นนำไปทำสิ่งบันทึกเสียงทุกชนิดและแถบบันทึกภาพพร้อมเสียงทุกชนิดเป็นครั้งคราวไม่เกินครั้งละ ๑ ต้นแบบ โดยผู้รับอนุญาตไม่มีสิทธิดัดแปลงหรือแก้ไขเสียงร้อง เสียงดนตรีจากต้นแบบเดิมที่ได้รับอนุญาต และตกลงยกเลิกบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๕ โดยให้ใช้บังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้แทน ดังนี้ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมีผลเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เพลงตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงและบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งผลประโยชน์ค่าลิขสิทธิ์เพลงฉบับลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๕ ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นต้นไปเท่านั้นโดยมิได้เป็นการเลิกสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้ตามคำฟ้องคดีนี้ที่เกิดขึ้นแล้วก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความกรณียังไม่มีข้อเท็จจริงและเหตุผลที่จะวินิจฉัยได้ว่า หนี้ตามฟ้องซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นหนี้ที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์และผิดสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ก่อนมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระงับไปโดยการแปลงหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญา-และการค้าระหว่างประเทศกลางด่วนมีคำสั่งงดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องเป็นการไม่ชอบ ชอบที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบต่อไป อุทธรณ์ของโจทก์ฟังขึ้น
อนึ่ง คดีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔ การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป จึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๗ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง ๒๐๐ บาท ตามตาราง ๑ ข้อ ๒ ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกิน ๒๐๐ บาท แก่โจทก์
พิพากษายกคำสั่งงดสืบพยานและคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรวมสั่งเมื่อมีคำพิพากษาใหม่ คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน๒๐๐ บาท ให้แก่โจทก์.