คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2543

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตร ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++ พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความทั้งสองฝ่ายมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า
++ โจทก์เป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำ คือ เครื่องหมายการค้า++++++++++++ มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวงไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง ปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่มรวม 3 แห่ง สลับกับพื้นเรียบตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++++ ++++++++ +++++++++
+++++++++ ++++++++ +++++++++
++
++ จำเลยเป็นเจ้าของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถมีลักษณะเป็นปลอกหุ้มทรงกลม ไส้กลางกลวง มีปุ่มนูนขอบเฉียงเป็นกลุ่มรวม 3 กลุ่ม ระยะห่างเท่า ๆ กัน ส่วนที่เหลือเป็นพื้นเรียบเจาะรูเป็นจุดขาว ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” เอกสารหมาย ล.4 โดยจำเลยได้นำแบบปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังกล่าวไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 เป็นคำขอเลขที่ 019798 โดยมีข้อถือสิทธิในลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปต่อไปนี้
+++++++ ++++++++++++ ++++++++++
++ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาอนุมัติคำขอของจำเลยเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2538เป็นทะเบียนเลขที่ 4956
++ ต่อมาจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่า บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” ของจำเลย และเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน2540 จำเลยนำร้อยตำรวจโทอภิชาติ อภิชานนท์ ไปตรวจค้นบ้านเลขที่26/82-83 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ได้ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ผลิตจำนวน 3,184 เส้นพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการ โจทก์ และนางอุษา อัศวพิภพหรือลิขิตรัตนดารา ว่าร่วมกันขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรโดยไม่รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร ในที่สุดพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วตามหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องเอกสารหมาย จ.39
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนั้น ได้มีการเปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ที่เปิดเผยดังกล่าวมีลักษณะอย่างไร ทำให้จำเลยไม่สามารถเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่โจทก์อ้างได้ เพราะการพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ต้องเกิดจากการเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรนั้นกับแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้ว
++ เห็นว่า ในข้อนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีดำ มีปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง พื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบมีจุดขาวทั่วไป ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เปิดเผยอยู่แล้วในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรและจำเลยได้ลอกเลียนซึ่งลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์นั้นในส่วนที่เป็นสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบดังกล่าวมาขอรับสิทธิบัตร แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สิทธิบัตรของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์แต่ถูกจำเลยกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์เป็นสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์อันไม่สมบูรณ์ของจำเลย ขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลย
++ ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยแล้วมีสีและลักษณะอย่างไร แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดแล้วว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีและลักษณะอย่างไร คำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงให้พอเข้าใจได้แล้วว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วมีลักษณะอย่างไร ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ต่อไปว่า คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีมูลความจริง แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่มีปรากฏอยู่ก่อนแล้ว แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์จึงสามารถให้การต่อสู้คดีได้เช่นนั้น
++ ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้เปิดแผยแล้วได้เปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใดนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
++ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 และ 30 แล้ว ++
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่ 2 ว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” เลขที่ 4956 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
++ จำเลยอุทธรณ์ว่า การพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนหรือไม่ ชอบที่จะพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งรวมถึงรายละเอียดของแบบผลิตภัณฑ์ที่นำมาเปรียบเทียบกัน มิใช่พิจารณาแต่เพียงโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์ดังนั้น ลำพังแต่ข้อเท็จจริงว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4มีโครงสร้างหลักคือการนำปุ่มยางมาใช้รวม 3 แห่ง วางสลับกับส่วนที่เป็นพื้นเรียบ ย่อมไม่เพียงพอที่จะให้รับฟังว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.4 ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกันหรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นการเลียนแบบภาพสินค้าเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ที่ให้พิจารณาความใหม่ของแบบผลิตภัณฑ์จากความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้น แต่มิใช่พิจารณาความใหม่เฉพาะจากสิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น การพิจารณารายละเอียดหรือภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาความใหม่ของผลิตภัณฑ์ เพราะภาพรวมหรือรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างเพียงพอของแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งจะเป็นเครื่องชี้สำคัญที่ทำให้แบบผลิตภัณฑ์นั้นแตกต่างกัน หรือเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่สะดุดตาน่าสนใจกว่ากัน อันส่งผลต่อผู้บริโภคสินค้าภายใต้แบบผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และเป็นสิ่งที่กฎหมายคุ้มครอง
++ เห็นว่า ปัญหานี้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 56 หรือ 57 บัญญัติให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ กล่าวคือ
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรหรือที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรหรือที่เคยมีประกาศโฆษณาดังกล่าวก่อนวันขอรับสิทธิบัตร
และมาตรา 59 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้บัญญัติให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องระบุข้อถือสิทธิโดยชัดแจ้งและภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรด้วย
++ ดังนี้การพิจารณาว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่จึงต้องพิจารณาจากข้อถือสิทธิในการออกแบบผลิตภัณฑ์และภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรขอถือสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในส่วนใดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในและนอกราชอาณาจักร และแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 28 มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรว่าข้อถือสิทธิตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เหมือนหรือคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ตามคำขอรับสิทธิบัตรทั้งหมดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วดังกล่าวไม่
++ คำว่า “แบบผลิตภัณฑ์”ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายความว่ารูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นการให้ความคุ้มครองแก่ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์อันได้แก่ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ลักษณะลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษตามที่ปรากฏ
++ ในข้อถือสิทธิโจทก์นำสืบว่า ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” เลขที่ 4956 ของจำเลยซึ่งจำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 คือลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปดังต่อไปนี้
+++++++++ ++++++++++ +++++++++
++
ส่วนแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว ปรากฏตามภาพโฆษณาสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ในนิตยสาร “Hardwares” ประจำเดือนพฤศจิกายน 2534 เดือนเมษายน2535 เดือนกรกฎาคม 2535 เดือนตุลาคม 2535 และเดือนพฤศจิกายน2535 จำนวน 5 เล่ม เอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.11 คือภาพ
+++++ +++++ +++++ +++++ +++++ +++++
++ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วดังกล่าว จะเห็นได้ว่า
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยอยู่ที่ปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่ง มีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากัน โดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำ
ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบสีเขียวมีจุดขาวหลายจุด
ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิดังกล่าวเหมือนกับปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม 3 แห่งมีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากันโดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำตามภาพแบบผลิตภัณฑ์ในนิตยสาร”Hardwares” ที่เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าลักษณะปุ่มนูนดังกล่าวเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะพิเศษอันเป็นสาระสำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามเอกสารหมาย จ.7ถึง จ.11 เช่นกัน
ลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามข้อถือสิทธิของจำเลยต่างกับลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามภาพในเอกสารหมายจ.7 ถึง จ.11 เฉพาะในส่วนที่เป็นพื้นเรียบนอกจากปุ่มนูนโดยมีสีต่างกันและบางแบบผลิตภัณฑ์ไม่มีจุดสีขาวอย่างแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยเท่านั้น
การออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” ตามข้อถือสิทธิของจำเลยจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่
เพราะแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับสิทธิบัตรจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” เลขที่ 4956ของจำเลยย่อมเป็นสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่า “การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม” และถือว่าเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคหนึ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า ++++++++++มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวง ไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง มีปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่ม 3 แห่งสลับกับพื้นเรียบ ตามภาพถ่ายหมาย จ.3 คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++ ++++++++ +++++++++
++++++++ ++++++++ +++++++++
+ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่ 4956 ของจำเลยจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องต่อศาลให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 64 วรรคสอง
++ ส่วนที่จำเลยอ้างว่า แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วนั้น
เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยอ้างและแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบโดยบังเอิญ จำเลยก็ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” ของจำเลยได้
เพราะการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ดังได้วินิจฉัยแล้ว
ดังนี้ เมื่อสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยตามสิทธิบัตรนั้งจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จำเลยย่อมไม่อาจเรียกให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์แก่จำเลยโดยอ้างว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยได้ ++
++ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” เลขที่ 4956ของจำเลยไม่สมบูรณ์ พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว นั้นชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ. ++

ย่อยาว

เดิมคดีนี้โจทก์ฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรี ต่อมาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับโอนคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตามที่คู่ความทุกฝ่ายตกลงกันร้องขอ ตามมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๖ จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” ประเภทผลิตภัณฑ์ที่ ๑๒-๑๖ ชิ้นส่วนอย่างอื่น อุปกรณ์และส่วนอุปกรณ์ของยานพาหนะที่ไม่ได้ระบุไว้ในที่อื่น ๆ ตามคำขอเลขที่ ๐๑๙๗๙๘ โดยมีข้อถือสิทธิอันได้แก่ลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถปรากฏตามรูปดังต่อไปนี้
++++++++++++++ ++++++++++++++++ ++++++++++
++และได้รับอนุมัติคำขอรับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ ๗ธันวาคม ๒๕๓๘ ตามทะเบียนเลขที่ ๔๙๕๖ แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยดังกล่าวมีสีดำ มีปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม ๓ แห่ง พื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบมีจุดขาวทั่วไป ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตร และจำเลยได้ลอกเลียนซึ่งลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์นั้นในส่วนที่เป็นสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบดังกล่าวมาขอรับสิทธิบัตร แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สิทธิบัตรของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์และไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับตกแต่งรถยนต์ผลิตและจำหน่ายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้า”คนนั่งเบาะ สปอร์ตวิว” (ที่ถูกเป็น “รูปคนนั่งเบาะ สปอร์ตวิว”) คือเครื่องหมายการค้า +++++++++++ มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ จำเลยซึ่งทราบถึงความไม่สมบูรณ์ของสิทธิบัตรดังกล่าว แต่กลับกลั่นแกล้งโจทก์ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าโดยจำเลยอ้างสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลยเพื่อข่มขู่ร้านค้าทั่วไปมิให้สั่งซื้อสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์จากบุคคลอื่นนอกจากจำเลย และได้มีหนังสือข่มขู่ไปยังร้านค้าซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์และสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์โดยกล่าวหาว่าร้านค้าซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ได้ครอบครองและจำหน่ายสินค้าที่ลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลย และห้ามร้านค้านั้นขาย มีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าของโจทก์ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน๒๕๔๐ จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจมาทำการตรวจค้นร้านค้าของโจทก์และทำการยึดสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์ไปโดยกล่าวหาว่าเป็นสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์”ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” อันไม่สมบูรณ์ของจำเลย ขอให้พิพากษาเพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” ของจำเลยตามคำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ ๐๑๙๗๙๘ ทะเบียนเลขที่ ๔๙๕๖ และขอให้พิพากษาห้ามมิให้จำเลยใช้หรือแอบอ้างสิทธิบัตรเลขที่ ๔๙๕๖ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศโฆษณา เผยแพร่หรือกระทำการใด ๆ เพื่อให้สาธารณชนหลงผิดว่าจำเลยยังคงได้รับสิทธิบัตรดังกล่าว กับขอให้จำเลยประกาศโฆษณาคำพิพากษาเพิกถอนสิทธิบัตรเลขที่ ๔๙๕๖ ในหนังสือพิมพ์ที่วางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักรไทยไม่น้อยกว่า ๗ ฉบับ มีกำหนดไม่น้อยกว่า ๗ วันหากจำเลยไม่ปฏิบัติ ให้โจทก์เป็นผู้ประกาศด้วยทุนทรัพย์ของจำเลยแทน
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยเป็นเจ้าของสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เลขที่ ๔๙๕๖ ผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยได้ผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วว่าเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายให้ชัดเจนว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์นั้น ได้มีการเปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ที่เปิดเผยมีลักษณะอย่างไร ทำให้จำเลยไม่สามารถเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่โจทก์อ้างถึงว่าได้มีการเปิดเผยอยู่ก่อนแล้วได้และไม่สามารถให้การต่อสู้ในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้ลอกเลียน ซึ่งลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยอยู่ก่อนแล้วในสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบได้ อย่างไรก็ดี คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีมูลความจริงแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุลออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่มีปรากฏอยู่ก่อนแล้ว จำเลยเป็นเจ้าของสิทธิบัตร จึงมีสิทธิที่จะห้ามมิให้บุคคลอื่นกระทำการละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย จำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์แต่โจทก์ละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยโดยผลิตสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามสิทธิบัตรของจำเลยออกจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ทำให้จำเลยขาดประโยชน์ที่พึงได้จากการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรของจำเลยจึงขอคิดค่าเสียหายจากกำไรที่โจทก์ได้รับ แต่ละเดือนโจทก์จำหน่ายสินค้าได้ไม่น้อยกว่าจำนวน ๓,๕๐๐ ชิ้น กำไรชิ้นละไม่น้อยกว่าจำนวน ๓๐ บาทรวมเป็นกำไรจำนวนเดือนละ ๑๐๕,๐๐๐ บาท เมื่อคิดตั้งแต่เดือนมีนาคม๒๕๔๐ จนถึงปัจจุบันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ๑,๐๕๐,๐๐๐ บาท ขอให้ยกฟ้องและขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์จากการกระทำละเมิดของโจทก์เป็นเงินจำนวน ๑,๐๕๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของจำนวนเงินดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ และขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์จำนวนเดือนละ ๑๐๕,๐๐๐ บาท นับแต่วันถัดจากฟ้องจนกว่าโจทก์จะยุติการผลิตจำหน่าย และเสนอจำหน่ายสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถที่ใช้สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลย กับห้ามมิให้โจทก์ผลิตและหรือจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ที่ใช้แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเลขที่๔๙๕๖ ของจำเลย และห้ามมิให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องไม่ว่าทางใด ๆกับสิทธิบัตรดังกล่าว
โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลย
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” ของจำเลยตามคำขอเลขที่ ๐๑๙๗๙๘ ทะเบียนสิทธิบัตรเลขที่๔๙๕๖ ให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยและยกคำขออื่นของโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองฝ่ายให้เป็นพับ
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า โจทก์ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายเครื่องประดับตกแต่งรถยนต์สินค้าของโจทก์รวมถึงผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์คดีนี้ด้วย ซึ่งโจทก์ผลิตและจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำคือเครื่องหมายการค้า ++++++++++มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวง ไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง ปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่มรวม ๓ แห่งโดยพื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นหนัง พี.วี.ซี. มีหลายสีหลายลวดลายตามภาพถ่ายหมาย จ.๓ คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++ ++++++++++++++ ++++++++++
+++++++ +++++++++++++ ++++++++++
++โจทก์เริ่มผลิตและจำหน่ายสินค้านี้ตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบันโดยมีการพัฒนารูปแบบเรื่อยมา ปุ่มนูนมีวัตถุประสงค์เพื่อนวดมือที่จับพวงมาลัยรถยนต์ นายยิทจอง ชาน ชาวไต้หวัน ประดิษฐ์และขอจดทะเบียนสิทธิบัตรไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๔ และวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๗ ตามสำเนาสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาเลขที่ ๕,๑๓๙,๐๑๔ และเลขที่ ๕,๓๙๓,๒๙๘พร้อมคำแปลเอกสารหมาย จ.๕ และ จ.๖ นอกจากนี้แบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถที่มีลักษณะเป็นปุ่มนูน ๓ แห่ง สลับกับพื้นเรียบ ๓ แห่งห่างเท่า ๆ กันได้มีการจำหน่ายเรื่อยมา และผู้ผลิตได้โฆษณาเผยแพร่ภาพสาระสำคัญหรือรายละเอียดของแบบผลิตภัณฑ์ต่อสาธารณชนทั้งภายในและนอกประเทศไทย ตามภาพโฆษณาสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ในนิตยสาร “Hardwares” ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๔ เดือนเมษายน๒๕๓๕ เดือนกรกฎาคม ๒๕๓๕ เดือนตุลาคม ๒๕๓๕ และเดือนพฤศจิกายน๒๕๓๕ จำนวน ๕ เล่ม ตามเอกสารหมาย จ.๗ ถึง จ.๑๑ คือภาพ
++++++ +++++++ ++++++ ++++++ ++++++
++ตามลำดับ แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเลขที่ ๔๙๕๖ ของจำเลยลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ตามเอกสารหมาย จ.๗ ถึง จ.๑๑ จึงไม่อาจถือว่าเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์
จำเลยนำสืบว่า แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเลขที่ ๔๙๕๖เป็นแบบที่ออกโดยนายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล โดยมีแนวคิดจากยางแผ่นซึ่งมีปุ่มนูน จึงนำปุ่มยางมาวางไว้บนปลอกหุ้มพวงมาลัยรถรวม ๓ แห่ง สลับกับแผ่นเรียบซึ่งเป็นหนังและมีรอยจุดโปร่งบนพื้นเรียบ ปุ่มทำขึ้นเพื่อให้สะดุดตาหลังจากจำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรแล้ว กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะตรวจสอบเบื้องต้น หากเห็นว่าคำขอถูกต้องและสามารถขอรับสิทธิบัตรตามกฎหมายได้จึงจะประกาศโฆษณาในหนังสือประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งเห็นว่าตนมีสิทธิรับสิทธิบัตรดีกว่าหรือเห็นว่าสิทธิบัตรนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายมาคัดค้านภายใน ๑๘๐ วัน (ที่ถูกเป็นภายใน ๙๐ วัน)นับแต่วันประกาศโฆษณา หากไม่มีผู้ใดคัดค้าน เจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะทำการตรวจสอบแบบผลิตภัณฑ์เรื่องความใหม่โดยการเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีใช้แพร่หลายอยู่ก่อนวันยื่นขอรับสิทธิบัตรว่ามีความเหมือนหรือคล้ายกันจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่แพร่หลายอยู่ก่อนหรือไม่ หากไม่มีและไม่มีเหตุต้องห้ามตามกฎหมายอื่น ก็จะเสนอขออนุมัติจดทะเบียนสิทธิบัตร จำเลยมอบอำนาจให้สำนักงานกฎหมายดำเนิน สมเกียรติ และบุญมาเป็นผู้ขอรับสิทธิบัตรรวม๖ แบบ ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ”เลขที่ ๐๑๙๗๙๘, ๐๑๙๗๙๕, ๐๑๙๗๙๗, ๐๑๙๗๙๙, ๐๑๙๘๐๐ และ ๐๑๙๘๐๑เอกสารหมาย ล.๔ และ ล.๑๐ ถึง ล.๑๔ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ โดยคำขอรับสิทธิบัตรเลขที่ ๐๑๙๗๙๘ เอกสารหมาย ล.๔ ระบุข้อถือสิทธิในคำขอรับสิทธิบัตรว่าขอถือสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งได้แก่ลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามที่ปรากฏในรูปแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในเอกสารดังกล่าวคือรูปดังต่อไปนี้
++++++++ +++++++ +++++++
++จำเลยได้ผลิตสินค้าตามคำขอรับสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.๔ ออกจำหน่ายตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ จำเลยพบว่าโจทก์ผลิตสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรของจำเลยเมื่อปี ๒๕๓๙ สินค้าที่ละเมิดปรากฏตามปลอกหุ้มพวงมาลัยรถวัตถุพยานหมายล.๑ ก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตร ไม่มีผู้ใดผลิตสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถซึ่งมีปุ่มนูนและพื้นเรียบ ๓ ตำแหน่ง บนวงยางเหมือนสินค้าของจำเลย
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่คู่ความทั้งสองฝ่ายมิได้โต้แย้งกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้าเป็นรูปและคำคือเครื่องหมายการค้า++++++++++++ มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวงไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง ปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่มรวม ๓ แห่ง สลับกับพื้นเรียบตามภาพถ่ายหมาย จ.๓ คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++++ ++++++++ +++++++++
+++++++++ ++++++++ +++++++++
++จำเลยเป็นเจ้าของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถมีลักษณะเป็นปลอกหุ้มทรงกลม ไส้กลางกลวง มีปุ่มนูนขอบเฉียงเป็นกลุ่มรวม ๓ กลุ่ม ระยะห่างเท่า ๆ กัน ส่วนที่เหลือเป็นพื้นเรียบเจาะรูเป็นจุดขาว ตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” เอกสารหมาย ล.๔ โดยจำเลยได้นำแบบปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังกล่าวไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์เมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๖ เป็นคำขอเลขที่ ๐๑๙๗๙๘ โดยมีข้อถือสิทธิในลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปต่อไปนี้
+++++++ ++++++++++++ ++++++++++
++ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาอนุมัติคำขอของจำเลยเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๘เป็นทะเบียนเลขที่ ๔๙๕๖ ต่อมาจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่า บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ละเมิดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” ของจำเลย และเมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน๒๕๔๐ จำเลยนำร้อยตำรวจโทอภิชาติ อภิชานนท์ ไปตรวจค้นบ้านเลขที่๒๖/๘๒-๘๓ ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ได้ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ผลิตจำนวน ๓,๑๘๔ เส้นพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่บริษัทอินเตอร์สตาร์ออโต้โปรดักซ์ จำกัด ซึ่งมีโจทก์เป็นกรรมการ โจทก์ และนางอุษา อัศวพิภพหรือลิขิตรัตนดารา ว่าร่วมกันขาย เสนอขาย หรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรโดยไม่รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิบัตร ในที่สุดพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องแล้วตามหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องเอกสารหมาย จ.๓๙
มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนั้น ได้มีการเปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใด ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ที่เปิดเผยดังกล่าวมีลักษณะอย่างไร ทำให้จำเลยไม่สามารถเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่โจทก์อ้างได้ เพราะการพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ต้องเกิดจากการเปรียบเทียบแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรนั้นกับแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้ว เห็นว่า ในข้อนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีดำ มีปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม ๓ แห่ง พื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบมีจุดขาวทั่วไป ลักษณะของแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เปิดเผยอยู่แล้วในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะขอรับสิทธิบัตรและจำเลยได้ลอกเลียนซึ่งลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์นั้นในส่วนที่เป็นสาระสำคัญจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบดังกล่าวมาขอรับสิทธิบัตร แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ สิทธิบัตรของจำเลยจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์แต่ถูกจำเลยกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์เป็นสินค้าที่ละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์อันไม่สมบูรณ์ของจำเลย ขอให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของจำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องโดยเฉพาะเจาะจงว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยแล้วมีสีและลักษณะอย่างไร แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดแล้วว่า แบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยมีสีและลักษณะอย่างไร คำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงให้พอเข้าใจได้แล้วว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วมีลักษณะอย่างไร ซึ่งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้ต่อไปว่า คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่มีมูลความจริง แบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่มีปรากฏอยู่ก่อนแล้ว แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์จึงสามารถให้การต่อสู้คดีได้เช่นนั้น ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้เปิดแผยแล้วได้เปิดเผยในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใดนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๖และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙มาตรา ๒๖ และ ๓๐ แล้ว ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุมนั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่ ๒ ว่า สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” เลขที่ ๔๙๕๖ ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ จำเลยอุทธรณ์ว่า การพิจารณาว่าแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งแตกต่างจากแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นงานที่ปรากฏอยู่ก่อนหรือไม่ ชอบที่จะพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งรวมถึงรายละเอียดของแบบผลิตภัณฑ์ที่นำมาเปรียบเทียบกัน มิใช่พิจารณาแต่เพียงโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์ดังนั้น ลำพังแต่ข้อเท็จจริงว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.๔มีโครงสร้างหลักคือการนำปุ่มยางมาใช้รวม ๓ แห่ง วางสลับกับส่วนที่เป็นพื้นเรียบ ย่อมไม่เพียงพอที่จะให้รับฟังว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรเอกสารหมาย ล.๔ ของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์เดียวกันหรือเหมือนหรือคล้ายกันจนเป็นการเลียนแบบภาพสินค้าเอกสารหมาย จ.๗ ถึง จ.๑๑ ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ให้พิจารณาความใหม่ของแบบผลิตภัณฑ์จากความแตกต่างของผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้น แต่มิใช่พิจารณาความใหม่เฉพาะจากสิ่งที่เป็นโครงสร้างหลักของแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น การพิจารณารายละเอียดหรือภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาความใหม่ของผลิตภัณฑ์ เพราะภาพรวมหรือรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างเพียงพอของแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งกับอีกแบบผลิตภัณฑ์หนึ่งจะเป็นเครื่องชี้สำคัญที่ทำให้แบบผลิตภัณฑ์นั้นแตกต่างกัน หรือเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่สะดุดตาน่าสนใจกว่ากัน อันส่งผลต่อผู้บริโภคสินค้าภายใต้แบบผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และเป็นสิ่งที่กฎหมายคุ้มครอง เห็นว่า ปัญหานี้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๖ หรือ ๕๗ บัญญัติให้การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ กล่าวคือต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามมาตรา ๖๕ ประกอบด้วยมาตรา ๒๘มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร และต้องไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรหรือที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรหรือที่เคยมีประกาศโฆษณาดังกล่าวก่อนวันขอรับสิทธิบัตร และมาตรา ๕๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้บัญญัติให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องระบุข้อถือสิทธิโดยชัดแจ้งและภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรด้วย ดังนี้การพิจารณาว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่จึงต้องพิจารณาจากข้อถือสิทธิในการออกแบบผลิตภัณฑ์และภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ในคำขอรับสิทธิบัตรว่าผู้ขอรับสิทธิบัตรขอถือสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายในส่วนใดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วในและนอกราชอาณาจักร และแบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๕ ประกอบด้วยมาตรา ๒๘ มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตรว่าข้อถือสิทธิตามคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เหมือนหรือคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากภาพรวมของแบบผลิตภัณฑ์ตามคำขอรับสิทธิบัตรทั้งหมดเปรียบเทียบกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วดังกล่าวดังที่จำเลยอุทธรณ์ไม่ คำว่า “แบบผลิตภัณฑ์”ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ หมายความว่ารูปร่างของผลิตภัณฑ์ หรือองค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นการให้ความคุ้มครองแก่ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์อันได้แก่ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ลักษณะลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษตามที่ปรากฏในข้อถือสิทธิโจทก์นำสืบว่า ข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” เลขที่ ๔๙๕๖ ของจำเลยซึ่งจำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๓๖ คือลักษณะลวดลายของปลอกหุ้มพวงมาลัยรถดังปรากฏตามรูปดังต่อไปนี้
+++++++++ ++++++++++ +++++++++
++ส่วนแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว ปรากฏตามภาพโฆษณาสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ในนิตยสาร “Hardwares” ประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๔ เดือนเมษายน๒๕๓๕ เดือนกรกฎาคม ๒๕๓๕ เดือนตุลาคม ๒๕๓๕ และเดือนพฤศจิกายน๒๕๓๕ จำนวน ๕ เล่ม เอกสารหมาย จ.๗ ถึง จ.๑๑ คือภาพ
+++++ +++++ +++++ +++++ +++++ +++++
++ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วดังกล่าว จะเห็นได้ว่าลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยอยู่ที่ปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม ๓ แห่ง มีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากัน โดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำ ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากปุ่มนูนเป็นพื้นเรียบสีเขียวมีจุดขาวหลายจุด ลักษณะพิเศษของลวดลายปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิดังกล่าวเหมือนกับปุ่มนูนเรียงเป็นแถวหลายแถวรวม ๓ แห่งมีความยาวเท่ากันและห่างกันในระยะเท่ากันโดยมีลักษณะโค้งไปตามแนววงกลมของพวงมาลัยรถซึ่งมีสีดำตามภาพแบบผลิตภัณฑ์ในนิตยสาร”Hardwares” เอกสารหมาย จ.๗ ถึง จ.๑๑ ที่เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนที่จำเลยจะยื่นคำขอรับสิทธิบัตรดังกล่าว ซึ่งเห็นได้ชัดว่าลักษณะปุ่มนูนดังกล่าวเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะพิเศษอันเป็นสาระสำคัญของแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามเอกสารหมาย จ.๗ถึง จ.๑๑ เช่นกัน ลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามข้อถือสิทธิของจำเลยต่างกับลักษณะลวดลายของแบบผลิตภัณฑ์ตามภาพในเอกสารหมายจ.๗ ถึง จ.๑๑ เฉพาะในส่วนที่เป็นพื้นเรียบนอกจากปุ่มนูนโดยมีสีต่างกันและบางแบบผลิตภัณฑ์ไม่มีจุดสีขาวอย่างแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยเท่านั้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” ตามข้อถือสิทธิของจำเลยจึงไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพราะแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วนอกราชอาณาจักรก่อนวันที่จำเลยขอรับสิทธิบัตรจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบตามมาตรา ๕๗ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” เลขที่ ๔๙๕๖ของจำเลยย่อมเป็นสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา ๕๖ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งบัญญัติว่า “การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม” และถือว่าเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์ ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ออกจำหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า ++++++++++มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มพวงมาลัยรถทรงกลมเป็นวง ไส้กลางกลวง เป็นยางห่อหุ้มด้วยปุ่มนูนเป็นหนัง พี.วี.ซี. ขอบตรง มีปุ่มนูนรวมเป็นกลุ่ม ๓ แห่งสลับกับพื้นเรียบ ตามภาพถ่ายหมาย จ.๓ คือภาพดังต่อไปนี้
++++++++ ++++++++ +++++++++
++++++++ ++++++++ +++++++++
+ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับปลอกหุ้มพวงมาลัยรถตามข้อถือสิทธิในสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่ ๔๙๕๖ ของจำเลยจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะไม่มีร้านค้าใดกล้าสั่งซื้อสินค้าปลอกหุ้มพวงมาลัยรถยนต์ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิฟ้องต่อศาลให้เพิกถอนสิทธิบัตรของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๔ วรรคสองส่วนที่จำเลยอ้างว่าแบบผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของจำเลยเป็นแบบผลิตภัณฑ์ที่นายสุรศักดิ์ ธีระไชยกุล ออกแบบคิดประดิษฐ์ขึ้นเองโดยชอบ มิได้ลอกเลียนจากแบบผลิตภัณฑ์ใดที่ปรากฏอยู่ก่อนแล้วนั้น เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะเป็นดังที่จำเลยอ้างและแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏอยู่แล้วจนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบโดยบังเอิญ จำเลยก็ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” ของจำเลยได้ เพราะการออกแบบผลิตภัณฑ์ของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗ ดังได้วินิจฉัยแล้วดังนี้ เมื่อสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของจำเลยเป็นสิทธิบัตรที่ไม่สมบูรณ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยตามสิทธิบัตรนั้งจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ จำเลยย่อมไม่อาจเรียกให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์แก่จำเลยโดยอ้างว่าโจทก์กระทำละเมิดต่อจำเลยตามฟ้องแย้งได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถของจำเลยไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ปลอกหุ้มพวงมาลัยรถ” เลขที่ ๔๙๕๖ของจำเลยไม่สมบูรณ์ พิพากษาให้เพิกถอนสิทธิบัตรดังกล่าว และยกฟ้องแย้งของจำเลยนั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นนี้ให้เป็นพับ.

Share