คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2538

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่2ได้แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์กับสามีโจทก์ในทำนองชู้สาวมาตั้งแต่ปี2518ตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ลักษณะการกระทำของจำเลยที่1ได้กระทำต่อเนื่องกันมายังมิได้หยุดการกระทำคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1529 โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1523วรรคสองได้โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์กับจำเลยที่1ตกลงหย่ากันเองหรือศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตามมาตรา1516(1)ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1523วรรคแรกหรือไม่

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ เป็น ภริยา โดยชอบ ด้วย กฎหมาย ของ จำเลย ที่ 1จำเลย ที่ 1 ได้ อุปการะ เลี้ยงดู ยกย่อง จำเลย ที่ 2 ฉัน สามี ภริยาและ ทิ้งร้าง โจทก์ ไป เกิน 1 ปี ส่วน จำเลย ที่ 2 ทราบ ดี ว่า จำเลย ที่ 1มี โจทก์ เป็น ภริยา อยู่ แล้ว ยัง แสดง ตน โดย เปิดเผย ว่า มี ความ สัมพันธ์กับ จำเลย ที่ 1 ใน ทำนอง ชู้สาว ขอให้ บังคับ จำเลย ที่ 1 หย่าขาด กับ โจทก์ให้ โจทก์ เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ทั้ง สอง ให้ จำเลย ที่ 1 จ่ายค่า อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ และ บุตร ทั้ง สอง กับ ให้ จำเลย ที่ 1 และ ที่ 2ใช้ ค่าทดแทน เป็น เงิน 10,000,000 บาท และ 20,000,000 บาท ตามลำดับพร้อม ดอกเบี้ย
จำเลย ทั้ง สอง ให้การ ว่า จำเลย ที่ 1 ได้ อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์และ บุตร ทั้ง สอง ด้วย ดี ตลอดมา แต่ ภายหลัง ขาด การ ส่ง เสีย ไป บ้าง เพราะจำเลย ที่ 1 ไม่ได้ ทำงาน ประกอบ กับ เกิด เรื่อง ทะเลาะวิวาท หึงหวงระหว่าง โจทก์ กับ จำเลย ทั้ง สอง จำเลย ที่ 1 ไม่อาจ อยู่กิน ร่วม กับโจทก์ ได้ อีก ต่อไป จึง ออกจาก บ้าน ไป อยู่กิน ร่วม กับ จำเลย ที่ 2ฉัน สามี ภริยา โดย เปิดเผย เป็น เวลา เกินกว่า 1 ปี จำเลย ที่ 1 ยินยอมหย่าขาด จาก โจทก์ และ ยอม ให้ โจทก์ เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ทั้ง สองแต่ ค่า อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ และ บุตร ทั้ง สอง ที่ โจทก์ เรียกร้องมา สูง เกิน ไป โจทก์ ไม่มี สิทธิ เรียก ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(1), 1523 วรรคแรก ประกอบ กับ มาตรา 1529 เพราะขาดอายุความ แล้ว ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิจารณา แล้ว พิพากษา ให้ โจทก์ และ จำเลย ที่ 1หย่าขาด จาก กัน ให้ โจทก์ เป็น ผู้ใช้ อำนาจปกครอง บุตร ทั้ง สองให้ จำเลย ที่ 1 จ่าย ค่า อุปการะ เลี้ยงดู โจทก์ เดือน ละ 2,000 บาทนับแต่ เดือน มกราคม 2529 จน ถึง วันที่ ศาล มี คำพิพากษา ให้ หย่าขาดและ จ่าย ค่า อุปการะ เลี้ยงดู บุตร ทั้ง สอง คน ละ 2,500 บาท ต่อ เดือนนับแต่ เดือน มกราคม 2529 จนกว่า บุตร ทั้ง สอง จะ บรรลุนิติภาวะ โดย จ่ายให้ บุตร คน โต เพียง วันที่ 28 มิถุนายน 2533 ซึ่ง เป็น วัน บรรลุนิติภาวะกับ ให้ จำเลย ทั้ง สอง ใช้ ค่าทดแทน แก่ โจทก์ คน ละ 150,000 บาท
จำเลย ที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ปัญหา ที่ ว่า ฟ้องโจทก์ ขาดอายุความหรือไม่ นั้น เห็นว่า โจทก์ บรรยายฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ แสดง ตนโดย เปิดเผย เพื่อ แสดง ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ มี ความ สัมพันธ์ กับ สามี โจทก์ใน ทำนอง ชู้สาว มา ตั้งแต่ ปี 2528 ตลอดมา จน ถึง วันที่ โจทก์ ฟ้องคดี นี้ลักษณะ การกระทำ ของ จำเลย ที่ 2 ได้ กระทำ ต่อเนื่อง กัน มา ยัง มิได้หยุด การกระทำ การกระทำ ละเมิด ของ จำเลย ที่ 2 ได้ เกิดขึ้น และ มี อยู่ใน ขณะ ฟ้อง คดี โจทก์ จึง ไม่ขาดอายุความ
ปัญหา ข้อ สุดท้าย มี ว่า จำเลย ที่ 2 ต้อง ใช้ ค่าทดแทน แก่ โจทก์หรือไม่ คดี นี้ ข้อเท็จจริง รับฟัง ได้ว่า จำเลย ที่ 2 ได้ แสดง ตนโดย เปิดเผย เพื่อ แสดง ว่า จำเลย ที่ 2 มี ความ สัมพันธ์ กับ จำเลย ที่ 1สามี ของ โจทก์ ใน ทำนอง ชู้สาว โดย โจทก์ มิได้ ยินยอม หรือ รู้เห็นเป็นใจให้ จำเลย ที่ 1 อุปการะ เลี้ยงดู หรือ ยกย่อง จำเลย ที่ 2 ฉัน ภริยาโจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้อง เรียก ค่าทดแทน จาก จำเลย ที่ 2 ตาม ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง ได้ โดย ไม่จำต้อง คำนึง ว่าโจทก์ กับ จำเลย ที่ 1 ตกลง หย่า กันเอง หรือ ศาล พิพากษา ให้ หย่า กันเพราะ เหตุ ตาม มาตรา 1516(1) ตาม ที่ บัญญัติ ไว้ ในแพ่ง และ พาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคแรก หรือไม่
พิพากษายืน

Share