แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
คำฟ้องคดีไม่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือประโยชน์ใดๆอันเกี่ยวกับทรัพย์เหล่านั้นโจทก์ต้องฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดบุรีรัมย์ที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)ถ้าโจทก์จะฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดสุรินทร์ที่มูลคดีเกิดขึ้นโจทก์จะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องแสดงให้เห็นว่าการพิจารณาคดีในศาลจังหวัดสุรินทร์จะเป็นการสะดวกเพื่อให้ศาลจังหวัดสุรินทร์ใช้ดุลยพินิจอนุญาตเสียก่อนโจทก์จึงจะฟ้องจำเลยได้ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)บัญญัติบังคับไว้การที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องและมิได้แสดงให้ศาลจังหวัดสุรินทร์เห็นว่าจะเป็นการสะดวกในการพิจารณาแม้ต่อมาศาลจังหวัดสุรินทร์จะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ดำเนินดคีอย่างคนอนาถาให้รับคำฟ้องหมายเรียกจำเลยแก้คดีก็ถือไม่ได้ว่าศาลได้อนุญาตให้โจทก์ฟ้องจำเลยนอกเขตศาลจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่. ข้อเท็จจริงใหม่ที่โจทก์ยกขึ้นมาอ้างในชั้นฎีกาซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
ย่อยาว
โจทก์ ยื่น คำร้อง ขอ ฟ้อง คดี อย่าง คน อนาถา ศาลชั้นต้น ไต่สวน แล้วมี คำสั่ง อนุญาต
โจทก์ ฟ้อง ว่า นาย ไหม ทองพรหม ลูกจ้าง จำเลย ขัย รถยนต์ บรรทุกสิบล้อ บรรทุก ข้าวสาร อัน เป็น การ กระทำ ใน กิจการ ของ จำเลย ชน รถโดยสาร ของ โจทก์ ด้วย ความ ประมาท ปราศจาก ความ ระมัดระวัง เป็น เหตุให้ คนขับ รถโดยสาร ของ โจทก์ และ ผู้โดยสาร ใน รถ ตาย และ บาดเจ็บสาหัส อีก หลายคน รถ ของ โจทก์ เสียหาย จน ไม่ อาจ ซ่อมแซม ได้ เหตุเกิด ที่ ตำบล ปรือ อำเภอ ปราสาท จังหวัด สุรินทร์ ขอ ให้ ศาล บังคับจำเลย ชดใช้ ค่าเสียหาย 1,160,000 บาท แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า เหตุ ที่ เกิดขึ้น เป็น เพราะ ลูกจ้าง ของ โจทก์ขับรถ โดย ประมาท จำเลย ได้ ยื่น ฟ้อง โจทก์ และ บริษัท ขนส่ง จำกัดเรียก ค่าเสียหาย ต่อ ศาลจังหวัด นครราชสีมา แล้ว คดี อยู่ใน ระหว่างพิจารณา ความเสียหาย ของ โจทก์ ไม่ มาก ดัง ฟ้อง จำเลย มี ภูมิลำเนาอยู่ ใน เขต อำนาจ ของ ศาล จังหวัด บุรีรัมย์ โจทก์ นำ คดี มา ฟ้อง ที่ศาลจังหวัด สุรินทร์ โดย มิได้ ยื่น คำร้อง ขอ และ ได้ รับ อนุญาต จากศาล จึง อยู่ นอก เขต อำนาจ ศาลจังหวัด สุรินทร์ ที่ จะ พิจารณา ขอ ให้ยกฟ้อง
ก่อน สืบพยาน จำเลย ยื่น คำร้อง ขอ ให้ ศาล วินิจฉัย ชี้ขาด เบื้องต้นใน ปัญหา ข้อกฎหมาย เรื่อง เขต อำนาจ ศาล ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ววินิจฉัย ว่า จำเลย มี ภูมิลำเนา อยู่ ใน เขต ศาลจังหวัด บุรีรัมย์โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ ศาลจังหวัด สุรินทร์ ซึ่ง มูลคดี เกิดขึ้น โดย ไม่ยื่น คำร้อง ขออนุญาต จาก ศาล ก่อน ศาลจังหวัด สุรินทร์ ไม่ มี อำนาจรับฟ้อง ไว้ พิจารณา พิพากษา ยกฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์ โดย ได้ รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คน อนาถา
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน
โจทก์ ฎีกา โดย ได้ รับ อนุญาต ให้ ดำเนินคดี อย่าง คน อนาถา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า การ ที่ ศาลชั้นต้น ทำ การ ไต่สวน คำร้อง ของโจทก์ ที่ ขอ ฟ้อง คดี อย่าง คน อนาถา และ มี คำสั่ง อนุญาต ให้ โจทก์ดำเนินคดี อย่าง คน อนาถา ให้ รับ คำฟ้อง หมายเรียก จำเลย แก้ คดี นั้นจะ ฟัง ได้ หรือ ไม่ ว่า ได้ อนุญาต ให้ โจทก์ ฟ้อง จำเลย นอก เขต ศาลจังหวัด บุรีรัมย์ ซึ่ง จำเลย มี ภูมิลำเนา อยู่ เห็นว่า คำฟ้อง คดี นี้ไม่ เกี่ยวด้วย อหังสาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ หรือ สิทธิ หรือประโยชน์ ใดๆ อัน เกี่ยวกับ ทรัพย์ เหล่านั้น โจทก์ จึง ต้อง ฟ้อง จำเลยต่อ ศาล จังหวัด บุรีรัมย์ ที่ จำเลย มี ภูมิลำเนา อยู่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2) ดังนั้น ถ้า โจทก์ จะฟ้อง จำเลย ที่ ศาลจังหวัด สุรินทร์ ที่ มูลคดี นี้ เกิดขึ้น โจทก์ จะต้อง ยื่น คำขอ โดย ทำ เป็น คำร้อง แสดง ให้ เห็น ว่า การ พิจารณาคดีใน ศาลจังหวัด สุรินทร์ จะ เป็น การ สะดวก เพื่อ ให้ ศาลจังหวัดสุรินทร์ ใช้ ดุลพินิจ อนุญาต เสียก่อน โจทก์ จึง จะ ฟ้อง จำเลย ได้ตาม ที่ มาตรา 4 (2) บัญญัติ บังคับ ไว้ การ ที่ โจทก์ มิได้ ยื่น คำขอโดย ทำ เป็น คำร้อง และ มิได้ แสดง ให้ ศาลจังหวัด สุรินทร์ เห็นว่าจะ เป็น การ สะดวก ใน การ พิจารณา แม้ ต่อมา ศาลจังหวัด สุรินทร์ จะ มีคำสั่ง ดังกล่าว ข้างต้น นั้น ก็ ถือ ไม่ ได้ ว่า ศาลจังหวัด สุรินทร์อนุญาต ให้ โจทก์ ฟ้อง คดี นอก เขต ศาล ที่ จำเลย มี ภูมิลำเนา ตามมาตรา 4 (2)
ที่ โจทก์ ฎีกา ว่า จำเลย มี ภูมิลำเนา อยู่ จังหวัด สุรินทร์ เป็นข้อเท็จจริง ใหม่ ที่ โจทก์ ยกขึ้น มา อ้าง ใน ชั้นฎีกา ซึ่ง มิได้ยกขึ้น ว่ากัน มา แล้ว ใน ศาลชั้นต้น ศาลฎีกา จึง ไม่ รับ วินิจฉัย ให้
พิพากษา ยืน.