คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1784/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

พระราชบัญญัติญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา54(2)ห้ามมิให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้ กู้ยืมเงิน เว้นแต่การรับจำนองทรัพย์สินลำดับหนึ่งเป็นประกันการที่โจทก์ให้จำเลยทั้งสองกู้เงินโดยมิได้มีการ จดทะเบียนจำนองทรัพย์สินลำดับหนึ่งเป็นประกันจึงเป็น โมฆะโจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ มี วัตถุประสงค์ ใน การ ประกอบ กิจการ เกี่ยวกับธุรกิจ เครดิตฟองซิเอร์ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำ สัญญากู้เงิน โจทก์ ไป แล้วผิดนัด ขอให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน จำนวน 242,933.62 บาท และ ชำระดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 21 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 188,299.07 บาท นับ ถัดจาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ พร้อม ชำระ ค่า เบี้ยประกัน ภัยเป็น รายเดือน เดือน ละ 27.66 บาท นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระเสร็จ ให้ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจ ให้ กู้ยืม เงิน เนื่องจากไม่ได้ ระบุ วัตถุประสงค์ ใน ขณะ จดทะเบียน บริษัท และ ไม่มี อำนาจฟ้อง คดี นี้จำเลย ทั้ง สอง ไม่ได้ กู้เงิน และ ไม่ได้ รับ เงิน จำนวน ตาม ฟ้อง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงิน จำนวน 242,933.62 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 21 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน จำนวน 188,299.07 บาทกับ ชำระ เบี้ยประกัน ภัย รายเดือน เดือน ละ 27.66 บาท นับ ตั้งแต่วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า การกระทำ ของ โจทก์ เป็น การ หลีกเลี่ยงและ ฝ่าฝืน บทบัญญัติ มาตรา 54(2) แห่ง พระราชบัญญัติ การ ประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจ หลักทรัพย์ และ ธุรกิจ เครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522อย่าง แจ้งชัด และ เป็น การ ขัดขวาง ต่อ ความสงบ เรียบร้อย ของ ประชาชนอีก ด้วย การ ให้ กู้ยืม เงิน ของ โจทก์ จึง เป็น โมฆะ โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้องพิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ที่ ไม่ได้ โต้เถียง กัน ฟังได้ ว่าโจทก์ เป็น นิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัด มี วัตถุประสงค์ ประกอบ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ โดย ได้รับ อนุญาต จาก กระทรวงการคลัง ให้ ประกอบกิจการ เครดิตฟองซิเอร์ เมื่อ วันที่ 24 ธันวาคม 2525 บริษัท เคหะนคร จำกัด ได้ นำ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 144062 และ ที่ดิน อื่น 672 แปลงจดทะเบียน จำนอง ไว้ กับ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด ประกันหนี้ ของ โจทก์ จำนวน 30,000,000 บาท ปรากฏ รายละเอียด ตาม เอกสาร หมาย ล. 5และ ล. 6 ใน วันที่ 27 ธันวาคม 2525 บริษัท เคหะนคร จำกัด ได้ ขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 144062 พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ให้ นางสาว นิภา รัตนคุปต์ ใน ราคา 290,000 บาท นางสาว นิภา ชำระ ค่า จอง สิทธิ จำนวน 30,000 บาท และ ชำระ ค่าที่ดิน พร้อม สิ่งปลูกสร้าง งวด แรกจำนวน 90,000 บาท ปรากฏ ตาม สำเนา สัญญาจะซื้อจะขาย เอกสาร หมายล. 4 ใน วันที่ 16 มกราคม 2528 นางสาว นิภา ทำ หนังสือ แจ้ง ให้ บริษัท เคหะนคร จำกัด ทราบ ว่า จะ ทำการ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ให้ จำเลย ทั้ง สอง ปรากฏ ตาม สำเนา เอกสาร หมาย ล. 2 ทั้ง ได้ แจ้ง ให้โจทก์ ทราบ ว่า จำเลย ทั้ง สอง ยินยอม ปฏิบัติ ตาม สัญญากู้ยืม ที่นางสาว นิภา ทำ ไว้ กับ โจทก์ ทุกประการ ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ล. 3ภายหลัง จำเลย ทั้ง สอง ซื้อ ที่ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง จาก นางสาว นิภา แล้ว จำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำ สัญญากู้เงิน จาก โจทก์ จำนวน 195,303.24 บาท อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 20 ต่อ ปี กำหนด ผ่อนชำระ ให้ เสร็จสิ้น ภายใน วันที่ 31ธันวาคม 2535 หาก ผิดนัด ยอม ให้ คิด ดอกเบี้ย สำหรับ เงิน ที่ ค้างชำระร้อยละ 21 ต่อ ปี รวม แล้ว จำเลย ต้อง ผ่อนชำระ เงินต้น และ ดอกเบี้ยเดือน ละ 4,172.34 บาท ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 และ เมื่อ รวมค่า เบี้ยประกัน ภัย และ ค่าบริการ สาธารณูปโภค ด้วย แล้ว จำเลย ต้อง ผ่อนชำระโจทก์ เดือน ละ 4,300 บาท จำเลย ผ่อนชำระ ให้ โจทก์ แล้ว 4 งวดและ ไม่ ผ่อนชำระ อีก เลย ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ใน วันที่11 กุมภาพันธ์ 2529 โจทก์ มี หนังสือ ทวงถาม ให้ จำเลย ชำระ ค่างวด และดอกเบี้ย พร้อม แจ้ง เลิกสัญญา ปรากฏ ตาม เอกสาร หมาย จ. 5 ปัญหา ตาม ฎีกาโจทก์ ประการ แรก มี ว่า การ ให้ กู้ยืม เงิน ของ โจทก์ เป็น การ ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ การ ประกอบ ธุรกิจ เงินทุน ธุรกิจ หลักทรัพย์ และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 หรือไม่ เห็นว่า ตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 54 บัญญัติ ว่า “ห้าม มิให้ บริษัท เครดิตฟองซิเอร์กระทำการ ดัง ต่อไป นี้
(1)…………
(2) ให้ กู้ยืม เงิน เว้นแต่ การ รับ จำนอง ทรัพย์สิน ลำดับ หนึ่งเป็น ประกัน ” ฉะนั้น การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ทำ สัญญากู้เงิน จาก โจทก์จำนวน 195,303.24 บาท ตาม สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 3 โดย ที่ มิได้มี การ จดทะเบียน จำนอง ทรัพย์สิน ลำดับ หนึ่ง เป็น ประกัน การ ให้ กู้ยืม เงิน ของ โจทก์ จึง ฝ่าฝืน บทบัญญัติ ดังกล่าว ตกเป็น โมฆะ ที่ โจทก์ ฎีกาโต้แย้ง ว่า ใน สัญญากู้ ข้อ 11 ระบุ ว่า เพื่อ เป็น การ ประกัน การ ผิดสัญญาการ ชำระหนี้ ราย นี้ ผู้กู้ ได้ นำ ที่ดิน แปลง ที่ 770 ใน ผัง เคหะ นครถนน รามคำแหง โฉนด เลขที่ 144062 เลขที่ ดิน 850 แขวง สะพานสูง เขต บางกะปิ กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ 0-0-48 ไร่ พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ที่ มี อยู่ แล้ว และ /หรือ ที่ จะ มี ต่อไป ใน อนาคต นำ มา จดทะเบียน จำนองเพื่อ เป็น การ ประกันหนี้ ตาม สัญญากู้ นี้ การ ให้ กู้ยืม เงิน ของ โจทก์ จึงเป็น การ ให้ กู้ยืม เงิน โดย จำเลย จะ ต้อง นำ หลักทรัพย์ ที่ ซื้อ จากบริษัท เคหะนคร จำกัด มา จดทะเบียน จำนอง ใน อนาคต และ ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว ก็ มิได้ บังคับ ให้ โจทก์ ต้อง รับ จดทะเบียน จำนอง ใน วัน ทำ สัญญากู้ แต่อย่างใด นั้น เห็นว่า คำฟ้อง ของ โจทก์ มิได้ ฟ้องบังคับ ให้ จำเลยทั้ง สอง นำ หลักทรัพย์ มา จดทะเบียน จำนอง กับ โจทก์ ตาม ที่ ระบุ ใน สัญญาแต่ เป็น การ ฟ้อง เรียกร้อง ให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระ เงินกู้ พร้อม ดอกเบี้ยตาม สัญญากู้ เอกสาร หมาย จ. 3 ซึ่ง แสดง ว่า โจทก์ มิได้ นำ พา จะ ให้มี การ จดทะเบียน จำนอง ตาม สัญญา ข้อ 11 ดัง ที่ โจทก์ ยกขึ้น ฎีกา แต่อย่างใดทั้งที่ ดิน และ สิ่งปลูกสร้าง ตาม สัญญา ข้อ 11 ก็ ยัง ติด จำนอง ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด อยู่ ไม่แน่ นอน ว่า ผู้ใด จะ เป็น ผู้ ไถ่ถอน จำนอง เพื่อ โจทก์ จะ รับ จดทะเบียน จำนอง ลำดับ หนึ่ง ตาม กฎหมาย ได้ ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ชอบแล้ว ฎีกา โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น คดี ไม่จำต้อง วินิจฉัยปัญหา อื่น ตาม ฎีกา โจทก์ ต่อไป ”
พิพากษายืน

Share