แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
พ.ร.บ.ลักษณะพยาน ร.ศ. 113 มาตรา 48(5) เรื่องพยานขัดหมายเรียกของพนักงานสอบสวนนั้น +ได้ว่าให้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวล ก.ม.พิจารณาความอาญา พ.ศ. 2477 มาตรา 4 และมาตรา 3 +เพราะได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 133 ประกอบด้วยมาตรา 304(2) กฎหมายอาญา
พยานที่ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนคือไม่ยอมเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมมีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334(2)
(รูปคดีไม่ตรงกับฎีกาที่ 1140/2481)
ย่อยาว
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยได้รับหมายเรียกของพนักงานสอบสวนให้ไปให้การเป็นพยานในคดีอาญาเรื่องหนึ่ง จำเลยทั้งสองบังอาจขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก คือไม่ยอมไปให้การเป็นพยานต่อเจ้าพนักงานสอบสวน ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๓๓๔(๒), พ.ร.บ.ลักษณะพยาน ร.ศ. ๑๑๓ มาตรา ๔๘ (๕)
จำเลยรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกัน ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๓๓๔(๒) ปรับคนละ ๒๐ บาท ลดฐานปราณีกึ่งหนึ่งคงปรับคนละ ๑๐ บาท ที่ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะพยาน ร.ศ. ๑๑๓ ให้ยกเสีย + ก.ม.ที่กล่าวนี้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฎีกาว่า ก.ม.ลักษณะพยาน ร.ศ. ๑๑๓ มาตรา ๔๘(๕) ยังไม่ถูกยกเลิก
ศาลฎีกาเห็นว่า ก.ม.ลักษณะพยาน ร.ศ. ๑๑๓ มาตรา ๔๘(๕) ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวล ก.ม.วิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. ๒๔๗๗ มาตรา ๔ และ ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๓ แล้ว เพราะมีบัญญัติไว้แล้วใน ป.ม.วิ.อาญามาตรา ๑๓๓ และ ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา ๓๓๔(๒) ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น
พิพากษายืน