คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2539

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

เมื่อพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมพ.ศ.2517มาตรา44มิได้ห้ามเด็ดขาดไม่ให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินโอนสิทธิในที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นเจ้าของที่ดินหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในที่ดินยังอยู่ในวิสัยที่จะโอนสิทธิในที่ดินภายในกำหนดเวลาห้ามโอนให้แก่ผู้อื่นได้หากได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางดังนั้นสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยว่าโจทก์จะโอนที่ดินให้แก่จำเลยเมื่อได้รับอนุญาตจากทางราชการจึงไม่ใช่สัญญาที่กระทำลงโดยมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายสัญญาดังกล่าวมีผลสมบูรณ์บังคับกันได้

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง และ แก้ไข คำฟ้อง ว่า เมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม 2532จำเลย ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ 29428 กับ โจทก์ ใน ราคา840,000 บาท จะ โอน กัน เมื่อ โจทก์ ได้รับ อนุญาต จาก ทางราชการ ให้โอน ได้ ใน วันที่ 4 พฤษภาคม 2533 จำเลย วาง มัดจำ ไว้ เป็น เงิน200,000 บาท หาก ผิดสัญญา ยอม ให้ โจทก์ ริบ เงินมัดจำ โจทก์ ได้ มอบโฉนด ที่ดิน ให้ จำเลย ยึดถือ ไว้ และ กำหนด เงื่อนไข การ ชำระ เงิน ในวันที่ 16 สิงหาคม 2532 จำนวน 23,000 บาท วันที่ 23 สิงหาคม 2532จำนวน 20,000 บาท วันที่ 15 ธันวาคม 2532 จำนวน 270,000 บาทที่ เหลือ จะ ชำระ หมด ภายใน ปี 2532 แต่ จำเลย ผิดนัด ไม่ชำระ เงิน จำนวน270,000 บาท แก่ โจทก์ โจทก์ จึง บอกเลิก สัญญา และ ให้ จำเลย ส่งมอบโฉนด ที่ดิน คืน แต่ จำเลย เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย ส่งมอบ โฉนด ที่ดินดังกล่าว แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ และ ฟ้องแย้ง ว่า จำเลย ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดินตาม ฟ้อง กับ โจทก์ โดย ตกลง กัน ว่า จะ ชำระ ราคา ภายใน ปี 2532 แต่ มิได้กำหนด ว่า จะ ต้อง ชำระ ราคา เป็น งวด ตาม ที่ โจทก์ อ้าง ระหว่าง ที่ ยังมิได้ ทำการ โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน โจทก์ ต้องการ เงิน ไป ใช้ จ่าย รักษา ตัวขอให้ จำเลย ชำระ เงิน ให้ โจทก์ ล่วงหน้า จำเลย ชำระ ให้ ไป หลาย ครั้งโดย ทำ บันทึก การ รับ เงิน ไว้ ใน สัญญา และ จำเลย ได้ ชำระ ราคา ที่ดิน จำนวน270,000 บาท ให้ โจทก์ แล้ว มิได้ ผิดสัญญา แต่อย่างใด กับ ได้ แจ้ง นัดจดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ สำนักงาน ที่ดิน ให้ โจทก์ ทราบ และ จะ นำ เงินที่ เหลือ 547,000 บาท ไป มอบ ให้ ใน วันนัด แต่ โจทก์ กลับ ไม่ยอม ไป ตาม นัดถึง 2 ครั้ง จำเลย ได้ ทำ สัญญาจะขาย ที่ดินพิพาท ให้ บุคคลภายนอก ใน ราคา1,840,000 บาท โดย รับ เงินมัดจำ ไว้ แล้วแต่ โจทก์ ไม่ยอม จดทะเบียนโอน ที่ดิน ให้ จำเลย ทำให้ ขาด กำไร ที่ จะ ได้ 1,000,000 บาท ขอให้ยกฟ้อง และ บังคับ ให้ โจทก์ ชำระ ค่าเสียหาย จำนวน 1,000,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย และ ให้ โจทก์ ไป จดทะเบียน โอน ที่ดินพิพาท ให้ จำเลยหาก ไม่ไป ให้ ถือเอา คำพิพากษา เป็น การแสดง เจตนา แทน โดย จำเลยจะ ชำระ ค่าที่ดิน ที่ เหลือ 547,000 บาท แก่ โจทก์
โจทก์ ให้การ แก้ฟ้อง แย้ง ยืนยัน ตาม ฟ้อง และ ว่า ที่ จำเลย อ้างว่าทำ สัญญาจะขาย ที่ดินพิพาท ให้ บุคคลภายนอก ไว้ ก็ ไม่เป็น ความจริงโจทก์ ไม่ต้อง ชดใช้ ค่าเสียหาย ขอให้ ยกฟ้อง แย้ง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษายก ฟ้องโจทก์ และ ยกฟ้อง แย้ง จำเลย
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
โจทก์ และ จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ที่ คู่ความไม่ได้ โต้เถียง กัน รับฟัง ได้ว่า เมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม 2532 จำเลย ได้ทำ สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน กับ โจทก์ ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ใน ราคา 840,000บาท ใน วัน ทำ สัญญา ผู้ซื้อ วาง มัดจำ ไว้ เป็น เงิน 200,000 บาทเงิน ที่ เหลือ จะ ชำระ หมด ภายใน ปี 2532 ผู้ซื้อ เป็น ผู้ถือ โฉนด ที่ดิน แปลงพิพาท ไว้ และ มา บอกเลิก สัญญา ตั้งแต่ วันที่ 22 ธันวาคม 2532 หาได้ไม่เพราะ ใน สัญญา ระบุ ว่า ผู้ซื้อ จะ ชำระ เงิน หมด ภายใน ปี 2532ซึ่ง หมายถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2532 เป็น วัน สุดท้าย พยานหลักฐานจำเลย ฟังได้ ว่า จำเลย ได้ มี หนังสือ และ โทรเลข ให้ โจทก์ และ ทนายโจทก์ไป รับ เงิน ที่ เหลือ ที่ สำนักงาน ที่ดิน ใน วันที่ 29 ธันวาคม 2532แต่ โจทก์ และ ทนายโจทก์ ไม่ได้ ไป รับ เงิน ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง วินิจฉัย ว่าจำเลย ไม่ได้ เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา ของ โจทก์ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น
ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ ต่อไป ว่า สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน ตาม เอกสาร หมายล. 1 ได้ กระทำ ลง โดย มี วัตถุประสงค์ ที่ ขัด ต่อ กฎหมาย เพราะ ที่ดินของ โจทก์ ถูก ห้ามโอน ภายใน 5 ปี ตาม มาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติ จัด รูป ที่ดิน เพื่อ การเกษตร กรรม พ.ศ. 2517 นับแต่วันที่ 15 มีนาคม 2531 จึง ไม่สามารถ โอน กรรมสิทธิ์ ใน วันที่4 พฤษภาคม 2533 ได้ นั้น เห็นว่า มาตรา 44 แห่ง พระราชบัญญัติ จัด รูปที่ดิน เพื่อ การเกษตร กรรม พ.ศ. 2517 บัญญัติ ว่า “ภายใน กำหนดห้า ปี นับแต่ วันที่ ได้รับ หนังสือ แสดง สิทธิ ใน ที่ดิน ใน เขต โครงการ จัด รูปที่ดิน เจ้าของ ที่ดิน จะ โอน โฉนด เมื่อ ทางการ อนุญาต ใน วันที่4 พฤษภาคม 2533 คดี มี ปัญหา วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ แรก ว่าจำเลย เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ไม่ชำระ ราคา ที่ดิน ให้ โจทก์ หรือไม่ เห็นว่าตาม สัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน เอกสาร หมาย ล. 1 มี ข้อความ เรื่องชำระ ราคา ที่ดิน ว่า ผู้จะซื้อ จะ ชำระ เงิน หมด ภายใน ปี 2532 โดย ไม่มีเงื่อนไข ว่า จำเลย จะ ต้อง จ่ายเงิน ที่ เหลือ เป็น งวด ๆ ให้ โจทก์ แต่อย่างใด ส่วน ที่ มี บันทึก การ รับ เงิน และ รับ เช็ค ไว้ ใน สัญญา เอกสาร หมายล. 1 น่าเชื่อ ว่า เป็น เรื่อง ที่ โจทก์ ต้องการ ใช้ เงิน จึง ขอร้อง ให้ จำเลยชำระ เงิน ก่อน กำหนด และ เป็น หลักฐาน ว่า จำเลย ได้ จ่ายเงิน ค่าที่ดิน พิพาทให้ โจทก์ ไป แล้ว เป็น จำนวน เท่าใด หาใช่ เป็น เรื่อง มี ข้อตกลง ใน สัญญาว่า มี เงื่อนไข ชำระ เงิน ใน วันที่ 16 สิงหาคม 2532 จำนวน 23,000 บาทวันที่ 23 สิงหาคม 2532 จำนวน 20,000 บาท และ วันที่15 ธันวาคม 2532 จำนวน 270,000 บาท ดัง ที่ โจทก์ อ้าง ไม่ ดังนั้น การที่ จำเลย สั่งจ่าย เช็ค ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2532 จำนวนเงินบาท ให้ โจทก์ ตาม คำขอ ร้องของโจทก์ โดย ไม่ ปรากฎ ว่า เป็น เงื่อนไขใน สัญญา แม้ เช็ค ดังกล่าว จะ ถูก ธนาคาร ปฎิเสธการ จ่ายเงิน โจทก์ จะ อ้างเหตุ นี้ หรือ ผู้ที่ได้รับ สิทธิ ใน ที่ดิน จะ โอนสิทธิ ใน ที่ดิน นั้น ไป ยังผู้อื่น มิได้ เว้นแต่ เมื่อ ได้รับ อนุญาต เป็น หนังสือ จาก คณะกรรมการการ จัด รูป ที่ดิน กลาง ” ตาม บทบัญญัติ ดังกล่าว แสดง ให้ เห็นว่า กฎหมายมิได้ ห้าม เด็ดขาด ไม่ให้ เจ้าของ ที่ดิน หรือ ผู้ที่ได้รับ สิทธิ ใน ที่ดินใน เขต โครงการ จัด รูป ที่ดิน โอนสิทธิ ใน ที่ดิน นั้น ให้ แก่ ผู้อื่น เจ้าของที่ดิน หรือ ผู้ที่ได้รับ สิทธิ ใน ที่ดิน ยัง อยู่ ใน วิสัย ที่ จะ โอนสิทธิ ในที่ดิน ภายใน กำหนด เวลา ห้ามโอน ให้ แก่ ผู้อื่น ได้ หาก ได้รับ อนุญาตเป็น หนังสือ จาก คณะกรรมการ จัด รูป ที่ดิน กลาง ดังนั้น สัญญาจะซื้อขายที่ดิน ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ซึ่ง โจทก์ ได้ ตกลง กับ จำเลย ว่า โจทก์จะ โอน ที่ดิน ให้ แก่ จำเลย เมื่อ ได้รับ อนุญาต จาก ทางราชการ จึง ไม่ใช่สัญญา ที่ กระทำ ลง โดย มี วัตถุประสงค์ ที่ ขัด ต่อ กฎหมาย สัญญา ดังกล่าวมีผล สมบูรณ์ บังคับ กัน ได้ ฎีกา ของ โจทก์ ข้อ นี้ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share