แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
การแปลความหมายแห่งสัญญาจะต้องดูข้อความตามสัญญาทั้งฉบับและเจตนาของคู่สัญญาที่ตกลงมุ่งทำสัญญาต่อกันประกอบด้วยไม่ใช่ดูแต่เจตนาของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียวตามสัญญาจำนองและสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันระบุจำนวนเงินต้นจำนองไว้แจ้งชัดว่า100,000บาทความผูกพันตามสัญญาที่จำเลยที่2มีต่อโจทก์จึงมีตามจำนวนเงินต้น100,000บาทดังที่ระบุไว้แม้ข้อสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันจะมีข้อความว่าผู้จำนองยินยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในอันที่จะชำระหนี้ทั้งหมดให้กับผู้รับจำนองโดยสิ้นเชิงก็หาใช่จะแปลความสัญญาว่าจำเลยที่2ยินยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในอันที่จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวนให้โจทก์จนครบถ้วนโดยสิ้นเชิงเป็นอีกโสดหนึ่งต่างหากด้วยไม่การที่จำเลยที่2ระบุจำนวนเงินต้น100,000บาทในสัญญาดังกล่าวเป็นเจตนาของจำเลยที่2ที่เข้าทำสัญญากับโจทก์จำกัดความรับผิดตามวงเงินที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองหาใช่เป็นการระบุเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัติของมาตรา708แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างเดียวไม่
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น ผู้ เคย ค้า กับ โจทก์ และ ขอ สินเชื่อธนาคาร โจทก์ สาขา เชียงใหม่ 2 ประเภท คือ ประเภท กู้ เบิกเงินเกิน บัญชี และ ประเภท ขาย ชัก ส่วนลด เช็ค จำเลย ที่ 1 ได้ เปิด บัญชีเดินสะพัด ประเภท เงินฝาก กระแสรายวัน แล้ว จำเลย ที่ 1 ได้ เดินสะพัดทาง บัญชี เรื่อย มา และ เมื่อ วันที่ 31 ธันวาคม 2535 จำเลย ที่ 1นำ เช็ค ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด สาขา ประตูช้างเผือก ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2535 100,000 บาท มี นาย สุชาติ พิทักษ์ เป็น ผู้ลงลายมือชื่อ สั่งจ่าย มา ขาย ชัก ส่วนลด เช็ค กับ โจทก์ จำเลย ที่ 1ได้รับ เงิน ไป แล้ว เพื่อ เป็น หลักประกัน หนี้ ของ จำเลย ที่ 1จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ได้ นำ ที่ดิน ซึ่ง เป็น กรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ที่ 1และ ที่ 2 ตั้ง อยู่ ที่ ตำบล หางดง อำเภอหางดง จังหวัด เชียงใหม่ พร้อม สิ่งปลูกสร้าง จดทะเบียน จำนอง เป็น ประกัน การ ชำระหนี้ของ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2 ซึ่ง มี อยู่ ต่อ โจทก์ ขณะ ทำ สัญญา และ หนี้ที่ จะ มี ต่อไป ใน ภายหน้า นอกจาก นี้ จำเลย ที่ 2 ยินยอม ร่วมรับผิด กับจำเลย ที่ 1 ใน อัน ที่ จะ ชำระหนี้ ทั้งหมด แก่ โจทก์ โดย สิ้นเชิง ใน ฐานะลูกหนี้ ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 อีก ด้วย นับแต่ จำเลย ที่ 1 ขอ สินเชื่อทั้ง สอง ประเภท ดังกล่าว แล้ว ปรากฏว่า จำเลย ที่ 1 ไม่ปฏิบัติ ตาม สัญญาและ เมื่อ ครบ กำหนด ระยะเวลา ชำระหนี้ ตาม สัญญา เบิกเกินบัญชีใน วันที่ 18 เมษายน 2535 จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ หนี้ ให้ โจทก์และ เป็น หนี้ โจทก์ เป็น เงิน จำนวน 1,057,576.62 บาท ดอกเบี้ยไม่ ทบต้น ตั้งแต่ วันที่ 19 เมษายน 2535 จน ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน463,247.54 บาท สำหรับ หนี้ ขาย ชัก ส่วนลด เช็ค โจทก์ นำ เช็คเข้า เรียกเก็บเงิน จาก ธนาคาร ตามเช็ค ปรากฏว่า ธนาคาร ปฏิเสธการ จ่ายเงิน ให้ เหตุผล ว่า โปรด ติดต่อ ผู้สั่งจ่าย โจทก์ ทวงถาม ให้จำเลย ที่ 1 ชำระหนี้ หลาย ครั้ง จำเลย ที่ 1 ไม่ชำระ หนี้ ให้ โจทก์ทำให้ โจทก์ ได้รับ ความเสียหาย เป็น เงิน 100,000 บาท ดอกเบี้ย นับแต่วันที่ ลง ใน เช็ค คิด ถึง วันฟ้อง เป็น เงิน 41,515.07 บาท โจทก์ ทวงถามให้ จำเลย ทั้ง สอง ชำระหนี้ และ ไถ่ถอน จำนอง แล้ว จำเลย เพิกเฉย ขอให้จำเลย ทั้ง สอง ร่วมกัน ชำระ เงิน จำนวน 1,662,339.23 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 18 ต่อ ปี จาก ต้นเงิน จำนวน 1,157,576.62 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ หาก จำเลย ทั้ง สองไม่ชำระ หนี้ ขอให้ยึดทรัพย์ จำนอง พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ซึ่ง เป็นกรรมสิทธิ์ ของ จำเลย ทั้ง สอง ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา ชำระหนี้ให้ โจทก์ หาก ได้ เงิน สุทธิ ไม่พอ ชำระหนี้ ให้ ยึดทรัพย์สิน อื่น ของจำเลย ทั้ง สอง ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา ชำระหนี้ โจทก์ จน ครบ
จำเลย ที่ 1 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ยอมรับ ว่า ได้ กู้เงิน โจทก์แต่ ไม่เคย ตกลง ให้ โจทก์ คิด ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 18 และ ร้อยละ 19ต่อ ปี จาก ต้นเงิน จำนวน 1,157,576.62 บาท ลายมือชื่อ ใน ช่องผู้มอบอำนาจ เป็น ลายมือชื่อปลอม โจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 1ขอให้ ยกฟ้อง
จำเลย ที่ 2 ให้การ ว่า จำเลย ที่ 2 มิได้ เกี่ยวข้อง หรือ รู้เห็นใน การ ที่ จำเลย ที่ 1 ทำ สัญญากู้ เบิกเงินเกินบัญชี และ สัญญา ขายชัก ส่วนลด เช็ค กับ โจทก์ จำเลย ที่ 2 จะ ต้อง รับผิด ตาม สัญญาจำนองและ สัญญา ต่อ ท้าย สัญญาจำนอง ต่อ โจทก์ ใน วงเงิน ไม่เกิน 100,000บาท เท่านั้น นอกจาก นี้ หนังสือมอบอำนาจ ให้ ฟ้องคดี เป็น เอกสารปลอมโจทก์ ไม่มี อำนาจฟ้อง จำเลย ที่ 2 ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ จำเลย ที่ 1 ชำระ เงิน จำนวน1,662,339.23 บาท แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 18ต่อ ปี จาก ต้นเงิน จำนวน 1,157,576.62 บาท นับแต่ วัน ถัด จาก วันฟ้องเป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ โดย ให้ จำเลย ที่ 2 ร่วมรับผิดใน วงเงิน 100,000 บาท พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 19 ต่อ ปีนับ ตั้งแต่ วันที่ 25 พฤษภาคม 2535 ถึง วันที่ 3 มกราคม 2536 อัตราร้อยละ 18.5 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 4 มกราคม 2536 ถึง วันที่1 พฤศจิกายน 2536 และ อัตรา ร้อยละ 18 ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 2 พฤศจิกายน2536 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ หาก จำเลย ทั้ง สองไม่ชำระ หนี้ ให้ ยึดทรัพย์ ที่ จำเลย ทั้ง สอง จำนอง ออก ขายทอดตลาด นำ เงินมา ชำระหนี้ ให้ โจทก์ หาก ได้ เงิน ไม่พอ ชำระหนี้ ให้ ยึดทรัพย์สิน อื่น ของจำเลย ทั้ง สอง ออก ขายทอดตลาด ชำระหนี้ แก่ โจทก์ จน ครบถ้วน ตาม จำนวน หนี้ ที่แต่ละ คน จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์
โจทก์ ยื่น คำร้องขอ อนุญาต ยื่น อุทธรณ์ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย โดยตรงต่อ ศาลฎีกา พร้อม คำฟ้อง อุทธรณ์ ศาลชั้นต้น สั่ง รับ อุทธรณ์ และ ส่ง สำเนาคำฟ้อง อุทธรณ์ และ คำร้อง แก่ จำเลย ที่ 2 แล้ว จำเลย ที่ 2 มิได้ คัดค้านคำร้อง ดังกล่าว ใน กำหนด เวลา ยื่น คำแก้อุทธรณ์ ศาลชั้นต้น จึง สั่ง อนุญาตให้ โจทก์ ยื่น อุทธรณ์ โดยตรง ต่อ ศาลฎีกา ได้
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟัง เป็น ยุติ ตาม ที่ ศาลชั้นต้นรับฟัง มา ว่า จำเลย ที่ 1 เป็น หนี้ โจทก์ ตาม ฟ้อง จริง ส่วนจำเลย ที่ 2 ได้ ทำ หนังสือ สัญญาจำนอง และ สัญญา ต่อ ท้าย หนังสือ สัญญาจำนองที่ดิน เป็น ประกัน ตาม เอกสาร หมาย จ. 13 และ จ. 14 ระบุ วงเงิน100,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย มี ปัญหาข้อกฎหมาย ตาม ที่ โจทก์ อุทธรณ์ต่อ ศาลฎีกา ว่า จำเลย ที่ 2 ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ มาก กว่า วงเงินตาม สัญญาจำนอง เพราะ สัญญา ต่อ ท้าย หนังสือ สัญญาจำนอง ที่ดิน เป็น ประกันเอกสาร หมาย จ. 14 ข้อ 5 วรรคสอง มี ข้อความ ว่า “หาก ลูกหนี้ผิดนัด ไม่ชำระ หนี้ ผู้จำนอง ยินยอม รับผิด ร่วม กับ ลูกหนี้ ใน อัน ที่จะ ชำระหนี้ ทั้งหมด ให้ กับ ผู้รับจำนอง โดย สิ้นเชิง ใน ฐานะ ลูกหนี้ ร่วมแม้ ว่า หนี้ ซึ่ง ผู้จำนอง เป็น ประกัน ไม่สมบูรณ์ จาก การ ที่ ลูกหนี้ ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือ ปราศจาก อำนาจ ใน การ ทำนิติกรรม หรือ ได้เข้า ทำนิติกรรม โดย สำคัญผิด หรือ ด้วย เหตุใด ๆ ก็ ดี ผู้จำนอง และ หรือลูกหนี้ ยัง คง ยอมรับ ผิด ใน หนี้ ตาม สัญญา นี้ เต็ม จำนวน โดย รับผิดร่วมกัน อย่าง ลูกหนี้ ร่วม และ จะ ไม่ ยก อายุความ การ ผ่อน เวลา หรือข้อ ปฏิเสธ ความรับผิด ทั้งหลาย ของ ลูกหนี้ และ หรือ ผู้จำนอง ขึ้น ต่อสู้ผู้รับจำนอง รวมทั้ง ไม่ ปฏิเสธ สิทธิ ของ ผู้รับจำนอง ใน อัน ที่ จะ เรียกให้ ผู้จำนอง ชำระหนี้ ก่อน หรือ พร้อม กับ ลูกหนี้ ตาม แต่ ผู้รับจำนองจะ เห็นสมควร ” และ การ ระบุ วงเงิน จำนอง ไว้ 100,000 บาท นั้นก็ เพื่อ ให้ เป็น ไป ตาม บทบัญญัติ มาตรา 708 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ บัญญัติ ให้ สัญญาจำนอง ต้อง มี จำนวนเงินระบุ ไว้ แน่นอน ตรง ตัว หรือ จำนวน สูงสุด ที่ ได้ เอา ทรัพย์สิน จำนอง นั้นตรา ไว้ เป็น ประกัน เท่านั้น หาใช่ ข้อกำหนด และ ข้อจำกัด ความรับผิดของ ผู้จำนอง แต่อย่างใด นั้น เห็นว่า การ แปล ความหมาย แห่ง สัญญาจะ ต้อง ดู ข้อความ ตาม สัญญา ทั้ง ฉบับ และ เจตนา ของ คู่สัญญาที่ ตกลง มุ่ง ทำ สัญญา ต่อ กัน ประกอบ ด้วย ไม่ใช่ ดู แต่ เจตนา ของคู่สัญญา ฝ่ายหนึ่ง แต่ ฝ่ายเดียว ตาม สัญญาจำนอง และ สัญญา ต่อ ท้ายหนังสือ สัญญาจำนอง ที่ดิน เป็น ประกัน ตาม เอกสาร หมาย จ. 13 และ จ. 14ระบุ จำนวน วงเงิน ต้น จำนอง ไว้ แจ้งชัด ว่า 100,000 บาท ความผูกพันตาม สัญญา ที่ จำเลย ที่ 2 มี ต่อ โจทก์ จึง มี ตาม จำนวนเงิน ต้น 100,000 บาทดัง ที่ ระบุ ไว้ แม้ ข้อ สัญญา ต่อ ท้าย หนังสือ สัญญาจำนอง ที่ดิน เป็น ประกันเอกสาร หมาย จ. 14 ข้อ 5 วรรคสอง จะ มี ข้อความ ว่า ผู้จำนองยินยอม รับผิด ร่วมกัน กับ ลูกหนี้ ใน อัน ที่ จะ ชำระหนี้ ทั้งหมด ให้ กับผู้รับจำนอง โดย สิ้นเชิง ก็ หาใช่ จะ แปล ความ สัญญา ว่า จำเลย ที่ 2ยินยอม รับผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ใน อัน ที่ จะ ต้อง ชำระหนี้ ทั้งหมด โดยไม่จำกัด จำนวน ให้ โจทก์ จน ครบถ้วน โดย สิ้นเชิง เป็น อีก โสด หนึ่ง ต่างหากด้วย ไม่ การ ระบุ จำนวนเงิน ต้น 100,000 บาท ที่ จำเลย ที่ 2 ประสงค์จะ รับผิด ร่วม กับ จำเลย ที่ 1 ใน สัญญา ดังกล่าว เป็น เจตนา ของ จำเลย ที่ 2ที่ เข้า ทำ สัญญา กับ โจทก์ จำกัด ความรับผิด ตาม วงเงิน ที่ ระบุ ไว้ ในสัญญาจำนอง ดังกล่าว หาใช่ ว่า เป็น การ ระบุ เพื่อ ให้ เป็น ไป ตาม ข้อ บัญญัติของ มาตรา 708 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ อย่างเดียวดัง อุทธรณ์ โจทก์ ไม่ ที่ ศาลชั้นต้น พิพากษา มา นั้น ชอบแล้ว อุทธรณ์โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน