คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

จำเลยที่1ขับรถโดยสารด้วยความเร็วสูงแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นไปชนรถท้ายรถบรรทุกลากจูงที่จำเลยที่4เป็นผู้ควบคุมและจอดล้ำออกมาโดยไม่ได้เปิดไฟย่อมเป็นความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่ายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันความรับผิดระหว่างฝ่ายรถลากจูงและรถโดยสารจึงเป็นพับกันไปแต่ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ซึ่งโดยสารมาในรถประจำทางเมื่อโจทก์มิได้ฟ้องฝ่ายรถลากจูงให้ร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนและมิได้ฎีกาขอให้กำหนดค่าสินไหมทดแทนสูงขึ้นฝ่ายรถโดยสารควรรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์กึ่งหนึ่งของที่ศาลอุทธรณ์กำหนด.

ย่อยาว

คดี ทั้ง สาม สำนวน นี้ ศาลชั้นต้น พิจารณา พิพากษา ร่วมกัน โดย ให้เรียก โจทก์ สำนวน แรก และ จำเลย ที่ 2 ใน สำนวน ที่ สาม ว่า โจทก์ ที่1 เรียก โจทก์ ที่ 1 ถึง ที่ 3 ใน สำนวน ที่ สอง ว่า โจทก์ ที่ 2 ที่ 3และ ที่ 4 และ เรียก จำเลย ที่ 1 ถึง ที่ 3 ใน สำนวน แรก และ สำนวน ที่สอง หรือ โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 1 ใน สำนวน ที่ สาม ว่า จำเลย ที่ 1 ที่2 และ ที่ 3 ส่วน จำเลย ที่ 1 ที่ 3 และ ที่ 4 ใน สำนวน ที่ สามเรียกว่า จำเลย ที่ 4 ที่ 5 และ ที่ 6
สำนวน แรก โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 เป็น สามี ภรรยา กันจำเลย ที่ 2 เป็น เจ้าของ รถยนต์ ประจำทาง ได้ นำ เข้า แล่น หา ประโยชน์ร่วมกับ จำเลย ที่ 3 ใน วัน เกิดเหตุ จำเลย ที่ 1 ได้ ขับ รถยนต์ โดยสารดังกล่าว โดยประมาท ชนท้าย รถยนต์ ของ โจทก์ ที่ 1 ซึ่ง มี จำเลย ที่ 4เป็น คน ขับ ทำ ให้ โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหาย ขอ ให้ จำเลย ที่ 1ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย 228,120 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ยให้ แก่ โจทก์ ที่ 1
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า เหตุ เกิด เพราะ ความ ประมาทของ จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของ โจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 3 ไม่ มีนิติสัมพันธ์ กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 จึง ไม่ ต้อง รับผิด ด้วยโจทก์ เรียก ค่าเสียหาย สูง เกินไป
สำนวน ที่ 2 โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 2 และที่ 3 กับ นาย ธาณิน เป็น บุตร ของ โจทก์ ที่ 4 ได้ โดยสาร มา กับรถยนต์ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับขี่ โดย ประมาท ชนกัน ทำ ให้ โจทก์ ได้รับ ความ เสียหาย ขอ ให้ จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ร่วมกัน ใช้ค่าเสียหาย ให้ แก่ โจทก์ 59,000 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย
จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ให้การ ว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 กับนาย ธาณิน ไม่ ได้ โดยสาร รถ คัน เกิดเหตุ โจทก์ ที่ 4 มิใช่ มารดา ของนาย ธาณิน เหตุ เกิด เพราะ ความ ประมาท ของ จำเลย ที่ 4 ซึ่ง เป็นลูกจ้าง ของ โจทก์ ที่ 1 โจทก์ เรียก ค่าเสียหาย สูง เกินไป
สำนวน ที่ สาม จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 4 ขับ รถโดย ประมาท ชน รถ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ เป็น เหตุ ให้ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 เสียหาย จำเลย ที่ 4 ลูกจ้าง ของ โจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 5หุ้นส่วน ผู้จัดการ ของ โจทก์ ที่ 1 โจทก์ ที่ 1 และ จำเลย ที่ 6ผู้รับ ประกันภัย รถยนต์ จาก โจทก์ ที่ 1 จะ ต้อง ร่วม รับผิด ด้วยขอ ให้ พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 4 โจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 5 และ ที่ 6ร่วมกัน ใช้ ค่าเสียหาย 298,285 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ให้ แก่ จำเลยที่ 1 และ ที่ 2
จำเลย ที่ 4 โจทก์ ที่ 1 จำเลย ที่ 5 และ ที่ 6 ให้การ ว่า เหตุ เกิดเพราะ ความ ประมาท ของ จำเลย ที่ 1 ค่า เสียหาย ที่ จำเลย ที่ 1 และที่ 2 เรียก มา สูง เกินไป
ศาลชั้นต้น วินิจฉัย ว่า เหตุ เกิดขึ้น เพราะ ความ ประมาท ของ จำเลยที่ 4 พิพากษา ให้ ยกฟ้อง โจทก์ ใน สำนวน แรก และ สำนวน ที่ สอง ในสำนวน ที่ สาม ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ร่วมกัน ใช้ เงิน 138,000บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ให้ แก่ โจทก์ ทั้ง สอง โดย ให้ จำเลย ที่ 4ร่วม รับผิด ใน วงเงิน ไม่เกิน 100,000 บาท ให้ ยกฟ้อง โจทก์ สำหรับจำเลย ที่ 3
โจทก์ ใน สำนวน แรก และ จำเลย ที่ 2 ใน สำนวน ที่ 3 โจทก์ ที่ 1 และที่ 3 ใน สำนวน ที่ สอง กับ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 4 ใน สำนวน ที่ สามอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา กลับ ให้ จำเลย ทั้ง สาม ใน สำนวน แรก และ สำนวนที่ สอง ร่วมกัน ใช้ ค่า เสียหาย แก่ โจทก์ใน สำนวน แรก 30,000 บาท แก่ โจทก์ ที่ 3ใน สำนวน ที่ สอง 5,000 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ให้ ยก อุทธรณ์ ของโจทก์ ที่ 1 ใน สำนวน ที่ สอง และ ให้ ยกฟ้อง โจทก์ ใน สำนวน ที่ สาม
จำเลย ทั้ง สาม ใน สำนวน แรก และ สำนวน ที่ สอง กับ โจทก์ ทั้ง สองใน สำนวน ที่ สาม ฎีกา
ศาลฎีกา ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ที่ 4 จอดรถ ลากจูง ล้ำ ออก มาโดย ไม่ เปิด สัญญาน ไฟ ไว้ จำเลย ที่ 1 ขับรถ โดยสาร ประจำทาง ด้วยความเร็ว สูง แซง ขึ้น หน้า รถ อื่น ไป ชน กับ รถ ลากจูง ทำ ให้ รถทั้ง สอง คัน เสียหาย และ ผู้โดยสาร ได้ รับ อันตราย แล้ว วินิจฉัยข้อกฎหมาย ว่า เมื่อ พิเคราะห์ ถึง จำเลย ที่ 1 ขับรถ แซง เพื่อ ขึ้นหน้า รถ อื่น เกิด ชนท้าย รถ บรรทุก ลากจูง ที่ จอด ล้ำ ออก ไป เป็นเหตุ ให้ รถ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ กับ รถบรรทุก ลากจูง ที่จอดเสียหาย และ โจทก์ ที่ 4 ซึ่ง โดยสาร มา ใน รถ คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับได้ รับ อันตราย เหตุ ที่ เกิดขึ้น ย่อม เนื่อง มาจาก ความผิด ของ จำเลยที่ 4 ผู้ ควบคุม รถ บรรทุก ลากจูง ของ โจทก์ ที่ 1 ที่ ละเลย ไม่ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม กฎหมาย ส่วนหนึ่ง แต่ แทน ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ขับรถใน ช่อง เดินรถ ซ้ายสุด เพื่อ ความ ปลอดภัย ต่อไป เพราะ ช่อง เดินรถด้าน ซ้ายสุด เป็น ช่อง เดินรถ ที่ สามารถ แล่น ได้ ปลอดภัย ตาม ปกติอยู่แล้ว จำเลย ที่ 1 กลับ ขับรถ ด้วย ความเร็ว สูง แซง ขึ้น หน้า รถอื่น โดย ไม่ อาจ แลเห็น ทาง ด้านหน้า ได้ พอ แก่ ความ ปลอดภัย เช่นนี้ ย่อม เป็น ความ ประมาท เลินเล่อ ของ ทั้ง สอง ฝ่าย ไม่ ยิ่งหย่อน กว่ากัน ความ รับผิด ระหว่าง ฝ่าย รถ บรรทุก ลากจูง และ รถ โดยสาร ประจำทางจึง เป็น พับ กัน ไป แต่ ทั้ง สอง ฝ่าย ต้อง ร่วม รับผิด ต่อ โจทก์ ที่4 ซึ่ง โดยสาร มา ใน รถโดยสาร ประจำทาง คัน ที่ จำเลย ที่ 1 ขับ ซึ่งศาลอุทธรณ์ กำหนด ให้ โจทก์ ที่ 4 ได้ รับ ชดใช้ ค่าสินไหม ทดแทน 5,000บาท เมื่อ โจทก์ ที่ 4 หรือ โจทก์ ที่ 3 ใน สำนวน ที่ สอง มิได้ ฟ้องโจทก์ ที่ 1 กับ จำเลย ที่ 4 ให้ ร่วม รับผิด ชดใช้ ค่า สินไหม ทดแทนและ ไม่ ได้ ฎีกา ขอ ให้ ศาล กำหนด ค่า สินไหม ทดแทน ให้ สูง ขึ้น แต่อย่างใด จำเลย ที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ควร รับผิด ใช้ ค่า สินไหม ทดแทนแก่ โจทก์ ที่ 4 กึ่งหนึ่ง เป็น เงิน 2,500 บาท
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ ยกฟ้อง โจทก์ ทั้ง สาม สำนวน เว้น แต่ โจทก์ที่ 3 ใน สำนวน ที่ สอง ให้ จำเลย ทั้ง สาม ใน สำนวน ที่ สอง ร่วมกันใช้ ค่า สินไหม ทดแทน ให้ โจทก์ ที่ 3 ใน สำนวน ที่ สอง เป็น เงิน 2,500 บาท ค่าฤชา ธรรมเนียม ทั้ง สาม ศาล ให้ เป็น พับ นอกจาก ที่ แก้ คงให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลอุทธรณ์.

Share