แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ข้อที่จำเลยให้การว่าโจทก์ได้กระทำการอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงจงใจขัดคำสั่งหัวหน้าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของโจทก์นั้นจำเลยมิได้แสดงข้อเท็จจริงให้ชัดแจ้งว่าโจทก์ได้กระทำการอย่างไรหรือขัดคำสั่งหัวหน้าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในเรื่องใดเป็นคำให้การไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177ไม่มีประเด็นที่จำเลยนำสืบส่วนคำให้การเรื่องข่มขู่อาฆาตจะทำร้ายหัวหน้าผู้ควบคุมการปฏิบัติงานของโจทก์และข่มขู่จะทำความเสียหายแก่เครื่องจักรของจำเลยมีความหมายอยู่ในตัวโจทก์ย่อมเข้าใจแม้จำเลยจะไม่ได้ให้การว่าการข่มขู่กล่าวด้วยถ้อยคำอย่างไรก็เป็นรายละเอียดซึ่งอาจนำสืบได้คำให้การของจำเลยข้อนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทสำหรับคำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่เคยให้โจทก์ทำงานเกินกว่าข้อตกลงหากทำเกินข้อตกลงจำเลยก็ได้จ่ายค่าทำงานดังกล่าวไปแล้วเป็นคำให้การที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิงจึงมีประเด็นข้อพิพาทแม้จำเลยจะมิได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งเหตุแห่งการปฏิเสธอันทำให้ไม่มีสิทธิสืบหักล้างแต่โจทก์ก็มีหน้าที่สืบให้สมฟ้องจะอ้างว่าจำเลยยอมรับตามฟ้องโดยโจทก์ไม่ต้องสืบพยานหาได้ไม่. แม้สัญญาจ้างจะกำหนดให้โจทก์ทำงานวันละ12ชั่วโมงก็ตามเป็นเพียงคู่สัญญาตกลงกำหนดจำนวนชั่วโมงในการทำงานสำหรับวันหนึ่งๆไว้เท่านั้นกำหนดเวลาดังกล่าวอาจเป็นกำหนดเวลาทำงานตามปกติของลูกจ้างทั้งหมดก็ได้หรืออาจรวมทั้งกำหนดเวลาที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติของลูกจ้างด้วยก็ได้เมื่อสัญญาจ้างข้อหนึ่งกำหนดว่าเวลาทำงานที่เกินวันละ8ชั่วโมงให้ได้รับค่าล่วงเวลาเวลาที่เกินนี้จึงเป็นการทำงานเกินกำหนดเวลาทำงานปกติค่าล่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติของวันทำงานไม่ต้องนำมารวมกับค่าจ้างพื้นฐานเพื่อคำนวณเงินประเภทต่างๆ โจทก์ข่มขู่จะก่อวินาศกรรมแก่เครื่องจักรกลของจำเลยนั้นไม่ปรากฏระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดเป็นความผิดหรือโทษไว้คงมีเฉพาะกรณีที่โจทก์ข่มขู่จะทำร้ายร่างกายผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ระบุว่า’ข่มขู่ลูกจ้างอื่น’ซึ่งกำหนดโทษลูกจ้างผู้กระทำผิดไว้หลายระดับเช่นตักเตือนลดเงินเดือนพักงานหรือไล่ออกจากงานมิได้กำหนดโทษขั้นไล่ออกจากงานไว้สถานเดียวแสดงว่าแม้ลูกจ้างกระทำผิดดังกล่าวจำเลยก็มิได้ถือเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรงอย่างเดียวจึงได้กำหนดโทษไว้หลายระดับทั้งการที่โจทก์กล่าวคำข่มขู่ดังกล่าวก็เพียงเพื่อยับยั้งมิให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานที่อื่นหามีเจตนาที่จะกระทำการตามที่ข่มขู่การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกกล่าวล่วงหน้า. ตามสัญญาจ้างซึ่งกำหนดเงินเดือนพื้นฐานเป็นรายเดือนให้แก่โจทก์ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า’เดือน’ไว้ว่าให้หมายถึงระยะเวลาซึ่งเริ่มต้นในวันแรกของเดือนใดๆในปฏิทินและสิ้นสุดในวันสุดท้ายของเดือนนั้นๆตามปฏิทินดังนั้นเงินเดือนพื้นฐานซึ่งจำเลยจะจ่ายเป็นรายเดือนเต็มจำนวนให้แก่โจทก์นั้นโจทก์ต้องเป็นลูกจ้างของจำเลยเต็มเดือนกรณีที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยไม่เต็มเดือนเงินเดือนพื้นฐานย่อมลดลงตามส่วนแม้โจทก์จะทำงาน14วันหยุด14วันและในเดือนที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโจทก์ทำงานครบ14วันแล้วก็ตามโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างพื้นฐานเต็มเดือนเพราะสัญญาจ้างมิได้กำหนดให้สิทธิแก่โจทก์เช่นนั้น.
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย จ้าง โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ประจำ ค่าจ้าง อัตราสุดท้าย เดือนละ 21,003 บาท มี ข้อตกลง ว่า จำเลย จะ ให้ โจทก์ ทำงานเพียง เดือนละ 14 วัน จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่ มี ความผิด ไม่บอกกล่าว ล่วงหน้า และ ให้ โจทก์ ทำงาน เกินกว่า ข้อตกลง เดือนละ 1วัน จำเลย จ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้าค่าทำงาน ใน วันหยุด ค่าจ้าง สำหรับ วันหยุด พักผ่อน ประจำปี ใน เดือนที่ โจทก์ ออก จาก งาน โจทก์ ทำงาน ครบ 14 วัน ตาม ข้อตกลง จึง มี สิทธิได้ รับ ค่าจ้าง เต็ม เดือน ขอ ให้ ศาล พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย เงินต่างๆ ดังกล่าว พร้อม ดอกเบี้ย กับ ออก หนังสือ รับรอง การ ทำงาน ให้โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า โจทก์ ได้ รับ ค่าจ้าง อัตรา สุดท้าย เดือนละ 12,130บาท ส่วน เงิน นอกนั้น เป็น ค่า ล่วงเวลา และ ค่า ทำงาน ใน วันหยุดซึ่ง จะ นำ มา รวม เป็น ฐาน คำนวณ เงิน ประเภท ต่างๆ ไม่ ได้สาเหตุ ที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ ได้ กระทำ การ อันไม่ เหมาะสม แก่ การ ปฏิบัติ หน้าที่ ของ ตน โดยกระทำ ไม่ ถูกต้อง และ ไม่ สุจริต ฝ่าฝืน ระเบียบ เกี่ยวกับการ ทำงาน ของ จำเลย เป็น กรณี ร้ายแรง โจทก์ จงใจ ขัด คำสั่ง หัวหน้าผู้ ควบคุม การ ปฏิบัติ งาน ของ โจทก์ ข่มขู่ อาฆาต จะ ทำร้าย ร่างกายบุคคล ดังกล่าว ข่มขู่ จะ ทำ ความ เสียหาย แก่ เครื่องจักร ของ จำเลยจึง ไม่ ต้อง จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้าจำเลย ไม่ เคย ให้ โจทก์ ทำงาน เกิน จำนวน วัน ทำงาน ตาม ข้อตกลงหาก โจทก์ ได้ ทำงาน เกินกว่า ข้อตกลง จำเลย ก็ จ่าย ค่า ทำงาน ไป วันนั้น ซึ่ง มี อัตรา สูงกว่า ที่ กฎหมาย กำหนด ให้ แล้ว ค่าจ้าง ประจำเดือน ที่ โจทก์ ออก จาก งาน โจทก์ มี สิทธิ์ คิด ได้ ถึง วัน เลิกจ้างเท่านั้น
ศาลแรงงานกลาง พิพากษา ให้ จำเลย จ่าย ค่าจ้าง ที่ ค้าง ถึง วันที่โจทก์ ถูก เลิกจ้าง ใน อัตรา ค่าจ้าง พื้นฐาน เดือนละ 12,130 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี กับ ให้ ออก หนังสือ รับรอง การ ทำงานคำขอ อื่น ให้ ยก
โจทก์ อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนกคดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า ที่ จำเลย ให้การ ต่อสู้ ว่า การที่ จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะ โจทก์ ได้ กระทำ การ อัน ไม่ เหมาะสมแก่ การ ปฏิบัติ หน้าที่ ของ ตน โดย กระทำ ไม่ ถูกต้อง และ ไม่ สุจริตฝ่าฝืน ระเบียบ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย เป็น กรณี ร้ายแรงโจทก์ จงใจ ขัด คำสั่ง หัวหน้า ผู้ ควบคุม การ ปฏิบัติ งาน ของ โจทก์นั้น จำเลย มิได้ แสดง ข้อเท็จจริง ให้ ชัดแจ้ง ว่า โจทก์ ได้ กระทำ การอย่างไร หรือ ขัด คำสั่ง หัวหน้า ผู้ ควบคุม การ ปฏิบัติ งาน ใน เรื่องใด ซึ่ง เป็น ความผิด ตาม ข้อ กล่าวหา โจทก์ ย่อม ไม่ สามารถ ทราบ ได้ว่า ได้ กระทำการ อะไรบ้าง ซึ่ง เป็น ความผิด ตาม ข้อ กล่าวหา จำเลยจะ อ้าง แต่ ฐาน ความผิด ใน คำให้การ หา ได้ ไม่ คำให้การ ของ จำเลยไม่ ชอบ ด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 จึง ไม่ มีประเด็น ซึ่ง จำเลย จะ นำสืบ ส่วน คำให้การ ที่ ว่า โจทก์ ข่มขู่ ว่าอาฆาต จะ ทำร้าย ร่างกาย หัวหน้า ผู้ ควบคุม การ ปฏิบัติงาน ของ โจทก์และ ข่มขู่ จะ ทำ ความ เสียหาย แก่ เครื่องจักร ของ จำเลย เป็นข้อเท็จจริง ที่ มี ความหมาย อยู่ ใน ตัว การ ข่มขู่ ด้วย ถ้อยคำอย่างไร เป็น รายละเอียด ซึ่ง อาจ นำสืบ ได้ คำให้การ ดังกล่าว เป็นประเด็น ข้อพิพาท ส่วน ที่ จำเลย ให้การ ต่อสู้ ใน ประเด็น ว่า จำเลยค้าง ค่าจ้าง โจทก์ ไม่ เพียงใด นั้น ว่า จำเลย ไม่ เคย ให้ โจทก์ ทำงาน เกินกว่า ข้อตกลง หาก โจทก์ ได้ ทำ งาน เกินกว่า ข้อตกลง จำเลย ก็ได้ จ่าย ค่า ทำ งาน ใน วัน นั้น ซึ่ง มี อัตรา สูงกว่า ที่ กฎหมายกำหนด ให้ แก่ โจทก์ แล้ว คำให้การ ของ จำเลย เป็น การ ปฏิเสธ ฟ้องโจทก์ โดย สิ้นเชิง แม้ จำเลย จะ มิได้ แสดง โดย ชัดแจ้ง ถึง เหตุแห่ง การ ปฏิเสธ ทำ ให้ ไม่ มี สิทธิ นำสืบ หักล้าง แต่ โจทก์ ก็ มีหน้าที่ นำสืบ ให้ สม ฟ้อง จะ อ้าง ว่า จำเลย ยอมรับ ตาม ฟ้อง โดยโจทก์ ไม่ ต้อง นำสืบ พยาน หา ได้ ไม่
แม้ ตาม สัญญา จ้าง จะ กำหนด ให้ โจทก์ ทำงาน วันละ 12 ชั่วโมง ก็ ตามเป็น เพียง คู่สัญญา ตกลง กำหนด จำนวน ชั่วโมง ใน การ ทำงาน สำหรับวัน หนึ่งๆ ไว้ เท่านั้น ซึ่ง อาจ เป็น กำหนด เวลา ทำงาน ตาม ปกติทั้งหมด หรือ อาจ รวมทั้ง กำหนด เวลา ที่ นายจ้าง จะ ให้ ลูกจ้าง ทำ งานเกิน กำหนด เวลา ทำ งาน ปกติ ด้วย ก็ ได้ ทั้งนี้ สุดแล้วแต่ สัญญา จ้างหรือ ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน จะ กำหนด ไว้ จะ ถือ ว่าเมื่อ กำหนด ระยะ เวลา ทำงาน ใน วัน หนึ่งๆ แล้ว ระยะ เวลา ดังกล่าวต้อง เป็น กำหนด เวลา ทำงาน ปกติ ของ ลูกจ้าง ทั้งหมด หา ได้ ไม่ ตามสัญญา จ้าง ยัง ได้ กำหนด จำนวน เงินเดือน พื้นฐาน โดย ระบุ ว่า คำนวณมา จาก จำนวน ชั่วโมง ทำ งาน ปกติ 176 ชั่วโมง ต่อ เดือน และ กำหนด ว่าเวลา ทำงาน ที่ เกิน วันละ 8 ชั่วโมง ให้ ได้ รับ ค่าจ้าง เป็น ค่าล่วงเวลา และ ค่า ล่วงเวลา พิเศษ ซึ่ง กำหนด ไว้ สูงกว่า อัตรา ค่าจ้างปกติ แสดงว่า โจทก์ กับ จำเลย ได้ ตกลง ให้ ถือ เอา เวลา ทำงาน เดือนละ176 ชั่วโมง เป็น เวลา ทำงาน ปกติ ซึ่ง เมื่อ เฉลี่ย เป็น รายวัน แล้วไม่เกิน วันละ 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ ตาม สัญญา จ้าง ได้ ตั้ง เงื่อนไข ในการ จ่าย ค่า ล่วงเวลา พิเศษ ไว้ ด้วย ว่า กรณี ที่ โจทก์ ไม่ สามารถหรือ ปฏิเสธ โดย ไม่ มี เหตุ อัน สมควร ที่ จะ ทำงาน อย่างต่ำ วันละ 12 ชั่วโมง โจทก์ ไม่ มี สิทธิ ได้ รับ ค่า ล่วงเวลา พิเศษ ดังนั้น ค่าล่วงเวลา พิเศษ โจทก์ จะ มี สิทธิ ได้ รับ ต่อเมื่อ ได้ ทำ งาน ใน แต่ละวัน ครบ จำนวน ชั่วโมง ตาม ที่ กำหนด มิใช่ จะ ได้ รับ ทุก กรณี เสมอไปค่า ล่วงเวลา จึง เป็น เงิน ที่ นายจ้าง จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้าง เป็น การตอบแทน การ ทำงาน นอก เวลา ทำงาน ปกติ ของ วัน ทำ งาน ไม่ ต้อง นำ มารวมกับ ค่าจ้าง พื้นฐาน เพื่อ คำนวณ เงิน ประเภท ต่างๆ
การ ที่ ศาลแรงงานกลาง ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย เลิกจ้าง โจทก์ เพราะโจทก์ ขัด คำสั่ง ของ จำเลย กรณี ที่ สั่ง ให้ โจทก์ ไป ทำงาน ที่ เรือเมอรานติ โจทก์ ข่มขู่ จะ ทำร้าย ร่างกาย ผู้บังคับบัญชา ซึ่ง เป็นลูกจ้าง ของ จำเลย และ ข่มขู่ จะ ก่อ วินาศกรรม แก่ เครื่องจักรกล ของจำเลย แต่ เมื่อ ได้ วินิจฉัย แล้ว ว่า คำให้การ ของ จำเลย ที่ อ้าง ว่าโจทก์ จงใจ ขัด คำสั่ง หัวหน้า ผู้ ควบคุม การ ปฏิบัติ งาน นั้น ไม่เป็น ประเด็น ข้อพิพาท และ จำเลย ไม่ มี สิทธิ นำสืบ ข้อเท็จจริง ว่าโจทก์ ขัด คำสั่ง ของ จำเลย กรณี ที่ สั่ง ให้ โจทก์ ไป ทำงาน ที่เรือ เมอรานติ จึง เป็น ข้อเท็จจริง นอก ประเด็น จำเลย จะ ยก เหตุเลิกจ้าง ข้อ นี้ ใช้ ยัน โจทก์ หา ได้ ไม่ ส่วน ข้อเท็จจริง ซึ่งได้ ความ ว่า โจทก์ ข่มขู่ จะ ก่อ วินาศกรรม แก่ เครื่องจักรกล ของจำเลย นั้น ตาม ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย ไม่ได้ กำหนด เป็น ความผิด หรือ กำหนด โทษ ไว้ คง มี กำหนด เฉพาะ กรณี ที่โจทก์ ข่มขู่ จะ ทำร้าย ร่างกาย ผู้บังคับบัญชา ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของจำเลย ที่ ระบุ ว่า ‘ข่มขู่ลูกจ้าง อื่น’ แต่ ตาม ระเบียบ ข้อบังคับดังกล่าว ได้ กำหนด โทษ ลูกจ้าง ผู้ กระทำ ผิด ดังกล่าว ไว้ หลาย ระดับเช่น ตักเตือน ลดเงินเดือน พักงาน หรือ ไล่ออก จาก งาน มิได้ กำหนด โทษขั้น ไล่ ออก จาก งาน สถาน เดียว แสดง ว่า แม้ ลูกจ้าง กระทำ ผิดดังกล่าว จำเลย มิได้ ถือ เป็น ความผิด กรณี ที่ ร้ายแรง อย่าง เดียวจึง ได้ กำหนด โทษ ไว้ หลาย ระดับ การ กระทำ ของ โจทก์ จึง ไม่ เป็น การฝ่าฝืน ต่อ ระเบียบ ข้อบังคับ เกี่ยวกับ การ ทำงาน ของ จำเลย เป็น กรณีที่ ร้ายแรง ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(3) และ กรณี ไม่ ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ซึ่ง จำเลย จะ มี สิทธิเลิกจ้าง โจทก์ โดย ไม่ ต้อง บอกกล่าว ล่วงหน้า จำเลย ต้อง จ่ายค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า
ปัญหา ว่า โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับ ค่าจ้าง ประจำ เดือน มิถุนายน 2527เต็ม เดือน หรือไม่ นั้น เมื่อ สัญญา จ้าง ซึ่ง กำหนด เงินเดือน พื้นฐานเป็น รายเดือน ได้ จำกัด ความ ของ คำว่า เดือน ไว้ ว่า หมายถึง ระยะเวลา ซึ่ง เริ่มต้น ใน วันแรก ของ เดือน ใดๆ ใน ปฏิทิน และ สิ้นสุด ในวัน สุดท้าย ของ เดือน นั้นๆ ตาม ปฏิทิน เงินเดือน พื้นฐาน ซึ่ง จำเลยจะ จ่าย เป็น รายเดือน เต็ม จำนวน ให้ แก่ โจทก์ นั้น โจทก์ ต้อง เป็นลูกจ้าง ของ จำเลย เต็ม เดือน กรณี ที่ โจทก์ เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลยไม่ เต็ม เดือน เงินเดือน พื้นฐาน ย่อม ลด ลง ตาม ส่วน การ ที่ โจทก์ทำงาน ครบ 14 วัน ตาม ข้อตกลง ไม่ ก่อ ให้ โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับค่าจ้าง พื้นฐาน เต็ม เดือน เพราะ สัญญา จ้าง มิได้ กำหนด ให้ สิทธิแก่ โจทก์ เช่นนั้น
ข้อ ที่ โจทก์ อุทธรณ์ ว่า เมื่อ โจทก์ ทำงาน ครบ 14 วัน ตาม ข้อตกลงแล้ว โจทก์ ต้อง เสีย เวลา รอคอย เฮลิคอปเตอร์ ซึ่ง ต้อง ถือ ว่า ระยะเวลา ที่ รอคอย ดังกล่าว เป็น ส่วนหนึ่ง ของ เวลา ทำงาน นั้น เมื่อปรากฏ ว่า โจทก์ ฟ้อง กล่าวหา ว่า จำเลย จัด ให้ โจทก์ ทำงาน เดือนละ15 วัน ซึ่ง เกินกว่า ข้อตกลง เดือนละ 1 วัน ขอ เรียก ค่าจ้าง สำหรับจำนวน วัน ที่ ทำงาน เกิน โจทก์ มิได้ ฟ้อง กล่าวหา ว่า จำเลย ให้ โจทก์ทำงาน ใน แต่ ละ วัน เกิน กำหนด เวลา ทำงาน ปกติ ของ วัน ทำงาน แต่อย่างใด อุทธณณ์ ของ โจทก์ เป็น การ กล่าวอ้าง ข้อเท็จจริง นอก ฟ้องถือ ว่า เป็น ข้อ ที่ มิได้ ยก ขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลแรงงานกลาง
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย จ่าย ค่าชดเชย และ สินจ้าง แทน การบอกกล่าว ล่วงหน้า พร้อม ดอกเบี้ย