คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2529

แหล่งที่มา : ADMIN

ย่อสั้น

โจทก์ถูกฟ้องด้วยข้อหายักยอกซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปคำเบิกความเท็จของจำเลยซึ่งสนับสนุนข้ออ้างว่าสิทธิที่จะฟ้องร้องโจทก์ยังมิได้ระงับไปด้วยคดีขาดอายุความจึงเป็นข้อสำคัญในคดี.

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ซึ่ง เป็น พยาน โจทก์ ใน คดีอาญา ซึ่ง ส. เป็นโจทก์ ฟ้อง โจทก์ ใน คดี นี้ เป็น จำเลย เรื่อง ยักยอก ทรัพย์ ได้เบิกความ อัน เป็น เท็จ ใน คดี ดังกล่าว ขอ ให้ ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
ศาลชั้นต้น ไต่สวน มูลฟ้อง แล้ว มี คำสั่ง ประทับฟ้อง ไว้ พิจารณา
จำเลย ให้การ ปฏิเสธ
ศาลชั้นต้น พิพากษา ลงโทษ จำคุก และ ปรับ โทษ จำคุก ให้ รอ การ ลง อาญาไว้ มี กำหนด 1 ปี
โจทก์ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา แก้ เป็น ไม่ ปรับ และ ไม่ รอ การ ลงโทษ
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า การ ที่ จำเลย เบิกความ ใน คดี ที่ โจทก์ ในคดี นี้ ถูก ฟ้อง เป็น จำเลย ว่า จำเลย เพิ่ง เปิดเผย เหตุ แห่ง การกระทำ ผิด ของ โจทก์ ให้ แก่ ส. ทราบ แต่ ที่จริง แล้ว ส. และ จำเลยทราบ เหตุ ดังกล่าว มา ก่อน แล้ว เหตุ ที่ จำเลย เบิกความ ดังกล่าวก็ เพื่อ มิให้ คดี ขาด อายุความ คำเบิกความ ของ จำเลย จึง เป็น เท็จ
คดี ก่อน โจทก์ ถูก ฟ้อง ใน ข้อหา ยักยอก ซึ่ง เป็น ความผิด อันยอมความ กัน ได้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 356 ถ้า ผู้เสียหาย มิได้ร้องทุกข์ ภายใน สาม เดือน นับแต่ วันที่ รู้เรื่อง ความผิด และ รู้ตัวผู้ กระทำ ความผิด เป็น อันขาด อายุความ ตาม มาตรา 96 เมื่อ ขาดอายุความ แล้ว สิทธิ นำ คดีอาญา มา ฟ้อง ย่อม ระงับ ไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6) เห็น ได้ ว่า คำเบิกความเท็จ ของ จำเลย เป็น ข้อสำคัญ ใน คดี โดย สนับสนุน ข้ออ้าง ของ ส. ในข้อ ที่ ว่า สิทธิ ที่ จะ ฟ้องร้อง โจทก์ ยัง มิได้ ระงับ ไป ด้วย คดีขาด อายุความ
พิพากษา แก้ เป็น ว่า ให้ บังคับคดี ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share