แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
คดีเดิมศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าโจทก์ไม่มีอำนาจชำระหนี้จำนองเป็นหน้าที่ของจำเลยจะนำเงินไปชำระแก่ผู้รับจำนองคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความการที่โจทก์ชำระหนี้จำนองโดยตนมิได้เป็นหนี้และมิได้มีเจตนากระทำแทนจำเลยจึงไม่ทำให้โจทก์ได้รับช่วงสิทธิจากผู้รับจำนองแต่ทำให้ที่พิพาทของจำเลยปลอดจากภาระจำนองเป็นประโยชน์แก่จำเลยไม่ต้องชำระหนี้จำนองอีกกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยได้ที่พิพาทโดยปลอดภาระจำนองโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบจำเลยจึงต้องคืนเงินที่โจทก์ได้เสียไปในการไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้พร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถาม.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
ย่อยาว
โจทก์ ฟ้อง เรียก เงิน ค่า ไถ่ถอน จำนอง และ ค่า ภาษี บำรุง ท้องที่ที่ ออก แทน จำเลย ไป และ ค่า ดอกเบี้ย
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน ค่า ไถ่ถอน จำนอง 1,479,467บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี นับแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2525 เป็นต้น ไป และ ให้ จำเลย ชำระ ค่า ภาษี บำรุงท้องที่ 19,102.61 บาท พร้อมด้วย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อ ปี นับ แต่ วัน ฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จำเลย จะ ชำระ เสร็จสิ้นแก่ โจทก์ กับ ให้ จำเลย ชำระ ค่าฤชา ธรรมเนียม แทน โจทก์ ใน ส่วน ที่โจทก์ ชนะ คดี โดย กำหนด ค่า ทนายความ เป็น เงิน 10,000 บาท คำขอ อื่นนอกจากนี้ ให้ ยก เสีย
โจทก์ และ จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน ค่าฤชา ธรรมเนียม ชั้น อุทธรณ์ ให้ เป็น พับ
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า ‘ได้ ความ ว่า เมื่อ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2516จำเลย นำ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 1731 เลข ที่ดิน 18 ตำบล คลอง 1 อำเภอคลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี (ธัญบุรี) ขายฝาก ไว้ แก่ โจทก์ เป็น จำนวนเงิน 1,500,000 บาท ใน วัน เดียว กัน นั้น โจทก์ ได้ นำ ที่ดิน โฉนดข้างต้น ไป จำนอง ไว้ แก่ บริษัท ไทยสมุทรพาณิชย์ประกันภัย จำกัด เป็นเงิน 1,200,000 บาท และ ได้ มอบ เงิน จำนวน นี้ ให้ แก่ จำเลย ไปต่อมา วันที่ 18 กันยายน 2518 โจทก์ ได้ ชำระ หนี้ ไถ่ถอน จำนอง ที่พิพาท จาก บริษัท ไทยสมุทรพาณิชย์ ประกันภัย จำกัด รวม ต้นเงิน และดอกเบี้ย เป็น เงิน 1,479,467 บาท และ ระหว่าง พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2523โจทก์ ได้ ชำระ ภาษี บำรุง ท้องที่ สำหรับ ที่ พิพาท ใน ปี ดังกล่าวเป็น เงิน 19,102.61 บาท ด้วย ครั้น วันที่ 31 ตุลาคม 2518 จำเลย ฟ้องโจทก์ ต่อ ศาล จังหวัด ธัญบุรี ขอ ให้ เพิกถอน นิติกรรม ขายฝาก ศาลฎีกาวินิจฉัย ว่า การ ที่ จำเลย ทำ นิติกรรม ขายฝาก กับโจทก์ นั้น มิได้ มี เจตนา ผูกพัน กัน ตาม สัญญา ขายฝาก แต่ ทำ ไป เพื่อให้ โจทก์ เอา ที่ พิพาท ไป จำนอง บริษัท ไทย สมุทรพาณิชย์ ประกันภัยจำกัด ได้ เท่านั้น ซึ่ง โจทก์ ก็ ทราบ ดี นิติกรรม ขายฝาก จึง เป็นโมฆะ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 ผล คือ ไม่ มี ขายฝากต่อ กัน ที่ พิพาท ไม่ ตก เป็น ของ โจทก์ จำเลย มี อำนาจ เรียก ที่ดินคืน จาก โจทก์ ฐาน ลาภ มิควร ได้ โจทก์ ไม่ มี อำนาจ ชำระ หนี้ จำนองของ บริษัท ไทยสมุทรพาณิชย์ ประกันภัย จำกัด เป็น หน้าที่ ของ จำเลย ที่จะ นำ เงิน ไป ชำระ แก่ ผู้รับ จำนอง ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ โดยตรง ซึ่งจะ เป็น จำนวน เท่าใด ย่อม เป็น ไป ตาม มูลหนี้ ใน สัญญา จำนอง พิพากษาให้ โจทก์ โอน ที่ พิพาท คืน ให้ จำเลย ปรากฏ ตาม คำพิพากษา ศาลฎีกาที่ 132/2524 ระหว่าง นาง สง่า นวรัตน์ ณ อยุธยา โจทก์ นาย ไพรัชเบญจฤทธิ์ จำเลย ต่อมา โจทก์ จึง ฟ้อง เรียก เงิน ที่ โจทก์ ชำระ เป็นค่า ไถ่ถอน จำนอง และ ค่า ภาษี บำรุง ท้องที่ สำหรับ ที่ พิพาท พร้อมดอกเบี้ย จาก จำเลย เป็น คดี นี้ คง มี ปัญหา ใน ชั้น นี้ ว่า โจทก์มี สิทธิ เรียก ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 14 ต่อปี ใน ต้นเงิน 1,479,467บาท นับ ตั้งแต่ วันที่ 18 กันยายน 2518 จาก จำเลย หรือไม่ โดย โจทก์ฎีกา ว่า โจทก์ ทำ สัญญา จำนอง ที่ พิพาท ไว้ แก่ บริษัทไทยสมุทรพาณิชย์ ประกันภัย จำกัด โดย ความ ยินยอม ของ จำเลย ถือ ได้ว่า โจทก์ มี ความ ผูกพัน ร่วมกับ จำเลย ใน การ ใช้ หนี้ จำนอง การที่ โจทก์ ชำระ หนี้ จำนอง ให้ แก่ บริษัท ไทยสมุทรพาณิชย์ ประกันภัยจำกัด สิทธิ ตาม สัญญา จำนอง ซึ่งผู้รับ จำนอง มี อยู่ ย่อม โอน มา ยัง โจทก์ ใน ฐานะ ผู้ รับ ช่วงสิทธิ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 และ 229 (3) โจทก์จึง มี สิทธิ ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 14 ต่อ ปี ตามสัญญา จำนอง ใน ต้นเงิน 1,479,467 บาท นับ ตั้งแต่ วันที่ 18 กันยายน2518
พิจารณา แล้ว ศาลฎีกา ได้ วินิจฉัย ไว้ ใน คำพิพากษา ศาลฎีกา ที่132/2524 แล้ว ว่า โจทก์ ไม่ มี อำนาจ ชำระ หนี้ จำนอง ของ บริษัทไทยสมุทรพาณิชย์ ประกันภัย จำกัด เป็น หน้าที่ ของ จำเลย ที่ จะ นำ เงินไป ชำระ แก่ ผู้รับ จำนอง ซึ่ง เป็น เจ้าหนี้ โดย ตรง คำพิพากษา อันถึง ที่สุด ดังกล่าว ย่อม ผูกพัน คู่ความ โจทก์ จะ โต้เถียง ใน คดีนี้ว่า โจทก์ เป็น ลูกหนี้ จำนอง ร่วม กับ จำเลย ด้วย หา ได้ ไม่ โจทก์มิใช่ บุคคล ผู้ มี ความ ผูกพัน ร่วมกับ จำเลย ไม่ มี ส่วน ได้เสียด้วย ใน การ ใช้ หนี้จำนอง การ ที่ โจทก์ เข้า ใช้ หนี้ จำนอง จึง ไม่ทำ ให้ โจทก์ ได้ รับ ช่วง สิทธิ ของ บริษัท ไทยสมุทรพาณิชย์ ประกันภัยจำกัด เจ้าหนี้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) ประกอบด้วย มาตรา 226 โจทก์ ไม่ มี สิทธิ เรียก ดอกเบี้ย ตาม สัญญา จำนองจาก จำเลย โจทก์ กระทำ เพื่อ ชำระ หนี้ โดย ตน มิได้ เป็น หนี้ และมิได้ เจตนา กระทำ แทน จำเลย แต่ ทำ ให้ ที่ พิพาท ของ จำเลย ปลอด จากภาระ จำนอง เป็น ประโยชน์ แก่ จำเลย ไม่ ต้อง ชำระ หนี้ จำนอง ให้ แก่บริษัท ไทยสมุทรพาณิชย์ ประกันภัย จำกัด อีก กรณี เป็น เรื่อง จำเลยได้ ที่ พิพาท ไป โดย ปลอด จาก ภาระ จำนอง โดย ปราศจาก มูล อัน จะ อ้างกฎหมาย ได้ และ เป็น ทาง ให้ โจทก์ เสียเปรียบ จำเลย จึง ต้อง คืนเงิน ที่ โจทก์ ได้ เสีย ไป ใน การ ไถ่ถอน จำนอง แก่ โจทก์ ฐาน ลาภมิควร ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 และ เมื่อ เป็นการ คืน เงิน โจทก์ จึง ชอบ ที่ จะ ได้ รับ ดอกเบี้ย ใน ระหว่าง ผิดนัด ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ตาม มาตรา 224 โจทก์ มี หนังสือ แจ้งให้ จำเลย คืน เงิน ที่ โจทก์ ออก ชำระ หนี้ ไป ภายใน 7 วัน ครบ กำหนดตาม หนังสือ ทวงถาม ใน วันที่ 9 กรกฎาคม 2524 จำเลย ผิดนัด ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2524 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ว่า เป็น เรื่อง ลาภ มิควรได้ โจทก์ มี สิทธิ ได้ รับ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปีนับแต่ วันที่ 10 กรกฎาคม 2524 ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ ขึ้น’
พิพากษา ยืน ให้ โจทก์ ใช้ ค่า ทนายความ ชั้น ฎีกา 4,000 บาท แทนจำเลย