คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

ในคดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คแม้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ก็ต้องนำสืบให้ได้ว่าวันที่ลงในเช็คซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้นจำเลยไม่มีเงินในบัญชีธนาคารพอที่จะจ่ายเงินตามเช็คด้วยเพราะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้การกระทำเกิดขึ้นสำเร็จอันเป็นสาระสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าคดีมีมูลความผิดมิฉะนั้นแล้วคดีโจทก์จะไม่มีมูล.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอ ให้ ลงโทษ จำเลย ตาม พระราชบัญญัติ ว่า ด้วย ความผิดอัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้องแล้ว พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ตาม คำฟ้อง โจทก์ บรรยาย การ กระทำ ของ จำเลยที่ อ้าง ว่า เป็น ความผิด ก็ คือ จำเลย ออก เช็ค โดย เจตนา ที่ จะไม่ ให้ มี การ ใช้ เงิน ตาม เช็ค นั้น ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิด อัน เกิดจาก การ ใช้ เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(1) และ ข้อความใน วรรคท้าย ของ มาตรา ดังกล่าว ที่ บัญญัติ ว่า ‘ถ้า ธนาคาร ปฏิเสธไม่ จ่าย เงิน ตาม เช็ค นั้น มี ความผิด….ฯลฯ….’ เป็น องค์ประกอบที่ ทำ ให้ การ กระทำผิด เกิดขึ้น สำเร็จ จะ ขาด องค์ประกอบ ข้อ ใดข้อหนึ่ง มิได้ และ ตาม มาตรา 1 ที่ บัญญัติ ว่า ‘ออกเช็ค โดย เจตนาที่ จะ ไม่ ให้ มี การ ใช้ เงิน ตาม เช็ค นั้น’ โจทก์ ต้อง นำสืบให้ ได้ความ ว่า ใน วันที่ ออก เช็ค จำเลย ไม่ มี เงิน ใน บัญชี ธนาคารพอ จ่าย ตาม เช็ค ด้วย คดีนี้ เมื่อ โจทก์ มิได้ นำสืบ ให้ เห็น ว่าใน วันที่ 19 มีนาคม 2526 ซึ่ง เป็น วันที่ ลง ใน เช็ค อัน ถือว่าเป็น วัน ออกเช็ค จำเลย มี เงิน ใน บัญชี พอ ที่ จะ จ่าย ตาม เช็คได้ หรือไม่ โจทก์ นำสืบ แต่ เพียง ว่า ธนาคาร ตาม เช็ค ปฏิเสธ การจ่าย เงิน เมื่อ วันที่ 14 กันยายน 2526 เท่านั้น ข้อ นำสืบ ของ โจทก์จึง ขาด สาระ สำคัญ ที่ จะ แสดง ให้ เห็น ว่า คดี มี มูล ความผิดตาม ฟ้อง แม้ ใน ชั้น ไต่สวน มูลฟ้อง โจทก์ ก็ ต้อง นำสืบ ให้ ปรากฏถึง ข้อเท็จจริง เช่นว่า นั้น ด้วย เมื่อ โจทก์ มิได้ นำสืบ ให้ ปรากฏคดี โจทก์ ก็ ไม่ มี มูล
พิพากษายืน

Share