แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยที่1ซึ่งเป็น นายจ้างโดยตรงของโจทก์ทั้งสองมีฐานะเป็น นิติบุคคลมีจำเลยที่2เป็นผู้ทำการแทนตามกฎหมายประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา77ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนมาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคลและระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคลภายนอกโดยอนุโลมและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา820บัญญัติว่าตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนซึ่ง หมายความว่า กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของ ตัวการ จำเลยที่1ซึ่งเป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่2ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ทั้งสอง
ย่อยาว
โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น นิติบุคคล ตาม กฎหมายประเภท สมาคม มี จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้อำนวยการ สำนักงาน สมาคมจำเลย ที่ 3 เป็น นายกสมาคม จำเลย ที่ 2 หรือ ที่ 3 คนใด คนหนึ่งมีอำนาจ ลงชื่อ กระทำการ แทน จำเลย ที่ 1 ได้ โจทก์ ที่ 1 และ โจทก์ ที่ 2เข้า ทำงาน กับ จำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ ร่วมกัน มี คำสั่งไล่ โจทก์ ทั้ง สอง ออกจาก การ เป็น พนักงาน ของ จำเลย ที่ 1 โดย อ้าง เหตุว่า โจทก์ ทั้ง สอง กระทำผิด แจ้งความเท็จ ต่อ จำเลย ที่ 1 ยักยอก เงินซึ่ง ไม่เป็น ความจริง จึง เป็น การ เลิกจ้าง โดย โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี ความผิดและ ไม่ได้ บอกกล่าว ล่วงหน้า เป็น การ เลิกจ้าง ไม่เป็นธรรม โจทก์ ทั้ง สองได้ อุทธรณ์ คำสั่ง ดังกล่าว ต่อ คณะกรรมการ บริหาร ของ จำเลย ที่ 1ซึ่ง มี จำเลย ที่ 3 เป็น ประธาน แต่ จำเลย ที่ 3 ใน ฐานะ ประธานคณะกรรมการ ดังกล่าว ยัง คง มี คำสั่ง ไล่ โจทก์ ทั้ง สอง ออกจาก งานจำเลย ทั้ง สาม จึง ต้อง ร่วมกัน รับผิด จ่าย ค่าชดเชย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า และ ค่าเสียหาย จาก การ เลิกจ้าง ไม่เป็นธรรม ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง
จำเลย ทั้ง สาม ทั้ง สอง สำนวน ให้การ และ แก้ไข คำให้การ ว่าจำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ใน ฐานะ เจ้าหน้าที่ ของจำเลย ที่ 1 มิได้ กระทำ ใน ฐานะ ส่วนตัว จึง ไม่ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ทั้ง สอง การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 ไม่เป็น การ โต้แย้ง สิทธิโจทก์ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่มี อำนาจฟ้อง
ระหว่าง พิจารณา โจทก์ ทั้ง สอง ขอ ถอนฟ้อง จำเลย ที่ 3 ทั้ง สองสำนวน ศาลแรงงานกลาง มี คำสั่ง อนุญาต และ จำหน่ายคดี ใน ส่วนจำเลย ที่ 3 ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่าการ กระทำ ของโจทก์ ทั้ง สอง ถือได้ว่า เป็น ความผิด อย่างร้ายแรง และ ไม่ สม แก่ การ ปฏิบัติหน้าที่ ของ ตน ให้ ลุล่วง ไป โดย ถูกต้อง และ สุจริต ซึ่ง จำเลย ที่ 1ใน ฐานะ นายจ้าง ย่อม ไล่ โจทก์ ทั้ง สอง ออก ได้ โดย ไม่ต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า และ ไม่ต้อง จ่าย สินจ้าง แทน การ บอกกล่าว ล่วงหน้า การ เลิกจ้างมีเหตุอันสมควร ไม่เป็น การ เลิกจ้าง ไม่เป็นธรรม ใน อัน ที่ โจทก์ ทั้ง สองจะ เรียก ค่าเสียหาย ได้ พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน41,160 บาท ให้ แก่ โจทก์ ที่ 1 และ จำนวน 42,440.74 บาท ให้ แก่โจทก์ ที่ 2 ยกฟ้อง สำหรับ จำเลย ที่ 2 คำขอ อื่น ของ โจทก์ ที่ 1 และ ที่ 2ให้ยก
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “ที่ โจทก์ ทั้ง สอง อุทธรณ์ว่า จำเลย ที่ 2 เป็น นายจ้าง ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 5 จึง ต้อง ร่วมรับผิด กับ จำเลย ที่ 1 และ รับผิด เป็น ส่วนตัวแก่ โจทก์ ทั้ง สอง โจทก์ ทั้ง สอง จึง มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ที่ 2 นั้น เห็นว่าตาม บท กฎหมาย ดังกล่าว ให้ คำ นิยาม ของ คำ ว่า นายจ้าง ใน ทำนอง เดียว กันกับ ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 ว่า นายจ้าง หมายความ ว่า ผู้ซึ่ง ตกลง รับ ลูกจ้าง เข้า ทำงานโดย จ่าย ค่าจ้าง ให้ และ หมายความ รวม ถึง ผู้ซึ่ง ได้รับ มอบหมาย จากนายจ้าง ให้ ทำการ แทน ใน กรณี ที่นายจ้าง เป็น นิติบุคคล หมายความ ว่าผู้มีอำนาจ ทำการ แทน นิติบุคคล นั้น และ หมายความ รวม ถึง ผู้ซึ่ง ได้รับมอบหมาย จาก ผู้มีอำนาจ กระทำการ แทน นิติบุคคล ให้ ทำการ แทน ดังนั้นจำเลย ที่ 2 ย่อม มี ฐานะ เป็น นายจ้าง ของ โจทก์ ทั้ง สอง ด้วย ตาม บท กฎหมายดังกล่าว โจทก์ ทั้ง สอง จึง มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ที่ 2 ได้ แต่ อย่างไร ก็ ดีเนื่องจาก จำเลย ที่ 1 ซึ่ง เป็น นายจ้าง โดยตรง ของ โจทก์ ทั้ง สองมี ฐานะ เป็น นิติบุคคล มี จำเลย ที่ 2 เป็น ผู้ทำการ แทน ตาม กฎหมายประกอบ กับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 บัญญัติ ว่า”ให้ นำ บทบัญญัติ ว่าด้วย ตัวแทน แห่ง ประมวล กฎหมาย นี้ มา ใช้ บังคับ แก่ความ เกี่ยวพัน ระหว่าง นิติบุคคล กับ ผู้แทน ของ นิติบุคคล และ ระหว่างนิติบุคคล หรือ ผู้แทน ของ นิติบุคคล กับ บุคคลภายนอก โดย อนุโลม ” และบทบัญญัติ ว่าด้วย ตัวแทน มาตรา 820 บัญญัติ ว่า “ตัวการ ย่อม มี ความผูกพัน ต่อ บุคคลภายนอก ใน กิจการ ทั้งหลาย อัน ตัวแทน หรือ ตัวแทน ช่วง ได้ ทำไป ภายใน ขอบ อำนาจ แห่ง ฐาน ตัวแทน ” ซึ่ง มี ความหมาย ว่า กิจการ ใดอัน ตัวแทน ได้ กระทำ ไป ใน ขอบ อำนาจ ของ ตัวแทน นั้น เป็น การกระทำแทน ตัวการ จำเลย ที่ 1 ผู้เป็น ตัวการ จึง ต้อง ผูกพัน ต่อ บุคคลภายนอกใน การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 ที่ ได้ กระทำ ไป ภายใน วัตถุประสงค์ ของจำเลย ที่ 1 โดย จำเลย ที่ 2 ไม่ต้อง ผูกพัน รับผิด เป็น ส่วนตัว ต่อ โจทก์ทั้ง สอง ด้วย ที่ ศาลแรงงานกลาง พิพากษายก ฟ้อง สำหรับ จำเลย ที่ 2 นั้นศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล อุทธรณ์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง สำนวน ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน