คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1764/2498

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

สามีภรรยาต่างทำพินัยกรรมให้แก่กัน พินัยกรรมของภรรยามีข้อความว่า ” เมื่อข้าพเจ้าอายชนม์แล้ว บรรดาทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าซึ่งมีอยู่ในเวลานี้และมีต่อไปภายหน้า ขอให้ตกเป็นกรรมสิทธิแก่สามี (ขุนอุปพงษ์ฯ) ผู้รับพินัยกรรม แต่ถ้าขุนอุปพงษ์ ฯ ถึงแก่กรรมล่วงลับไปก่อนข้าพเจ้าก็ขอให้ทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายของข้าพเจ้าตกเป็นกรรมสิทธิแก่โจทก์(คุณหญิงเลขวณิช ฯ) เป็นผู้รับพินัยกรรม ฯลฯ ” และตามพินัยกรรมของสามี (ขุนอุปพงษ์ฯ) ก็มีข้อความทำนองเดียวกัน ยกทรัพย์ให้แก่ภรรยา (นางจันทร์) ถ้านางจันทร์ล่วงลับไปก่อนก็ยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ (คุณหญิงเลขวณิชฯ)
ดังนี้เมื่อภรรยา(นางจันทร์) ตายไปก่อน ทรัพย์มรดกของภรรยา(นางจันทร์) ก็ตกได้แก่สามี (ขุนอุปพงษ์) ตามพินัยกรรม สามีย่อมมีสิทธิที่จะยกทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นได้ไม่มีข้อผูกพันตาม ก.ม. ที่สามี (ขุนอุปพงษ์) จำต้องยกทรัพย์ให้แก่โจทก์ เพราะทรัพย์นั้นเป็นของสามี(ขุนอุปพงษ์ฯ) โดยเด็ดขาด ตาม ก.ม.สามีมีสิทธิจะยกทรัพย์ให้ใคร ๆ ก็ได้แล้ว ต่อมาทำพินัยกรรมยกทรัพย์ไปให้ผู้อื่นมิได้ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้กับภรรยาว่าจะให้โจทก์ก็ตามก็ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตเพราะข้อตกลงนั้นฟังได้อย่างมากก็เพียงว่าผู้ทำพินัยกรรมทั้งสองตกลงจะ

ย่อยาว

คดีนี้โจทก์ฟ้องและยื่นคำร้องเพิ่มเติมฟ้องว่า ขุนอุปพงษ์พิพัฒน์กับนางจันทร์ อุปพงษ์พิพัฒน์ เป็นสามีภรรยากันและไม่มีบุตร ประสงค์จะให้โจทก์เป็นผู้รับมรดก จึงทำพินัยกรรมขึ้นคนละฉบับ กล่าวคือขุนอุปพงษ์ ฯ ทำพินัยกรรม+ ให้แก่นางจันทร์ ถ้านางจันทร์ตายไปก่อนให้มรดกได้เป็นสิทธิแก่โจทก์ นางจันทร์ทำพินัยกรรมว่ายกทรัพย์มรดกให้แก่ขุนอุปพงษ์ฯ ถ้าขุนอุปพงษ์ ฯ ตายไปก่อนให้มรดกเป็นสิทธิแก่โจทก์ (ตามพินัยกรรมลงวันที่ ๒๔ ส.ค.๘๒ ) ต่อมาวันที่ ๑๗ พ.ย.๘๔ นางจันทร์ถึงแก่ความตาย และวันที่ ๑๒ ก.ค. ๙๓ ขุนอุปพงษ์ ฯได้ถึงแก่กรรม จำเลยขัดขวางในการที่โจทก์จะรับมรดก จึงขอให้ศาลแสดงว่าพินัยกรรมของขุนอุปพงษ์ ฯ ฉบับลงวันที่ ๒๙ ส.ค.๘๒ เป็นพินัยกรรมที่ชอบด้วย ก.ม. ให้จำเลยส่งทรัพย์สินของผู้ตายตามบัญญัติท้ายฟ้องให้โจทก์ ฯลฯ
จำเลยให้การและเพิ่มเติมคำให้การว่าจำเลยเป็นภรรยาขุนอุปพงษ์ ฯ เจ้ามรดกโดยชอบด้วย ก.ม. สำเนาพินัยกรรมท้ายฟ้อง ขุนอุปพงษ์ ฯ ทำไว้จริง แต่ถูกยกเลิกแล้วตามพินัยกรรมของขุนอุปพงษ์ฯ ลงวันที่ ๑๑ มี.ค.๙๓ ซึ่งยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่จำเลยผู้เดียว ฯลฯ
คู่ความรับกันกัน จำเลยเป็นภรรยาขุนอุปพงษ์ ฯ ส่วนประเด็นโต้เถึยงมีดังนี้
(๑) พินัยกรรมที่จำเลยอ้างเป็นพินัยกรรมที่สมบูรณ์ตาม ก.ม.หรือไม่ (พินัยกรรมลงวันที่ ๑๑ มี.ค.๙๓)
(๒) ทรัพย์มรดกคือแหวนเพชรและเงินสด ๗,๔๐๐ บาท และตามบัญชีท้ายคำร้องของโจทก์ลงวันที่ ๒๘ ธ.ค.๙๓ อันดับ ๑ ถึง ๘ เป็นทรัพย์มรดกและมีอยู่ที่จำเลยหรือไม่
(๓) ข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่โจทก์ได้พรรณามาในฟ้อง
ประเด็นข้อ (๑) จำเลยรับสืบก่อนประเด็นข้อ (๒),(๓) โจทก์รับสืบก่อน ศาลสั่งให้จำเลยสืบตามประเด็นข้อ (๑) ก่อน เสร็จแล้วจึงจะสั่งว่าควรจะให้โจทก์สืบตามประเด็นข้อ (๒) และ (๓) หรือไม่

Share