แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
ย่อสั้น
ลักษณะงานของผู้ตายซึ่งเป็นหัวหน้างานทั่วไปมีหน้าที่ดูแลการก่อสร้างทั้งให้คำปรึกษาแก่คนงานเมื่อมีเหตุขัดข้องในการทำงานย่อมก่อให้เกิดความเครียดได้อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง การที่ผู้ตายกำลังนั่งทำงานเกี่ยวกับแบบก่อสร้างอยู่แล้ว บ. มาตามไปดูการติดตั้งประตูม้วนที่มีปัญหาต้องเดินทางไกลประมาณ200เมตรท่ามกลางแดดร้อนจัดย่อมก่อให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้นในทันทีทันใดได้อันเป็นเหตุให้มีความดันโลหิตสูงมากขึ้นซึ่งเป็นเหตุให้เส้นโลหิตที่ก้านสมองแตกและผู้ตายถึงแก่ความตายถือว่าผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยโรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากจำเลย
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง ว่า ขณะที่ ผู้ตาย กำลัง ทำงาน เดิน ไป ตรวจ งาน ก่อสร้างตึก ตาม หน้าที่ ได้ ประสบ อันตราย เส้นโลหิต ที่ ก้าน สมอง แตก ถึง แก่ความตาย โจทก์ ที่ 1 ใน ฐานะ ภริยา และ โจทก์ ที่ 2 ที่ 3 ใน ฐานะบุตร ชอบ ด้วย กฎหมาย ของ ผู้ตาย ได้ ยื่น คำร้องขอ รับ เงินทดแทน ต่อสำนักงาน กองทุนเงินทดแทน แล้ว สำนักงาน กองทุนเงินทดแทน มี หนังสือแจ้ง ผล คำวินิจฉัย ที่ รส 0711/72823 ว่า การ ที่ ผู้ตาย เจ็บป่วยและ ถึงแก่ความตาย มิได้ เกิดขึ้น เนื่องจาก การ ทำงาน ให้ แก่ นายจ้างโจทก์ ทั้ง สาม จึง ไม่มี สิทธิ ได้รับ เงินทดแทน จาก กองทุนเงินทดแทนโจทก์ ทั้ง สาม ได้ อุทธรณ์ คำวินิจฉัย แล้ว แต่ คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทนมี มติ ยืนยัน ตาม โดย คำวินิจฉัย ตาม หนังสือ แจ้ง ผล การ พิจารณา อุทธรณ์ที่ รส 0711/20994 โจทก์ ทั้ง สาม ไม่เห็น ด้วย จึง ขอให้ เพิกถอนคำวินิจฉัย ตาม หนังสือ ที่ รส 0711/72823 และ คำวินิจฉัย ตาม หนังสือ ที่รส 0711/20994 กับ ให้ จำเลย จ่ายเงิน ทดแทน ตาม กฎหมาย ให้ แก่โจทก์ ทั้ง สาม
จำเลย ให้การ ว่า การ เสียชีวิต ของ ผู้ตาย ไม่ได้ เกิด เนื่องจากการ ทำงาน แต่ ผู้ตาย เสียชีวิต เนื่องจาก โลหิต ออก ใน สมอง เพราะความดันโลหิต สูง ซึ่ง เกิดจาก พยาธิ สภาพ ของ ผู้ตาย เอง ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ เพิกถอน คำวินิจฉัยของ สำนักงาน กองทุนเงินทดแทน ตาม หนังสือ ที่ รส 0711/72823และ คำวินิจฉัย ของ คณะกรรมการ กองทุนเงินทดแทน ตาม หนังสือ ที่รส 0711/20994 และ ให้ จำเลย คำนวณ จ่าย ค่าทดแทน ค่ารักษาพยาบาลกับ ค่า ปลงศพ แก่ โจทก์ ทั้ง สาม ตาม สิทธิ อัน พึง ได้ ใน พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5, 13, 16, 18(4), 20(2)(3)และ 70 นับแต่ วันที่ 27 สิงหาคม 2537
จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา
ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “พระราชบัญญัติ เงินทดแทนพ.ศ. 2537 มาตรา 5 ได้ บัญญัติ คำ นิยาม คำ ว่า เจ็บป่วย หมายความ ว่าการ ที่ ลูกจ้าง เจ็บป่วย หรือ ถึงแก่ความตาย ด้วย โรค ซึ่ง เกิดขึ้นตาม ลักษณะ หรือ สภาพ ของ งาน หรือ เนื่องจาก การ ทำงาน กรณีของ ผู้ตาย ได้ความ ว่า ผู้ตาย ทำงาน ใน ตำแหน่ง หัวหน้างาน ทั่วไปได้รับ มอบหมาย ให้ รับผิดชอบ ดูแล ผู้รับเหมา ช่วง 4 ถึง 5 บริษัทใน โครงการ ก่อสร้าง เมืองทองธานี มี หน้าที่ ดูแล การ ก่อสร้าง ทั้ง ช่าง เหล็ก ช่าง ปูน ช่าง ไม้ รวมทั้ง คอย ให้ คำปรึกษา แก่ คนงานเมื่อ มีเหตุ ขัดข้อง ใน การ ทำงาน ลักษณะ ของ งาน ดังกล่าว ย่อม เห็น ได้ว่าก่อ ให้ เกิด ความ เครียด ได้ ซึ่ง ความ เครียด เป็น สาเหตุ หนึ่ง ที่ ทำให้เป็น โรค ความดันโลหิต สูง สาเหตุ การ ตาย ของ ผู้ตาย เกิดจาก โรคความดันโลหิต สูง เป็นเหตุ ให้ เส้นโลหิต ที่ ก้าน สมอง แตก ใน วันที่27 สิงหาคม 2537 เวลา ประมาณ 14 นาฬิกา ขณะที่ ผู้ตายนั่ง ทำงาน เกี่ยวกับ แบบ ก่อสร้าง อยู่ ใน สำนักงาน นาย บุญเลิศ ไป ตาม ผู้ตาย ให้ ไป ดู การ ติด ตั้ง ประตู ม้วน ซึ่ง เกิด ปัญหา ขึ้น ผู้ตาย กับนาย บุญเลิศ เดิน ไป ตาม ขอบ ทางเท้า ซึ่ง มี น้ำครำ ทำให้ ลื่น เมื่อ เดิน ไป ได้ ประมาณ 200 เมตร ผู้ตาย ลื่น เซ ถลา จะ ล้ม นาย บุญเลิศ เข้า ประคอง ไว้ ทัน นาย บุญเลิศ นำ ผู้ตาย ส่ง โรงพยาบาล ต่อมา ใน วันที่ 30 เดือน เดียว กัน ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย โดย ผู้ตาย มี สุขภาพแข็งแรง ไม่เคย เจ็บป่วย ไม่เคย เข้า รักษา พยาบาล เกี่ยวกับโรค หัว ใจ หรือ เส้นโลหิต ตีบ ตัน มา ก่อน ศาลฎีกา เห็นว่า นอกจากลักษณะ ของ งาน ที่ ผู้ตาย ต้อง รับผิดชอบ ย่อม ก่อ ให้ เกิด ความ เครียดอันเป็น สาเหตุ ที่ ทำให้ เกิด โรค ความดันโลหิต สูง ได้ ดัง ที่ กล่าว มาข้างต้น แล้ว การ ที่ ผู้ตาย กำลัง นั่ง ทำงาน เกี่ยวกับ แบบ ก่อสร้าง อยู่แล้ว นาย บุญเลิศ มา ตาม ให้ ไป ดู การ ติด ตั้ง ประตู ม้วน ที่ มี ปัญหา ซึ่ง มี ลักษณะ งาน คน ละ อย่าง เป็น การ เปลี่ยน ปัญหา ที่ จะ ต้อง คิดแก้ไข ใน เวลา กะทันหัน ทั้ง ยัง ต้อง เดิน ไป ไกล ประมาณ 200 เมตรท่ามกลาง แสงแดด ร้อน จัด ใน เวลา ประมาณ 14 นาฬิกา เช่นนี้ย่อม ก่อ ให้ เกิด ความ เครียด เพิ่มขึ้น ใน ทันที ทันใด ได้ อันเป็น เหตุให้ มี ความดันโลหิต สูง มาก ขึ้น ซึ่ง เป็นเหตุ ให้ เส้นโลหิต ที่ ก้าน สมอง แตกและ ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย แม้ ผู้ตาย จะ ไม่ได้ ตาย ทันที ใน สถานที่ทำงาน และ การ ตาย ไม่ได้ เกิดขึ้น โดย ปัจจุบัน ทัน ด่วน ดัง ที่ จำเลยอุทธรณ์ แต่ ก็ เห็น ได้ว่า ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย ด้วย โรค ซึ่ง เกิดขึ้นเนื่องจาก การ ทำงาน ดัง ที่ วินิจฉัย มา แล้ว ที่ ศาลแรงงานกลาง พิพากษา มานั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย อุทธรณ์ ของ จำเลย ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน