คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าสัญญาไม่คุ้มครองการสูญเสียหรือทุพพลภาพอันเกิดขึ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในขณะหรือเนื่องจากผู้เอาประกันเมาสุราหรือแพ้ยาหมายความว่าสัญญาไม่คุ้มครองการมรณะของผู้เอาประกันอันเกิดขึ้นโดยตรงจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากผู้เอาประกันเมาสุราการที่จำเลยพิสูจน์ได้เพียงว่าผู้เอาประกันถึงแก่กรรมโดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในขณะเมาสุราตามหลักวิชาการแพทย์โดยพิสูจน์ไม่ได้ว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นเนื่องจากผู้เอาประกันเมาสุราจำเลยจึงไม่ได้รับการยกเว้นความรับผิดตามข้อสัญญาดังกล่าว

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย ได้ ตกลง รับประกัน ชีวิต นาย พงษ์เดช แซ่เตีย โดย มี โจทก์ เป็น ผู้รับประโยชน์ ครั้น วันที่ 5 มีนาคม 2532 อันเป็นช่วง ระยะเวลา ที่อยู่ ใน ระหว่าง อายุ สัญญาประกันภัย นาย พงษ์เดช ได้ ขับ รถยนต์ คัน หมายเลข ทะเบียน 1ร-4173 กรุงเทพมหานครเกิด อุบัติเหตุ เฉี่ยว ชน กับ รถยนต์ คัน อื่น ได้รับ บาดเจ็บ และถึงแก่ความตาย ใน วันเดียว กัน ขอให้ บังคับ จำเลย ใช้ เงิน จำนวน436,986.30 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี จาก ต้นเงินจำนวน 400,000 บาท นับ ถัด จาก วันฟ้อง
จำเลย ให้การ ว่า อุบัติเหตุ ที่ เกิดขึ้น ใน ขณะ หรือ เนื่องจากนาย พงษ์เดช แซ่เตีย ขับ รถยนต์ ใน ขณะที่ เมาสุรา จึง อยู่ ใน บังคับ ของ ข้อยกเว้น ความรับผิด ของ จำเลย จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 400,000 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่ วันที่ 5 มีนาคม 2532จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ แต่ ดอกเบี้ย คิด ถึง วันฟ้อง (1 มิถุนายน2533) มิให้ คิด เกินกว่า 36,986.30 บาท
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ยก ฟ้องโจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ ใน เบื้องต้น ว่านาย พงษ์เดช แซ่เตีย ขับ รถยนต์ จาก สะพาน พระรามหก มุ่งหน้า ไป ทาง สี่แยกท่าพระตามถนนจรัลสนิทวงศ์ เมื่อ ขับ มา ถึง ปาก ทาง เข้า การไฟฟ้าคลองมอญ มี นาย ปรีชา บำรุงพืช ขับ รถยนต์ มาจาก ทาง สี่แยก ท่าพระ ถึง ปาก ทาง เข้า การไฟฟ้าคลองมอญ ได้ ขับ รถ เลี้ยว กลับ ตัด หน้า รถ ที่นาย พงษ์เดช ขับ มา เป็นเหตุ ให้ รถ ทั้ง สอง คัน เฉี่ยว ชนกัน รถ ของ นาย พงษ์เดช เสีย หลัก แล่น ไป ชน ท้ายรถ ยนต์โดยสาร ที่ จอด อยู่ ริมทาง เป็นเหตุ ให้ นาย พงษ์เดช ได้รับ บาดเจ็บ และ ถึงแก่ความตาย ด้วย อุบัติเหตุ ดังกล่าว แพทย์ โรงพยาบาล ศิริราช ตรวจ ศพ นาย พงษ์เดช ผู้ตาย แล้ว ปรากฏว่า พบ แอลกอฮอล์ ใน เลือด ของ ผู้ตาย สูง ถึง203 มิลลิกรัม เปอร์เซ็นต์ หรือ 0.203 กรัม เปอร์เซ็นต์ ซึ่งวงการ แพทย์ ถือ หลัก ว่า หาก ปริมาณ แอลกอฮอล์ ใน เลือด มี ถึง 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือ 0.15 กรัม เปอร์เซ็นต์ หรือ มาก กว่า ถือว่าบุคคล นั้น เมาสุรา แล้ว ทั้งนี้ เนื่องจาก แอลกอฮอล์ ใน เลือด ที่ มี จำนวนเท่านั้น จะ มีผล ทำให้ บุคคล ที่ มี ร่างกาย แข็งแรง สมบูรณ์ และ เป็น ปกติมี ปฏิกิริยา ใน การ ตอบสนอง ช้า ลง ระบบ ประสาท ซึ่ง ควบคุม การ เคลื่อนไหวของ กล้ามเนื้อ จะ ทำให้ บังคับ กล้ามเนื้อ ทำงาน ไม่ ประสม ประสานกันสติสัมปชัญญะ ผิด ไป จาก คน ปกติ และ มี ความ ยาก ลำบาก ใน การ ควบคุมเครื่องจักรกล และ การ บังคับ ยานพาหนะ ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่าขณะที่ เกิด อุบัติเหตุ ผู้ตาย เมาสุรา เข้า ข้อยกเว้น การ รับผิด ตามข้อ 11 (ฎ) จำเลย ไม่ต้อง รับผิด จ่ายเงิน ตาม กรมธรรม์ประกันภัย จำนวน400,000 บาท ให้ แก่ โจทก์
มี ปัญหา ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ โจทก์ ว่า จำเลย ได้รับ ยกเว้นไม่ต้อง จ่ายเงิน ตาม กรมธรรม์ประกันภัย จำนวน 400,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ตาม สัญญา ข้อ 11 (ฎ) หรือไม่ เห็นว่า สัญญา ข้อ 11(ฎ) ระบุ ไว้ ว่า”สัญญา เพิ่มเติม นี้ ไม่ คุ้มครอง การ สูญเสีย หรือ ทุพพลภาพ อัน เกิดขึ้นโดย ทาง ตรง หรือ ทางอ้อม ทั้งหมด หรือ แต่ บางส่วน จาก อุบัติเหตุที่ เกิดขึ้น ใน ขณะ หรือ เนื่องจาก ผู้เอาประกัน เมาสุรา หรือ แพ้ ยา “นั้น มี ความหมาย ว่า สัญญา เพิ่มเติม นี้ ไม่ คุ้มครอง การ มรณะ ของผู้เอาประกัน อัน เกิดขึ้น โดยตรง จาก อุบัติเหตุ ที่ เกิดขึ้น จากผู้เอาประกัน เมาสุรา ดังนั้น การ ที่ จำเลย พิสูจน์ ได้ เพียง ว่านาย พงษ์เดช ผู้เอาประกัน ซึ่ง ถึงแก่กรรม โดย อุบัติเหตุ ที่ เกิดขึ้น ใน ขณะ ผู้เอาประกัน เมาสุรา ตาม หลักวิชา การแพทย์ โดย พิสูจน์ ไม่ได้ ว่าอุบัติเหตุ เกิดขึ้น เนื่องจาก ผู้เอาประกัน เมาสุรา จำเลย จึง ไม่ได้ รับยกเว้น ตาม ข้อ สัญญา ดังกล่าว ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ตาม ที่ ศาลชั้นต้นพิพากษา ที่ ศาลอุทธรณ์ พิพากษายก ฟ้องโจทก์ มา นั้น ไม่ต้อง ด้วย ความเห็นศาลฎีกา ฎีกา ของ โจทก์ ฟังขึ้น “พิพากษากลับ ให้ บังคับคดี ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น

Share