คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2530

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

เมื่อศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขัดทรัพย์แล้วไม่มีเหตุที่จะมีคำสั่งให้คืนไปทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ก็ต้องสั่งรับคำร้องไว้คำร้องขัดทรัพย์จะแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาหรือไม่ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องพิจารณาในชั้นตรวจคำร้องขัดทรัพย์ ต่อมาเมื่อได้พิจารณาคำร้องขัดทรัพย์และคำให้การของโจทก์แล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งงดสืบพยานและพิจารณาพิพากษาคดีไปได้เลย ดังนั้น เมื่อเห็นว่าไม่อาจบังคับตามคำร้องขัดทรัพย์ได้ ก็ย่อมมีอำนาจสั่งยกคำร้องขัดทรัพย์นั้นเสีย
คำร้องขัดทรัพย์อ้างเพียงว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์นำยึดโดยใส่ชื่อจำเลยที่ 3 ไว้ในโฉนดแทนเท่านั้น มิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์รับจำนองที่ดินโดยไม่สุจริต จึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ ผู้ร้องยกขึ้นฎีกาไม่ได้
การที่ผู้ร้องขัดทรัพย์ใส่ชื่อจำเลยที่ 3 ในโฉนดแทนตนเป็นเรื่องที่ผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 3 ผู้เป็นตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการนำที่ดินพิพาทไปจำนองกับโจทก์ ผู้ร้องจึงหาอาจทำให้เสื่อมเสียแก่สิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อจำเลยที่ 3 ผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของผู้ร้องได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806.

Share