แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ปิดล้อมที่ดินของโจทก์ทั้งสิบจนไม่สามารถออกสู่ถนนสาธารณะได้เมื่อเดิมที่ดินของโจทก์ที่1ถึงที่6กับที่ดินของจำเลยทั้งสี่เป็นที่ดินแปลงเดียวกันเมื่อแบ่งแยกแล้วที่ดินของโจทก์ที่1ถึงที่6ไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้โจทก์ที่1ถึงที่6จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นได้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนส่วนที่ดินของโจทก์ที่7ถึงที่10มีที่ดินของจำเลยทั้งสี่ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้โจทก์ที่7ถึงที่10จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นได้และการที่ศาลสั่งให้รวมพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันก็เพื่อความสะดวกในการพิจารณาเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสิบในแต่ละสำนวนถูกที่ดินของจำเลยทั้งสี่ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่เปิดทางจำเป็นให้แก่โจทก์ทั้งสิบในแต่ละสำนวนตามความจำเป็นได้
ย่อยาว
คดี ทั้ง สิบ สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น รวม พิจารณา และ พิพากษา เข้า ด้วยกัน
โจทก์ ทั้ง สิบ สำนวน ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง เป็น ใจความ อย่างเดียว กันว่า เดิม ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6 กับ ที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สี่ เป็นที่ดิน แปลง เดียว กัน คือ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6351 เลขที่ ดิน 33 เนื้อที่33 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา ซึ่ง นาง บุญเหลือ มะโนรมย์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 7 เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน โฉนด เลขที่6346 เลขที่ ดิน 28 ซึ่ง นาง เปลว ชุมรักษา เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ และ ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 8 ถึง ที่ 10 เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน โฉนด เลขที่6347 เลขที่ ดิน 27 ซึ่ง นาง พุ่ม ภู่กัน เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ต่อมา เมื่อ ประมาณ ปี 2501 คณะกรรมการ กองสวัสดิการ สงเคราะห์ได้รับ ความ ยินยอม จาก นาง บุญเหลือ นางเปลวและนางพุ่ม ให้ นำ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6351, 6346 และ 6347 ไป จัดสรร ที่ดิน เป็น แปลง ๆเพื่อ แบ่ง ขาย ให้ แก่ ข้าราชการ และ บุคคล ทั่วไป คณะกรรมการ ได้ ทำ ถนน ภายในที่ดิน จัดสรร กว้าง ประมาณ 5 เมตร เพื่อ ให้ ผู้ซื้อ ที่ดิน ใช้ เป็น ทาง ออกสู่ ถนน พุทธมณฑล สาย 4 ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 7 ติดกับ ถนนภายใน ที่ดิน จัดสรร สาย 1 ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 3 และ ที่ 8 ติดกับ ถนนสาย 2 ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 4 และ ที่ 9 ติดกับ ถนน สาย 3 ที่ดิน ของ โจทก์ที่ 5 ที่ 6 และ ที่ 10 ติดกับ ถนน สาย 4 ขณะ นั้น ทางราชการ วาง แนวถนน พุทธมณฑล สาย 4 ไว้ เป็น แนว กว้าง 120 เมตร โดย ทางราชการจะ ทำ ถนน กว้าง 40 เมตร ส่วน ที่ เหลือ จะ ใช้ ปลูกสร้าง อาคาร สงเคราะห์ริมถนน 2 ข้าง ข้าง ละ 40 เมตร แต่ คณะกรรมการ จัดซื้อ ที่ดินสร้าง พุทธมณฑล เห็นว่า ควร ลด ความ กว้าง ของ ถนน พุทธมณฑล สาย 4 เหลือ เพียง50 เมตร ที่ดิน ซึ่ง กัน ไว้ ส่วน ที่ เหลือ ให้ คืน แก่ เจ้าของ เดิม ได้ แก่ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6351 รวม 7 ไร่ เศษ ต่อมา เจ้าของ ที่ดิน ขาย ที่ดินจำนวน 7 ไร่ เศษ ให้ แก่ จำเลย ที่ 4 หลังจาก นั้น จำเลย ที่ 4 นำ ที่ดินแปลง นี้ ไป แบ่ง เป็น แปลง เล็ก ๆ แล้ว โอน กรรมสิทธิ์ ให้ แก่ จำเลย ที่ 1ถึง ที่ 3 ต่อมา เมื่อ ประมาณ ปลาย ปี 2528 จำเลย ทั้ง สี่ ได้ ร่วมกัน สร้างรั้ว คอนกรีต ปิด กั้น ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สิบ ใน ที่ดิน จัดสรร ของคณะกรรมการ กองสวัสดิการ สงเคราะห์ ทั้งหมด ยาว ตลอด แนว ของ ที่ดินตาม แนว เส้น สี เหลือง ใน แผนที่ สังเขป ทำให้ ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สิบ ถูกปิด ล้อม ไม่สามารถ ออก สู่ ถนน พุทธมณฑล สาย 4 ได้ เป็นเหตุ ให้ โจทก์ทั้ง สิบ ได้รับ ความเสียหาย จำต้อง ขอให้ เปิด ทาง จำเป็น ผ่าน ที่ดิน ของจำเลย ทั้ง สี่ ตลอด แนว ไป สู่ ถนน พุทธมณฑล สาย 4 โดย โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6ไม่ต้อง เสีย ค่าทดแทน โจทก์ ทั้ง สิบ ได้ ขอให้ จำเลย ทั้ง สี่ เปิด ทาง จำเป็นแล้ว จำเลย ทั้ง สี่ เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย ทั้ง สี่ เปิด ทาง จำเป็น กว้าง5 เมตร โดย ตลอด ทาง จำเป็น จน กระทั่ง ออก สู่ ถนน พุทธมณฑล สาย 4 ตามแผนที่ สังเขป โดย ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ไป จดทะเบียน ภารจำยอม เปิดทาง จำเป็น ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สิบ ต่อ เจ้าพนักงาน ที่ดิน จังหวัด นครปฐมหาก จำเลย ทั้ง สี่ ไม่ยอม ไป จดทะเบียน ภารจำยอม เปิด ทาง จำเป็น ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา ของ จำเลย ทั้ง สี่
จำเลย ทั้ง สิบ สำนวน ให้การ เป็น ใจความ ว่า เดิม ที่ดิน ภายใน บริเวณจุด ก ข ค ง ตาม แผนที่ สังเขป เป็น ที่ดิน แปลง เดียว กับ ที่ดิน จัดสรรของ คณะกรรมการ กองสวัสดิการ สงเคราะห์ คณะกรรมการ จัดสรร ที่ดินได้ จัดทำ ถนน สาธารณะ กว้าง ประมาณ 8 เมตร อยู่ ทาง ด้าน ทิศเหนือของ แผนที่ สังเขป เอกสาร ท้ายฟ้อง ตรง บริเวณ แนว จุด ข ค ลึก จากถนน พุทธมณฑล สาย 4 เข้า ไป ใน ที่ดิน จัดสรร ไม่ น้อยกว่า 1 กิโลเมตรรถยนต์ แล่น ผ่าน เข้า ออก ได้ สะดวก โจทก์ ทั้ง สิบ ซื้อ ที่ดิน จาก การ จัดสรรย่อม มีสิทธิ ที่ จะ ผ่าน ถนน ดังกล่าว ไป ออก ถนน พุทธมณฑล สาย 4 ได้ อยู่ แล้วดังนั้น ที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สี่ จึง มิได้ ไป ปิด ล้อม ที่ดิน ของ โจทก์ทั้ง สิบ แต่อย่างใด โจทก์ ทั้ง สิบ ไม่มี สิทธิ ขอให้ เปิด ทาง จำเป็น ผ่านที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สี่ ไม่ว่า จะ เสีย ค่าทดแทน หรือไม่ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 เปิด ทางจำเป็น แก่ โจทก์ ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 7 กว้าง 4 เมตร ตลอด ทาง จน กระทั่งออก สู่ ถนน พุทธมณฑล สาย 4 ตาม ลูก ศรสีแดง ภายใน เส้น สีแดง แผนที่สังเขป ท้ายฟ้อง โดย เริ่ม จาก จุด กากบาท สีแดง ผ่าน ที่ดิน จำเลย ที่ 1โฉนด เลขที่ 6351 แปลง ที่ 1 ผ่าน รั้ว คอนกรีต ที่ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3ร่วมกัน สร้าง โดย ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ร่วมกัน รื้อ รั้ว ออก ตาม แนวเส้น คู่ สีแดง ผ่าน รั้ว ดังกล่าว ผ่าน ที่ดิน จำเลย ที่ 3 โฉนด เลขที่52982 แปลง ที่ 2 ผ่าน ที่ดิน จำเลย ที่ 2 โฉนด เลขที่ 52979 ถึง52981 แปลง ที่ 3 ถึง ที่ 5 ผ่าน ที่ดิน จำเลย ที่ 1 โฉนด เลขที่ 52977ถึง 52978 แปลง ที่ 6 และ ที่ 7 และ ผ่าน ที่ดิน จำเลย ที่ 1 โฉนด เลขที่6351 แปลง สุดท้าย โดย ให้ จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 จดทะเบียน ภารจำยอมหาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ให้ จำเลย ที่ 1 และที่ 4 เปิด ทาง จำเป็น กว้าง 4 เมตร ตลอด ทาง จำเป็น แก่ โจทก์ ที่ 3และ ที่ 8 จน กระทั่ง ออก สู่ ถนน พุทธมณฑล สาย 4 ตาม ลูกศร สีแดง ภายในเส้น คู่ สีแดง แผนที่ สังเขป ท้ายฟ้อง โดย เริ่ม ตรง จุด กากบาท สีแดง ผ่านที่ดิน จำเลย ที่ 1 โฉนด เลขที่ 6351 แปลง ที่ 1 ผ่าน รั้ว คอนกรีต ที่จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 ร่วมกัน สร้าง โดย ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4ร่วมกัน รื้อ รั้ว ตาม แนว เส้น คู่ สีแดง ที่ ผ่าน รั้ว ดังกล่าว ผ่าน ที่ดินจำเลย ที่ 4 โฉนด เลขที่ 52948, 49114 แปลง ที่ 2 และ ที่ 3ผ่าน ที่ดิน จำเลย ที่ 1 โฉนด เลขที่ 6351 เป็น แปลง สุดท้าย โดย ให้ จำเลยที่ 1 และ ที่ 4 ไป จดทะเบียน ภารจำยอม หาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษาแทน การแสดง เจตนา ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 เปิด ทาง จำเป็น กว้าง4 เมตร แก่ โจทก์ ที่ 4 และ ที่ 9 ตลอด ทาง จำเป็น จน กระทั่ง ออก สู่ถนน พุทธมณฑล สาย 4 ตาม ลูก ศรสีแดง ภายใน เส้น คู่ สีแดง แผนที่ สังเขปท้ายฟ้อง โดย เริ่ม ตรง จุด กากบาท สีแดง ผ่าน ที่ดิน จำเลย ที่ 1โฉนด เลขที่ 6351 แปลง ที่ 1 ผ่าน รั้ว คอนกรีต ที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4ร่วมกัน สร้าง โดย ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 ร่วมกัน รื้อ รั้ว ออก ตามแนว เส้น คู่ สีแดง ที่ ผ่าน รั้ว คอนกรีต ดังกล่าว ผ่าน ที่ดิน จำเลย ที่ 4โฉนด เลขที่ 49112 ผ่าน ที่ดิน จำเลย ที่ 1 โฉนด เลขที่ 6351 แปลง ที่ 1เป็น แปลง สุดท้าย โดย ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 จดทะเบียน ภารจำยอมเปิด ทาง จำเป็น หาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา ให้จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 เปิด ทาง จำเป็น กว้าง 4 เมตร แก่ โจทก์ ที่ 5 ที่ 6และ ที่ 10 ตลอด ทาง จำเป็น จน กระทั่ง ออก สู่ ถนน พุทธมณฑล สาย 4 ตามลูกศรสีแดง ภายใน เส้น คู่ สีแดง แผนที่ สังเขป ท้ายฟ้อง โดย เริ่ม ตรง จุดกากบาท สีแดง ผ่าน ที่ดิน จำเลย ที่ 1 โฉนด เลขที่ 6351 ผ่าน รั้ว คอนกรีตที่ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 ร่วมกัน สร้าง โดย ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4ร่วมกัน รื้อ รั้ว ออก ตาม แนว เส้น คู่ สีแดง ที่ ผ่าน รั้ว ดังกล่าว ผ่าน ที่ดินจำเลย ที่ 4 โฉนด เลขที่ 45371 และ ผ่าน ที่ดิน จำเลย ที่ 1 โฉนด เลขที่6351 เป็น แปลง สุดท้าย โดย ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 จดทะเบียนภารจำยอม หาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา
จำเลย ทั้ง สี่ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ทั้ง สี่ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลย ทั้งสี่ ข้อ แรก ว่า ที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สี่ ได้ ปิด ล้อม ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สิบจน ไม่สามารถ ออก สู่ ถนน สาธารณะ หรือไม่ ฝ่าย โจทก์ ทั้ง สืบ นำสืบ ว่า ที่ดินของ โจทก์ ทั้ง สิบ อยู่ ติด ถนน สาธารณะ กว้าง ประมาณ 5 เมตร ซึ่ง ถนนดังกล่าว คณะกรรมการ จัดสรร ได้ สร้าง ขึ้น เพื่อ ใช้ เป็น ทาง ออก สู่ถนน พุทธมณฑล สาย 4 การ ที่ จำเลย ทั้ง สี่ ก่อ รั้ว คอนกรีต ด้านหลังอาคารพาณิชย์ ตลอด แนว เป็น การ ปิด กั้น ทำให้ โจทก์ ทั้ง สิบ ไม่สามารถออก ไป สู่ ถนน พุทธมณฑล สาย 4 ซึ่ง เป็น ทางสาธารณะ ได้ ฝ่าย จำเลยทั้ง สี่ นำสืบ ว่า โจทก์ ทั้ง สิบ สามารถ ที่ จะ ใช้ เส้นทาง ออก สู่ ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ได้ โดย ไป ตาม ถนน ใน เส้น สีแดง ตาม เอกสาร หมาย ป.จ. 1(ศาลจังหวัด แพร่ ) ไป ทะลุ ผ่าน ใน เส้น สีแดง หมายเลข 1 บริเวณ จุด ค งซึ่ง อยู่ ทาง ด้าน ทิศเหนือ ของ ที่ดิน จำเลย ทั้ง สี่ ที่ดิน ของ จำเลยทั้ง สี่ มิได้ ปิด ล้อม ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สิบ แต่อย่างใด เกี่ยวกับเรื่อง ถนน สาธารณะ ใน ที่ดิน จัดสรร และ ถนน ใน เส้น สีแดง หมายเลข 1บริเวณ จุด ค ง ตาม ที่ จำเลย ทั้ง สี่ กล่าวอ้าง ว่า โจทก์ ทั้ง สิบ สามารถ ใช้เป็น ทาง ออก สู่ ถนน พุทธมณฑล สาย 4 ได้ นั้น ศาลชั้นต้น ออก ไป เผชิญสืบที่พิพาท และ ได้ บันทึก รายละเอียด เกี่ยวกับ สภาพ ถนน สาธารณะ ใน ที่ดินจัดสรร ไว้ ใน รายงาน กระบวนพิจารณา ฉบับ ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2533ว่า บริเวณ ที่พิพาท มี ถนน สาธารณะ ภายใน ที่ดิน จัดสรร 4 สาย สาย ที่ 1ศาล ไม่สามารถ เดิน เข้า ไป ดู ได้ เพราะ ที่ดิน ด้านหลัง อาคารพาณิชย์มี สภาพ เป็น ป่า ต้น อ้อ มี ต้น มะขามเทศ ปลูก อยู่ โจทก์ ทั้ง สิบ และ จำเลยทั้ง สี่ รับ ว่า ถนน สาธารณะ ภายใน ที่ดิน จัดสรร ทั้ง สี่ สาย นั้นถนน สาย ที่ 2 เป็น ถนน ลูกรัง ที่ ดี ที่สุด ส่วน ถนน อีก 3 สาย มี สภาพเป็น คันดิน ไม่เป็น ถนน อีก แล้ว โดยเฉพาะ ถนน สาย ที่ 3 เมื่อ ดู แล้วเป็น แนว คันดิน ที่ มี พงหญ้า กว้าง ประมาณ 5 เมตร ไม่มี สภาพ เป็น ถนนรถยนต์ แล่น เข้า ออก ไม่ได้ สุด ถนน ด้าน ทิศใต้ ไป ทาง ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 7ไม่มี สภาพ เป็น ถนน แต่ เป็น คันดิน รถยนต์ แล่น เข้า ออก ไม่ได้ และ ไม่สามารถใช้ รถยนต์ ไป ออก ที่ เส้นทาง หมายเลข 1 ได้ เมื่อ พิจารณา พยานหลักฐาน ของโจทก์ ทั้ง สิบ ที่ นำสืบ ฟัง ประกอบ กับ รายงาน กระบวนพิจารณา ของศาลชั้นต้น ซึ่ง บันทึก รายละเอียด เกี่ยวกับ สภาพ บริเวณ ที่พิพาท แล้วเห็นว่า ถนน สาธารณะ ทั้ง สี่ สาย ภายใน ที่ดิน จัดสรร ซึ่ง ที่ดิน ของ โจทก์ทั้ง สิบ ตั้ง อยู่ นั้น ไม่สามารถ ที่ จะ ออก ไป สู่ ถนน พุทธมณฑล สาย 4ทาง ด้าน ทิศตะวันตก ได้ เพราะ ติด อาคารพาณิชย์ และ รั้ว คอนกรีต ที่ จำเลยทั้ง สี่ สร้าง ปิด ล้อม ไว้ และ ไม่สามารถ ไป ทาง ทิศตะวันออก เลี้ยว ซ้ายขึ้น ไป ทาง ทิศเหนือ เพื่อ ออก สู่ เส้นทาง หมายเลข 1 บริเวณ จุด ค งได้ เช่นกัน เพราะ ถนน สาธารณะ ภายใน ที่ดิน จัดสรร แต่ละ สาย กลาย เป็น คันดินมี พงหญ้า ขึ้น ไม่มี สภาพ เป็น ถนน อีก ต่อไป พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ทั้ง สิบจึง มี น้ำหนัก น่า รับฟัง มาก กว่า พยานหลักฐาน ของ จำเลย ทั้ง สี่ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สี่ ได้ ปิด ล้อม ที่ดิน ของโจทก์ ทั้ง สิบ จน ไม่สามารถ ออก สู่ ถนน สาธารณะ ได้ เนื่องจาก เดิม ที่ดิน ของโจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6 กับ ที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สี่ เป็น ที่ดิน แปลงเดียว กัน เมื่อ แบ่งแยก แล้ว ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6 ไม่มี ทาง ออกไป สู่ ทางสาธารณะ ได้ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6 จึง มีสิทธิ ขอให้ เปิด ทางจำเป็น ได้ โดย ไม่ต้อง เสีย ค่าตอบแทน ตาม บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ส่วน ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 7ถึง ที่ 10 มี ที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สี่ ล้อม อยู่ จน ไม่มี ทาง ออก ถึง ทางสาธารณะ ได้ โจทก์ ที่ 7 ถึง ที่ 10 มีสิทธิ ขอให้ เปิด ทาง จำเป็น ได้ ตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ฎีกา ของ จำเลยทั้ง สี่ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ปัญหา ข้อ ต่อไป ตาม ที่ จำเลย ทั้ง สี่ ฎีกา ว่า การ ที่ ศาลอุทธรณ์ไม่รับ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สี่ ใน ข้อ ที่ ว่า ศาลชั้นต้น พิพากษาให้ จำเลย ทั้ง สี่ เปิด ทาง จำเป็น ถึง 4 สาย ทำให้ จำเลย ทั้ง สี่ได้รับ ความเสียหาย ควร ให้ จำเลย ทั้ง สี่ เปิด ทาง จำเป็น เพียง สาย เดียวคือ ทาง สาย ที่ 2 โดย อ้างว่า จำเลย ทั้ง สี่ มิได้ ยกขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ในศาลชั้นต้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 เป็นการ ไม่ชอบ นั้น เห็นว่า กรณี นี้ เป็น การ รวม พิจารณา คดี ซึ่ง โจทก์ ทั้ง สิบต่าง ใช้ สิทธิ ฟ้อง จำเลย ทั้ง สี่ มา รวม 10 สำนวน และ จำเลย ทั้ง สี่ใน แต่ละ สำนวน ได้ ให้การ ปฏิเสธ แล้ว ว่า โจทก์ ทั้ง สิบ มี ทาง ออก สู่ถนน สาธารณะ ได้ ที่ โจทก์ ทั้ง สิบ ขอ มา นั้น ไม่ใช่ ทาง จำเป็น เช่นนี้ย่อม ถือได้ว่า จำเลย ทั้ง สี่ ได้ ยกขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ แล้ว การ ที่ศาลอุทธรณ์ ไม่รับ วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สี่ จึง ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควร วินิจฉัย อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สี่ ดังกล่าว โดย ไม่ต้องย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย อีก ที่ จำเลย ทั้ง สี่ อุทธรณ์ ว่าควร ให้ จำเลย ทั้ง สี่ เปิด ทาง จำเป็น เพียง สาย เดียว คือ สาย ที่ 2 นั้นเห็นว่า โจทก์ ทั้ง สิบ ต่าง ใช้ สิทธิ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ทั้ง สี่ เปิด ทางจำเป็น ใน แต่ละ สำนวน มิได้ ขอ รวมกัน มา ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ให้ รวมพิจารณา และ พิพากษา เข้า ด้วยกัน ก็ เพื่อ ความสะดวก ใน การ พิจารณา เท่านั้นเมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ที่ดิน ของ โจทก์ ทั้ง สิบ ใน แต่ละ สำนวน ถูกที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สี่ ล้อม อยู่ จน ไม่มี ทาง ออก ถึง ทางสาธารณะ ได้ศาล ย่อม มีอำนาจ พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สี่ เปิด ทาง จำเป็น ให้ แก่ โจทก์ทั้ง สิบ ใน แต่ละ สำนวน ตาม ความจำเป็น ได้ ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ จำเลยทั้ง สี่ เปิด ทาง จำเป็น 4 สาย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สิบ นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของจำเลย ทั้ง สี่ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน
อนึ่ง ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ศาล พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สี่ จดทะเบียนภารจำยอม เปิด ทาง จำเป็น ใน ที่ดิน โฉนด เลขที่ 6351, 52982, 52979,52980, 52981, 52977,52978, 52948, 49114, 49112 และ 45371หาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา แทน การแสดง เจตนา นั้น เห็นว่าเมื่อ ฟัง ว่า ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6 กับ จำเลย ทั้ง สี่ เป็น ที่ดินแปลง เดียว กัน เมื่อ แบ่งแยก แล้ว ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6ไม่มี ทาง ออก สู่ ทางสาธารณะ โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 6 จึง ใช้ สิทธิ ขอให้เปิด ทาง จำเป็น ได้ ตาม บทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350ส่วน ที่ดิน ของ โจทก์ ที่ 7 ถึง ที่ 10 ถูก ที่ดิน ของ จำเลย ทั้ง สี่ ปิด ล้อมจน ไม่มี ทาง ออก ถึง ทางสาธารณะ ได้ โจทก์ ที่ 7 ถึง ที่ 10 มีสิทธิขอให้ เปิด ทาง จำเป็น ได้ ตาม บทบัญญัติ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 โดย ไม่จำเป็น ต้อง จดทะเบียน อีก คำพิพากษา ศาลล่างทั้ง สอง ใน ส่วน นี้ จึง ไม่ชอบ ศาลฎีกา เห็นสมควร แก้ไข ให้ ถูกต้อง ”
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก คำขอ ที่ ให้ จำเลย ทั้ง สี่ ไป จดทะเบียนภารจำยอม เปิด ทาง จำเป็น ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สิบ นอกจาก ที่ แก้ คง ให้เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์