แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่2เป็นบุคคลล้มละลายเนื่องจากเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ค. ได้ขอกู้ยืมเงินโจทก์ในฐานะผู้ส่งออกเพื่อจัดซื้อและเตรียมส่งสินค้าออกไปต่างประเทศโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นประกันหนี้ดังกล่าวด้วยมิใช่ฟ้องบังคับจำเลยที่2ให้ร่วมรับผิดในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยตรงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่มีกำหนดอายุความโดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปี โจทก์ส่งหนังสือทวงถามไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่2ให้ชำระหนี้ไม่น้อยกว่า2ครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า30วันแม้ไม่มีผู้รับหนังสือก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่2หลบเลี่ยงไม่ยอมรับถือว่าเป็นการส่งโดยชอบแล้วพฤติการณ์ของจำเลยที่2ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8(4)(9)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค แอนด์ เอ็ม ผกา อิม-เอ็กซ์ เป็น หนี้ เงินกู้ โจทก์ 1,000,000 บาท และ หนี้ เงินกู้ ใน ฐานะ ผู้ส่งออกเพื่อ จัดซื้อ และ เตรียม ส่ง สินค้า ออก ต่างประเทศ (แพ คกิ้งเครดิต )วงเงิน 3,000,000 บาท โดย ออก ตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อ ประกันหนี้ทั้ง สอง ประเภท รวมทั้ง นำ เงินฝาก ประจำ 1,000,000 บาท ให้ ไว้ แก่ โจทก์โดย มี นาย สันติ และ จำเลย ทั้ง สอง เป็น ผู้ค้ำประกัน โดย ยอมรับ ผิด อย่าง ลูกหนี้ ร่วม ต่อมา ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค แอนด์ เอ็ม ผกา อิม-เอ็กซ์ ไม่ชำระ หนี้ เงินกู้ และ ส่ง สินค้า ให้ แก่ ลูกค้า ใน ต่างประเทศ ได้ เพียง บางส่วน คง ค้าง หนี้ ตาม สัญญาค้ำประกัน ของ ธนาคารใน ต่างประเทศ ที่ โจทก์ ยัง ไม่ได้ รับ ชำระ พร้อม เบี้ยปรับ เป็น เงิน2,341,670.97 บาท โจทก์ ได้ นำ เงินฝาก ประจำ ดังกล่าว มา หักกลบลบหนี้ทั้ง สอง ประเภท หลังจาก นั้น นาย สันติ ได้ ชำระหนี้ บางส่วน ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค แอนด์ เอ็ม ผกา อิม-เอ็กซ์ จึง ยัง คง เป็น หนี้ โจทก์ ใน ต้นเงิน ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2527 จำนวน 603,143.25 บาทพร้อม ดอกเบี้ย ต่อมา ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค แอนด์ เอ็ม ผกา อิม-เอ็กซ์ ล้มละลาย ตาม คำพิพากษา ของ ศาลชั้นต้น โจทก์ ติดตาม ทวงถาม จำเลย ทั้ง สอง เพื่อ ให้ ชำระหนี้ รวม 2 ครั้ง มี ระยะเวลา ห่าง กันไม่ น้อยกว่า 30 วัน แต่ จำเลย ทั้ง สอง ไม่ชำระ และ หลบหนี ไป จากภูมิลำเนา เดิม ขอให้ มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ทั้ง สอง เด็ดขาด และพิพากษา ให้ เป็น บุคคล ล้มละลาย
ระหว่าง พิจารณา จำเลย ที่ 1 ถูก ศาลชั้นต้น สั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ใน คดี อื่น ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง จำหน่ายคดี เฉพาะ จำเลย ที่ 1
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค แอนด์ เอ็ม ผกา อิม-เอ็กซ์ ไม่ได้ เป็น หนี้ ตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน นาย สันติ ได้ ชำระหนี้ แก่ โจทก์ แล้ว หนี้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ขาดอายุความจำเลย ที่ 2 ไม่ทราบ ว่า หนี้ ค้างชำระ จำนวน 603,143.25 บาท เป็น หนี้ตาม สัญญา อะไร และ โจทก์ ฟ้อง จำเลย ที่ 2 ไม่ได้ เพราะ จำเลย ที่ 2ไม่ได้ มี ถิ่นที่อยู่ หรือ ภูมิลำเนา ใน ราชอาณาจักร มา ประมาณ 5 ปี แล้วจำเลย ที่ 2 ไม่เคย ได้รับ หนังสือ ทวงถาม จาก โจทก์ จำเลย ที่ 2ยัง มี ทรัพย์สิน พอ ชำระหนี้ โจทก์ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น มี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลย ที่ 2 เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ปัญหา ข้อ ที่ สอง ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 มี ว่าหนี้ ตาม ฟ้อง ขาดอายุความ หรือไม่ จำเลย ที่ 2 ฎีกา ว่า โจทก์ อ้างว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด เค แอนด์ เอ็ม ผกา อิม-เอ็กซ์ เป็น หนี้ โจทก์ ตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับ ซึ่ง ตั๋วสัญญาใช้เงิน มี อายุความ ตามกฎหมาย เพียง 3 ปี ฟ้องโจทก์ ส่วน นี้ จึง ขาดอายุความ เห็นว่า หนี้ ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน 4 ฉบับ โจทก์ บรรยายฟ้อง และ นำสืบ ว่า มีมูล หนี้จาก การ ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค แอนด์ เอ็ม ผกา อิม-เอ็กซ์ ได้ ออก ให้ แก่ โจทก์ ใน การ ขอ กู้ยืม เงิน ใน ฐานะ ผู้ส่งออก เพื่อ จัดซื้อและ เตรียม ส่ง สินค้า ออก ไป ต่างประเทศ (แพ คกิ้งเครดิต ) มิใช่ ฟ้องบังคับ ให้ จำเลย ที่ 2 ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ให้ ร่วมรับผิด ใน มูลหนี้ตาม ตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยตรง สิทธิเรียกร้อง ใน มูลหนี้ ดังกล่าวไม่มี กำหนด อายุความ ไว้ โดยเฉพาะ จึง มี อายุความ 10 ปี ฟ้องโจทก์ส่วน นี้ ไม่ขาดอายุความ
ปัญหา ข้อ ที่ สาม ตาม ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 มี ว่า จำเลย ที่ 2มี ภูมิลำเนา อยู่ ใน ราชอาณาจักร ขณะ โจทก์ ฟ้อง ขอให้ จำเลย ที่ 2ล้มละลาย หรือไม่ โจทก์ นำสืบ ยืนยัน ว่า มี หนังสือ ทวงถาม ไป ยัง ภูมิลำเนาของ จำเลย ที่ 2 รวม 2 ครั้ง ตาม หนังสือ ทวงถาม และ ใบ ตอบรับ เอกสารหมาย จ. 19 และ จ. 23 จำเลย ที่ 2 นำสืบ อ้าง หนังสือ รับรอง ของสถาน เอกอัครราชทูต ไทย ณ กรุงเวียนนา ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 และ สำเนา ทะเบียนบ้าน ของ จำเลย ที่ 2 ตาม เอกสาร หมาย ล. 2 ว่า จำเลย ที่ 2ย้าย ภูมิลำเนา ไป อยู่ ที่ ประเทศ ออสเตรีย เป็น เวลา 5 ปี เศษ แล้ว ได้ ตรวจ พิจารณา เอกสาร ที่ จำเลย ที่ 2 อ้าง เป็น พยานหลักฐาน นั้นเห็นว่า เอกสาร หมาย ล. 1 ออก ภายหลัง ที่ โจทก์ ฟ้องคดี แล้ว และ การ แจ้งย้าย ออกจาก สำเนา ทะเบียนบ้าน เอกสาร หมาย ล. 2 ก็ กระทำ ภายหลัง ที่โจทก์ ฟ้องคดี แล้ว เช่นกัน ทั้ง ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ระบุ ความ เพียงน่าเชื่อ ว่า จำเลย ที่ 2 เดินทาง ออกจาก ประเทศ ไทย เมื่อ วันที่ 29 มีนาคม2529 ซึ่ง ก็ ขัด กับ เอกสาร หมาย ล. 2 โดย เพิ่ง มี การ แจ้ง ย้าย จำเลย ที่ 2ออกจาก บ้าน ที่อาศัย อยู่ เมื่อ วันที่ 8 เมษายน 2532 ประกอบ กับ เมื่อจำเลย ที่ 2 ถูก โจทก์ ฟ้อง เป็น คดี นี้ ซึ่ง เป็น ภูมิลำเนา เดียว กับที่ โจทก์ ส่ง หนังสือ ทวงถาม จำเลย ที่ 2 ก็ ได้ แต่งทนาย ความ เข้า มาดำเนินคดี แทน พฤติการณ์ เช่นนี้ เชื่อ ว่า ขณะ โจทก์ ยื่น คำฟ้อง ขอให้จำเลย ที่ 2 ล้มละลาย จำเลย ที่ 2 ยัง มี ภูมิลำเนา อยู่ ตาม ฟ้อง ในประเทศ ไทย แต่ หลบเลี่ยง ไม่ยอม รับ หมายเรียก และ สำเนา คำฟ้อง รวมทั้งหนังสือ ทวงถาม ของ โจทก์ ดังนี้ การ ที่ โจทก์ ยื่น คำฟ้อง ขอให้ จำเลย ที่ 2ล้มละลาย ต่อ ศาลชั้นต้น ซึ่ง จำเลย ที่ 2 มี ภูมิลำเนา อยู่ จึง ชอบแล้ว
ปัญหา ข้อ สุดท้าย ตาม ฎีกา จำเลย ที่ 2 มี ว่า จำเลย ที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และ มีเหตุ ที่ ไม่ควร ให้ จำเลย ที่ 2 เป็น บุคคล ล้มละลายหรือไม่ นั้น โจทก์ นำสืบ พยานบุคคล ประกอบ พยานเอกสาร ว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค แอนด์ เอ็ม ผกา อิม-เอ็กซ์ ค้างชำระ หนี้ โจทก์ เป็น เงิน 603,143.25 บาท ตาม การ์ด บัญชี เอกสาร หมาย จ. 16 จำเลย ที่ 2เป็น ผู้ค้ำประกัน ของ ห้าง ดังกล่าว ใน วงเงิน 3,000,000 บาท จำเลย ที่ 2ไม่มี พยานหลักฐาน ใด ๆ มา สืบ หักล้าง แม้ แต่ ตนเอง ก็ ไม่มา เบิกความส่วน นาย ชัยโรจน์ ชยวัฒนางกูร มา เบิกความ เป็น พยาน จำเลย ที่ 2เกี่ยวกับ เรื่อง การ ย้าย ภูมิลำเนา ของ จำเลย ที่ 2 เท่านั้น พยานหลักฐานของ โจทก์ จึง มี น้ำหนัก รับฟัง ว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด เค แอนด์ เอ็ม ผกา อิม-เอ็กซ์ ค้างชำระ หนี้ โจทก์ ตาม ฟ้อง ซึ่ง เป็น หนี้ จำนวน แน่นอน ถึง 600,000 บาท เศษ และ จำเลย ที่ 2 ต้อง รับผิดใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน เมื่อ ข้อเท็จจริง ฟังได้ ว่า ขณะ โจทก์ ฟ้อง ขอให้จำเลย ที่ 2 เป็น บุคคล ล้มละลาย จำเลย ที่ 2 ยัง มี ภูมิลำเนา อยู่ ในประเทศ ไทย การ ที่ โจทก์ ส่ง หนังสือ ทวงถาม ไป ยัง ภูมิลำเนา ของ จำเลย ที่ 2ให้ ชำระหนี้ ไม่ น้อยกว่า 2 ครั้ง มี ระยะเวลา ห่าง กัน ไม่ น้อยกว่า 30 วันแม้ ไม่มี ผู้รับ หนังสือ ทวงถาม แต่ ก็ เป็น เรื่อง จำเลย ที่ 2 หลบเลี่ยงไม่ยอม รับ หนังสือ นั้น ถือได้ว่า เป็น การ ส่ง โดยชอบ แล้ว พฤติการณ์ ของจำเลย ที่ 2 ต้องด้วย ข้อสันนิษฐาน ว่า มี หนี้สินล้นพ้นตัวตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4)(9) และ ไม่มี เหตุอื่นที่ ไม่ควร ให้ จำเลย ที่ 2 ล้มละลาย ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง ให้ พิทักษ์ทรัพย์จำเลย ที่ 2 เด็ดขาด นั้น ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ที่ 2 ทุก ข้อ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน