แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ส. เป็นกรรมกรก่อสร้างของบริษัทที่สามีโจทก์เป็นผู้จัดการได้เข้าไปอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทเพราะได้รับมอบหมายให้ครอบครองแทนโจทก์หรือสามีโจทก์การที่จำเลยที่1ซึ่งเป็นภรรยาของ ส. เข้าไปอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นการ อาศัยสิทธิของ ส.แม้ต่อมา ส.ถึงแก่ความตายก็ไม่ทำให้จำเลยที่1ถือสิทธิเป็นเจ้าของได้กรณีถือว่ายังครอบครองแทนเจ้าของเดิมอยู่และไม่มีสิทธินำที่ดินและบ้านพิพาทไปขายได้ดังนั้นจำเลยที่2จะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลยที่1หรือไม่และเข้าครอบครองมานานเท่าใดจะเสีย ค่าตอบแทนและซื้อโดยสุจริตหรือไม่ก็ ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ และไม่อาจอ้างการ ครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะถือว่าจำเลยที่2 ครอบครองแทนเจ้าของเดิม
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ พิพากษา ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาท โฉนด ตรา จอง เลขที่ 8037 และ 5934 พร้อม บ้าน พิพาทให้ จำเลย ทั้ง สอง ชดใช้ ราคา บ้าน พิพาท เป็น เงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้องจนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ ให้ จำเลย ที่ 2 เพิกถอน หลักฐานทาง ทะเบียน ที่ มี ชื่อ จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาทหาก ไม่ เพิกถอน ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา แทนและ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออกจาก ที่ดินพิพาทและ ส่งมอบ คืน โจทก์ หาก ไม่สามารถ เพิกถอน ทาง ทะเบียน และ ส่งมอบที่ดินพิพาท คืน โจทก์ ได้ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ ราคา ที่ดิน เป็นเงิน 1,521,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปีใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทโฉนด ตรา จอง เลขที่ 8037 และ 5934 ตำบล บ้านคลอง อำเภอ เมือง พิษณุโลก จังหวัด พิษณุโลก พร้อม บ้าน พิพาท ให้ จำเลย ที่ 2 ชดใช้ราคา บ้าน พิพาท ที่ รื้อถอน ไป เป็น เงิน 50,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง จนกว่าจะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ และ ให้ จำเลย ที่ 2 เพิกถอน หลักฐาน ทาง ทะเบียนที่ มี ชื่อ จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท หากไม่ เพิกถอน ให้ ถือเอา คำพิพากษา ของ ศาล เป็น การแสดง เจตนา แทน ให้จำเลย ทั้ง สอง ขนย้าย ทรัพย์สิน และ บริวาร ออกจาก ที่ดินพิพาท และส่งมอบ คืน โจทก์ หาก จำเลย ที่ 2 ไม่สามารถ เพิกถอน ทาง ทะเบียนและ ส่งมอบ ที่ดินพิพาท คืน โจทก์ ได้ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชดใช้ ราคาที่ดิน เป็น เงิน 1,521,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่งต่อ ปี ใน ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่ วันฟ้อง จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 2 พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ตาม ที่ คู่ความ นำสืบ รับ กัน ว่า ที่ดินพิพาท ทั้ง สอง แปลง ตามโฉนด ตรา จอง เลขที่ 5934 และ 8037 ตำบล บ้านคลอง อำเภอ เมือง พิษณุโลก จังหวัด พิษณุโลก อยู่ ติดต่อ กัน เดิม มี ชื่อ โจทก์ เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ ต่อมา เมื่อ ปี 2528 จำเลย ที่ 2 ยื่น คำร้องขอ ต่อศาลชั้นต้น เพื่อ ให้ มี คำสั่ง ว่า ที่ดินพิพาท เป็น ของ ตน โดย การครอบครองปรปักษ์ ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้ว มี คำสั่ง ว่า ที่ดิน ดังกล่าว เป็นของ จำเลย ที่ 2 ตาม คำร้องขอ คดีถึงที่สุด แล้ว ตาม สำนวน คดีแพ่งหมายเลขแดง ที่ 263/2528 และ 462/2528 ของ ศาลชั้นต้นหลังจาก นั้น จำเลย ที่ 2 ดำเนินการ ขอ ออก ใบแทน โฉนด ตรา จอง และจดทะเบียน ใส่ ชื่อ จำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ กรรมสิทธิ์ แทน แต่ โจทก์ทราบ เรื่อง จึง แจ้ง อายัด ที่ดิน และ นำ คดี มา ฟ้อง
มี ปัญหา ที่ ต้อง พิจารณา ใน ชั้น นี้ ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 เป็นประเด็น แรก ว่าการ ที่ จำเลย ที่ 2 ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดินพิพาท โดยการ ครอบครองปรปักษ์ ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น ซึ่ง ถึงที่สุด แล้วจะ ใช้ ยัน โจทก์ หรือ บุคคลภายนอก ได้ หรือไม่ เห็นว่าตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) บัญญัติ ว่าคำพิพากษา ที่ วินิจฉัย ถึง กรรมสิทธิ์ แห่ง ทรัพย์สิน ใด ๆ เป็น คุณ แก่คู่ความ ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง อาจ ใช้ ยัน แก่ บุคคลภายนอก ได้ เว้นแต่ บุคคลภายนอก นั้น จะ พิสูจน์ ได้ว่า ตน มีสิทธิ ดีกว่า ซึ่ง บุคคลภายนอก ตามความหมาย ของ มาตรา นี้ ก็ คือ ผู้ที่ มิได้ เป็น คู่ความ ใน คดี เดิม ดังนั้นแม้ จะ มี คำพิพากษา อัน ถึงที่สุด วินิจฉัย ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินพิพาท โดย การ ครอบครองปรปักษ์ ไม่ผูกพัน โจทก์ จึง มี ปัญหาต้อง วินิจฉัย ต่อไป ว่า โจทก์ หรือ จำเลย ที่ 2 ฝ่ายใด มีสิทธิ ใน ที่ดินพิพาท ดีกว่า กัน โดย จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า ตาม ที่ โจทก์ นำสืบ ไม่ น่าเชื่อ ว่า โจทก์ หรือ สามี โจทก์ มอบหมาย ให้ ผู้อื่น ดูแล ที่ดินพิพาท แทนแต่ น่า จะ เป็น เพราะ โจทก์ เจตนา สละ การ ครอบครอง เนื่องจาก ขณะที่โจทก์ และ สามี ย้าย ไป อยู่ ที่อื่น เมื่อ ประมาณ 30 ปี ก่อน นั้น ที่ดินพิพาทไม่มี ราคา ใน ปัญหา นี้ พยาน จำเลย ที่ 2 จึง ไม่อาจ หักล้าง พยานโจทก์กรณี น่าเชื่อ ว่า นาย สงวน เป็น กรรมการ ก่อสร้าง ของ บริษัท ยูคอน ที่ สามี โจทก์ เป็น ผู้จัดการ และ การ เข้า ไป อยู่ ใน ที่ดิน และ บ้าน พิพาทของ นาย สงวน เป็น เพราะ ได้รับ มอบหมาย ให้ ครอบครองแทน โจทก์ หรือ สามี โจทก์ นั่นเอง จำเลย ที่ 1 มิใช่ คนงาน ของ บริษัท ยูคอน แต่ เป็น ภรรยา ของ นาย สงวน การ เข้า ไป อยู่ ใน ที่ดิน และ บ้าน พิพาท จึง เป็น กรณี อาศัย สิทธิ ของ นาย สงวน ไม่อาจ อ้างว่า ตน ครอบครอง ที่ดิน และ บ้าน พิพาท อย่าง เป็น เจ้าของ ได้ ทั้ง ไม่ปรากฏ ข้อเท็จจริง ว่า นาย สงวน หรือ จำเลย ที่ 1 เปลี่ยน ลักษณะ แห่ง การ ยึดถือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 จึง ยัง คง ถือว่านาย สงวน และ จำเลย ที่ 1 ครอบครอง ที่ดิน และ บ้าน พิพาท แทน เจ้าของ เดิม แม้ ต่อมา นาย สงวน จะ ถึงแก่ความตาย ก็ ไม่ทำ ให้ จำเลย ที่ 1ถือ สิทธิ เป็น เจ้าของ ได้ ต้อง ถือว่า จำเลย ที่ 1 ครอบครองแทน เจ้าของเดิม อยู่ ไม่มี สิทธิ นำ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท ไป ขาย ให้ แก่ ผู้ใด ดังนั้นไม่ว่า จำเลย ที่ 2 จะซื้อ ที่ดิน และ บ้าน พิพาท จาก จำเลย ที่ 1จริง หรือไม่ และ เข้า ครอบครอง มา นาน เท่าใด จะ เสีย ค่าตอบแทนและ ซื้อ โดยสุจริต หรือไม่ ก็ ไม่อาจ ได้ กรรมสิทธิ์ และ ไม่อาจ อ้างการ ครอบครองปรปักษ์ ขึ้น ต่อสู้ โจทก์ ผู้เป็น เจ้าของ อยู่ แต่ เดิม ได้เพราะ ถือว่า จำเลย ที่ 2 ครอบครองแทน เจ้าของ เดิม เทียบ ตาม นัยคำพิพากษา ศาลฎีกา ที่ 2978/2533 ระหว่าง นาง บุญจิรา พิพิธสุนทร โจทก์ นาย ทรงวุฒิ นาทอง กับพวก จำเลย ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 2วินิจฉัย มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ”
พิพากษายืน