แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับสำเนาให้โจทก์แก้ให้จำเลยนำส่งภายใน5วันมิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน15วันนับแต่วันส่งไม่ได้จำเลยทั้งสองทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วเมื่อส่งหมายและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ไม่ได้จำเลยทั้งสองยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอยู่เช่นเดิมเมื่อจำเลยทั้งสองไม่แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดว่าจะจัดการอย่างไรต่อไปแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้แจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบว่าส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ไม่ได้ก็ตามแต่การที่จำเลยทั้งสองมิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นคงปล่อยระยะเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลาประมาณ2เดือนถือว่าจำเลยทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดไว้เป็นการทิ้งอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์สั่งจำหน่ายคดีนั้นชอบแล้ว
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ขอให้ เพิกถอน หนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก. ) เลขที่ 490 ตำบล เกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัด สุราษฎร์ธานี และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง รื้อถอน สิ่งปลูกสร้างใน ที่ดิน ทั้งหมด กับ ให้ ชดใช้ ค่าเสียหาย เดือน ละ 4,000 บาท นับตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สอง จะ ออกจาก ที่ดิน
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า การ ออก หนังสือ รบ รอง การ ทำประโยชน์(น.ส.3 ก. ) ทำ โดย ถูกต้อง โจทก์ ไม่มี สิทธิ ขอให้ เพิกถอน คดี โจทก์จึง ขาดอายุความ ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอน หนังสือ รับรอง การ ทำประโยชน์ (น.ส.3 ก. ) เลขที่ 490 ตำบล เกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัด สุราษฎร์ธานี และ ให้ จำเลย ทั้ง สอง รื้อถอน สิ่งปลูกสร้าง ในที่ดินพิพาท ทั้งหมด กับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน แก่ โจทก์เดือน ละ 1,000 บาท นับ ตั้งแต่ วันฟ้อง (วันที่ 24 ตุลาคม 2534)เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย ทั้ง สอง จะ ออกจาก ที่ดินพิพาท
จำเลย ทั้ง สอง อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 มี คำสั่ง ให้ จำหน่ายคดี จำเลย ทั้ง สอง จาก สารบบของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3
จำเลย ทั้ง สอง ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ได้ความ ว่า ศาลชั้นต้น ได้พิพากษา ให้ จำเลย ทั้ง สอง แพ้ คดี จำเลย ทั้ง สอง ยื่น อุทธรณ์ เมื่อ วันที่24 มกราคม 2537 ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ใน วันเดียว กับ วันที่ จำเลยทั้ง สอง ยื่น อุทธรณ์ ว่า รับ อุทธรณ์ ของ จำเลย สำเนา ให้ โจทก์ แก้ให้ จำเลย นำ ส่ง ภายใน 5 วัน มิฉะนั้น ถือว่า ทิ้งอุทธรณ์ ส่ง ไม่ได้ ให้แถลง ภายใน 15 วัน นับแต่ วัน ส่ง ไม่ได้ จำเลย ทั้ง สอง ได้ ดำเนินการส่งหมาย และ สำเนา อุทธรณ์ ใน วันเดียว กัน นั้น โดย วางเงินค่า พาหนะ และ ค่าป่วยการ สำหรับ พนักงาน ของ ศาล ใน การ ส่งหมายและ สำเนา อุทธรณ์ แก่ โจทก์ ต่อมา วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2537ศาลจังหวัด ปัตตานี มี หนังสือ แจ้ง ผล การ ส่งหมาย และ สำเนา อุทธรณ์มา ยัง ศาลชั้นต้น ว่า ไม่สามารถ ส่งหมาย และ สำเนา อุทธรณ์ ให้ แก่ โจทก์ได้ เพราะ ไม่พบ ตัว โจทก์ ปรากฏ ตาม รายงาน การ เดินหมาย ฉบับ ลงวันที่1 กุมภาพันธ์ 2537 ของ ศาลจังหวัด ปัตตานี ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ใน หนังสือแจ้ง ผล การ ส่งหมาย นั้น ว่า รอ จำเลย แถลง โดย ได้ สั่ง เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2537 ปรากฏว่า จำเลย ทั้ง สอง มิได้ มา แถลง ต่อศาลชั้นต้น ว่า จะ ดำเนินการ อย่างไร ต่อไป จน กระทั่ง วันที่ 16 มีนาคม2537 โจทก์ ได้ ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาลชั้นต้น มี คำสั่ง ว่า จำเลย ทั้ง สองทิ้งอุทธรณ์ ต่อมา วันที่ 7 เมษายน 2537 จำเลย ทั้ง สอง ยื่น คำร้อง ต่อศาลชั้นต้น ขอส่ง หมาย และ สำเนา อุทธรณ์ ให้ โจทก์ ใหม่ เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ กำลัง สืบหา ภูมิลำเนา ของ โจทก์ อยู่ ศาลฎีกา เห็นว่า เมื่อ จำเลยทั้ง สอง ยื่น อุทธรณ์ และ ศาลชั้นต้น ได้ มี คำสั่ง ดังกล่าว แล้ว ก็ ถือว่าจำเลย ทั้ง สอง ทราบ คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ดังกล่าว นั้น โดยชอบ แล้วเพราะ ตอนท้าย อุทธรณ์ ของ จำเลย ทั้ง สอง มี ข้อความ ระบุ ได้ ชัด ว่ารอ ฟัง คำสั่ง อยู่ ถ้า ไม่ รอ ให้ ถือว่า ทราบ แล้ว ดังนี้ เมื่อ ส่งหมาย และสำเนา อุทธรณ์ ให้ แก่ โจทก์ ไม่ได้ จำเลย ทั้ง สอง ก็ ยัง มี หน้าที่ ต้องปฏิบัติ ตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น อยู่ เช่น เดิม โดย ศาลชั้นต้น ไม่จำต้องสั่ง อีก ว่า รอ จำเลย แถลง การ ที่ ศาลชั้นต้น สั่ง ไว้ อีก เช่นนั้น เป็นเพียง ยืนยัน ถึง คำสั่ง เดิม ที่ สั่ง ไว้ แล้ว ใน คำฟ้อง อุทธรณ์ เท่านั้นเมื่อ จำเลย ทั้ง สอง มี หน้าที่ ต้อง ปฏิบัติ ตาม คำสั่งศาล ชั้นต้น ดังกล่าวแต่ ไม่ แถลง ต่อ ศาลชั้นต้น ภายใน เวลา ที่ กำหนด ว่า จะ จัดการ อย่างไร ต่อไปแม้ ศาลชั้นต้น จะ มิได้ แจ้ง ให้ จำเลย ทั้ง สอง ทราบ ว่า ส่ง สำเนา อุทธรณ์ให้ โจทก์ ไม่ได้ ก็ ตาม แต่ การ ที่ จำเลย ทั้ง สอง มิได้ แถลง ต่อ ศาลชั้นต้นคง ปล่อย ระยะเวลา ล่วงเลย มา เป็น เวลา ประมาณ 2 เดือน ทั้ง โจทก์กลับ เป็น ฝ่าย ทราบ ถึง เหตุ ดังกล่าว และ ยื่น คำร้องขอ ให้ ศาลชั้นต้นมี คำสั่ง ว่า จำเลย ทั้ง สอง ทิ้งอุทธรณ์ เช่นนี้ ถือได้ว่า จำเลย ทั้ง สองเพิกเฉย ไม่ดำเนินคดี ภายใน เวลา ที่ ศาล กำหนด ไว้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบ ด้วยมาตรา 246 ซึ่ง เป็น การ ทิ้งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ย่อม มีอำนาจสั่ง จำหน่ายคดี ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1),246 คำสั่ง ของ ศาลอุทธรณ์ ภาค 3 ที่ ให้ จำหน่ายคดี ของ จำเลย ทั้ง สองจึง ชอบแล้ว ฎีกา ของ จำเลย ทั้ง สอง ฟังไม่ขึ้น ประเด็น ข้อ อื่น แม้ จะวินิจฉัย ไป ก็ ไม่ทำ ให้ ผล ของ คดี เปลี่ยนแปลง ไม่เป็น สาระ แก่ คดีจึง ไม่จำต้อง วินิจฉัย ”
พิพากษายืน