คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1712/2539

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การที่จำเลยอ้างว่าที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามน.ส.3ซึ่งเจ้าของและทายาทอื่นได้รับมรดกมาและนำเจ้าพนักงานที่ดินเข้ารังวัดเพื่อแบ่งแยกแต่ในวันที่จำเลยนำเจ้าพนักงานที่ดินเข้าทำการรังวัดเพื่อแบ่งแยกที่พิพาทนั้นเมื่อโจทก์เข้าห้ามปรามเจ้าพนักงานที่ดินก็ไม่ได้ทำการรังวัดต่อไปการกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองที่พิพาทของโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ผู้มีสิทธิ ครอบครอง ที่ดิน ตาม แบบ แจ้งการ ครอบครอง (ส.ค.1 ) เลขที่ 61/2498 เนื้อที่ ประมาณ 41 ไร่ราคา 126,000 บาท จำเลย อ้างว่า ที่ดิน ของ โจทก์ ส่วน หนึ่ง เนื้อที่ประมาณ 21 ไร่ ราคา 63,000 บาท เป็น ของ จำเลย และ นำ เจ้าพนักงานที่ดิน เข้า รังวัด เพื่อ แบ่งแยก โจทก์ ห้ามปราม เจ้าพนักงาน ที่ดินจึง ไม่ รังวัด จำเลย กระทำ โดย หมาย จะ แย่ง การ ครอบครอง ที่พิพาทไป จาก โจทก์ ขอให้ พิพากษา ว่า ที่พิพาท เป็น ของ โจทก์ ห้าม จำเลยและ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง
จำเลย ให้การ ว่า ที่พิพาท เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน ตาม หนังสือรับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส. 3) เลขที่ 231 ซึ่ง เป็น ของ บิดา จำเลยเมื่อ บิดา จำเลย ถึงแก่กรรม จำเลย ครอบครอง ต่อมา โดย ความสงบและ โดย เปิดเผย ด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ตลอดมา โจทก์ ฟ้อง เอาคืนซึ่ง การ ครอบครอง เกินกว่า 1 ปี แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ว่า ที่พิพาท เป็น ของ โจทก์ ห้าม จำเลยและ บริวาร เข้า เกี่ยวข้อง
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 1 พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้อง
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า คดี มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ว่า โจทก์ มีอำนาจ ฟ้อง หรือไม่ โจทก์ ฎีกา ว่า การ ที่ จำเลย อ้างว่าที่พิพาท เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ที่ดิน ตาม น.ส. 3 เลขที่ 231 ตำบล หนองบก อำเภอ เมือง อุบลราชธานี จังหวัด อุบลราชธานี ซึ่ง เจ้าของ และ ทายาทอื่น ได้รับ มรดก มา และ นำ เจ้าพนักงาน ที่ดิน เข้า ทำการ รังวัด เพื่อแบ่งแยก ถือได้ว่า เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ จึง มีอำนาจ ฟ้องศาลฎีกา เห็นว่า ถึง แม้ ข้อเท็จจริง จะ ได้ความ ตาม ที่ โจทก์ ฎีกาแต่ ข้อเท็จจริง ก็ ได้ความ ตาม คำฟ้อง ด้วย ว่า ใน วันที่ จำเลย นำเจ้าพนักงาน ที่ดิน เข้า ทำการ รังวัด เพื่อ แบ่งแยก ที่พิพาท นั้น เมื่อโจทก์ เข้า ห้ามปราม เจ้าพนักงาน ที่ดิน ก็ ไม่ได้ ทำการ รังวัด ต่อไปการกระทำ ของ จำเลย ดังกล่าว ยัง ไม่เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ครอบครองที่พิพาท ของ โจทก์ ดัง ที่ โจทก์ กล่าวอ้าง โจทก์ จึง ไม่มี อำนาจฟ้อง
พิพากษายืน

Share