คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

จำเลยได้ทำร้ายผู้ตายหลังจากนั้นจำเลยจึงไปแจ้งความว่าผู้ตายบุกรุกเจ้าพนักงานตำรวจนำตัวผู้ตายส่งโรงพยาบาลและต่อมาถึงแก่ความตายพนักงานสอบสวนจึงร่วมกับแพทย์ชันสูตรพลิกศพผู้ตายไว้โดยที่ขณะผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายนั้นผู้ตายมิได้เป็นผู้ต้องหาในข้อหาบุกรุกและมิได้อยู่ในความควบคุมตัวของเจ้าพนักงานแต่อย่างใดแม้ผู้ตายจะถึงแก่ความตายในระหว่างที่เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวส่งโรงพยาบาลก็ไม่ใช่กรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่จึงไม่ใช่กรณีที่ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา150วรรคสามเมื่อพนักงานสอบสวนและแพทย์ทำการชันสูตรพลิกศพเสร็จแล้วพนักงานอัยการโจทก์จึงมี อำนาจฟ้องจำเลยได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ทำร้ายร่างกาย นาย โชติ ชินกลาง ผู้ตาย เป็นเหตุ ให้ สมอง ถูก กระทบ กระเทือน อย่าง แรง จน ถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ว่า จำเลย มี ความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคแรก ให้ จำคุก 6 ปี คำให้การชั้นสอบสวน ของ จำเลย เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา อยู่ บ้าง มีเหตุบรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78คง จำคุก 4 ปี
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษาแก้ เป็น ว่า ลงโทษ จำคุก 3 ปี คำให้การของ จำเลย ใน ชั้น มอบตัว และ ชั้นสอบสวน เป็น ประโยชน์ แก่ การ พิจารณา คดีมีเหตุ บรรเทา โทษ ลดโทษ ให้ หนึ่ง ใน สาม ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คง จำคุก 2 ปี นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ที่ จำเลย ฎีกา ว่า โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง เพราะ นาย โชติ เพราะ นาย โชติ ชินกลาง ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย ใน ขณะที่ เป็น ผู้ต้องหา ใน ข้อหา บุกรุก และ อยู่ ใน ระหว่าง การ ควบคุม ตัว และ ผู้ตายตาย ระหว่าง นำตัว ส่ง โรงพยาบาล จึง เป็น กรณี ที่ ผู้ตาย ตาย ใน ระหว่าง อยู่ใน ความ ควบคุม ของ เจ้าพนักงาน ที่ อ้างว่า ปฏิบัติ ราชการ ตาม หน้าที่พนักงานสอบสวน ชันสูตรพลิกศพ แล้วแต่ ไม่ส่ง สำนวน ชันสูตรพลิกศพ ไป ยังพนักงานอัยการ เพื่อ ดำเนินการ ทำ คำร้อง ต่อ ศาล การ ชันสูตรพลิกศพยัง ไม่ เสร็จสม บูรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150วรรคสาม ฟ้องโจทก์ ไม่ชอบ ด้วย มาตรา 129 นั้น ใน การ วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ดังกล่าว ศาลฎีกา ต้อง ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ ภาค 1ฟัง มา แล้ว จาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ว่า วันเกิดเหตุ ผู้ตาย ด่า ว่า จำเลยจำเลย ได้ เรียก ผู้ตาย มา ที่ กุฎิ ของ จำเลย เมื่อ มา ถึง ที่ กุฏิ แล้ว จำเลยได้ว่า กล่าว ตักเตือน ผู้ตาย ผู้ตาย ตะโกน ด้วย ความ โกรธ จาก นั้น ผู้ตายกำหมัด ยกขึ้น ทั้ง สอง ข้าง แล้ว เดิน เข้า มา หา จำเลย จึง เข้า กอด รัด ผู้ตายแล้ว ทุ่ม ผู้ตาย ลง กับ พื้น ซีเมนต์ ศีรษะ ของ ผู้ตาย ส่วน หน้าผาก ฟาด ลงกับ พื้น จำเลย เตะ ที่ หน้า ผู้ตาย 1 ครั้ง ผู้ตาย นอน นิ่ง ไม่ได้ สติจำเลย จึง ไป แจ้งความ ต่อ เจ้าพนักงาน ตำรวจ ว่า ผู้ตาย บุกรุกเจ้าพนักงาน ตำรวจ นำตัว ผู้ตาย ส่ง โรงพยาบาล และ ต่อมา ถึงแก่ความตายพนักงานสอบสวน ได้ ร่วม กับ แพทย์ ทำการ ชันสูตรพลิกศพ ผู้ตาย ไว้เห็นว่า ขณะที่ ผู้ตาย ถูก จำเลย ทำร้าย โดย ผู้ตาย มิได้ เป็น ผู้ต้องหา ในข้อหา บุกรุก และ อยู่ ใน ความ ควบคุม ตัว ของ เจ้าพนักงาน แต่อย่างใดแม้ ผู้ตาย จะ ถึงแก่ความตาย ใน ระหว่าง ที่ เจ้าพนักงาน ตำรวจ นำตัว ส่งโรงพยาบาล ก็ ไม่ใช่ กรณี ที่ มี ความตาย เกิดขึ้น โดย การกระทำ ของเจ้าพนักงาน ซึ่ง อ้างว่า ปฏิบัติ ราชการ ตาม หน้าที่ หรือ ตาย ใน ระหว่าง อยู่ใน ความ ควบคุม ของ เจ้าพนักงาน ซึ่ง อ้างว่า ปฏิบัติ ราชการ ตาม หน้าที่จึง ไม่ใช่ กรณี ที่ ต้อง ดำเนินการ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 150 วรรคสาม เมื่อ พนักงานสอบสวน และ แพทย์ ทำการ ชันสูตรพลิก ศพ เสร็จ แล้ว พนักงานอัยการ โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ได้ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษา ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง จำเลย ชอบแล้ว ”
พิพากษายืน

Share