แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยผู้เป็นทายาทชั้นเดียวกัน โดยกล่าวในฟ้องว่าได้ปกครองทรัพย์นั้นร่วมกับจำลยฝ่ายจำเลยต่อสู้ว่า ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้จำเลยและต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ครอบครอง โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 1 ปีแล้ว เมื่อปรากฎว่าโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปีแล้ว เช่นนี้โจทก์ย่อมมีหน้าที่นำสืบก่อนว่าเหตุใดตนจึงชอบที่จะฟ้องคดีเกิน 1 ปีได้ ถ้าโจทก์จำเลยต่างไม่สืบพยาน จำเลยก็ย่อมชนะคดี
ย่อยาว
โจทก์, จำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันโจทก์ฟ้องเรียกเอามรดกของบิดาจากจำเลยครึ่งหนึ่งโดยกล่าวในฟ้องว่า ได้ปกครองที่พิพาทร่วมกับจำเลยมาง
จำเลยต่อสู้ว่า บิดาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้จำเลยกับน้องคนอื่นแล้ว และต่อสู้ว่าจำเลยครอบครองมาฝ่ายเดียว โจทก์นำคดีมาฟ้องเกิน ๑ ปี คดีขาดอายุความแล้ว
คู่ความต่างไม่สืบพยาน และรับว่านายคล้อยบิดาตามเมื่อเดือน ๑๑ พ.ศ. ๒๔๘๙ (เกิน ๑ ปีแล้ว)
ศาชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี
จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากกลับให้ยกฟ้อง
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาเห็นว่าที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าได้ปกครองที่พิพาทร่วมมากับจำเลย เพื่อเป็นข้อสำคัญในการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเจ้ามรดกตายมากว่า ๑ ปีได้นั้น เมื่อไม่มีการสืบพยานกันก็รับฟังเป็นความจริงไม่ได้ และที่ฝ่ายจำเลยอ้างว่านายคล้อยทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้จำเลยและนายสำราญ ก็ฟังไม่ได้เช่นเดียวกัน
คงเหลือข้อสำคัญต่อไปว่า นายคล้อยเจ้ามรดกตายไปกว่า ๑ ปีแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้ขอแบ่งมรดกจากจำเลยผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกเช่นเดียวกับโจทก์และจำเลยก็ตัดฟ้องว่าคดีขาด อายุความตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา ๑๕๗๔ และโจทก์ก็ไม่นำสืบแก้ไขประการใด คดีโจทก์ไม่มีทางชนะ
จึงพิพากษายืน