แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
ย่อสั้น
หลักกฎหมายทั่วไปในคดีที่ต้องมีผู้พิพากษา 2 นายเป็นองค์คณะพิจารณานั้นการนั่งจดคำพะยานก็ต้องมีผู้พิพากษา 2 นายด้วย ผู้พิพากษานั่งฟังคำพะยานจำเลยไม่ครบคณะหากว่าคดีนั้นศาลยกฟ้องโจทก์โดยไม่เชื่อพะยานโจทก์แล้ว ไม่ต้องย้อนสำนวนไปพิจารณาพิพากษาใหม่ ในรายการไม่ปรากฏว่าผู้พิพากษานั่งไม่ครบคณะก็ต้องถือว่านั่งครบคณะสัญญาทางพระราชไมตรีในคดีที่คนในบังคับอังกฤษเป็นคู่ความฎีกาได้แต่ฉะเพาะปัญหาข้อกฎหมาย
ย่อยาว
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปลอมหนังสือ นำเอาหนังสือปลอมไปใช้ว่าเป็นของแท้และเบิกความเท็จ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาต้องกันว่าหลักฐานพะยานของโจทก์ยังไม่เพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้ จึงให้ยกฟ้องโจทก์ปรากฎว่าในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น (ศาลอาญาแผนกพิเศษ) เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๗๘ ผู้พิพากษานายเดียวออกนั่งจดคำพะยานจำเลย ๓ ปาก โจทก์จึงอุทธรณ์ฎีกาว่าศาลออกนั่งพิจารณา ๑+ ครั้ง มีผู้พิพากษาออกนั่งนายเดียวทั้ง ๑๐ ครั้ง ขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่โดยคณะผู้พิพากษาใหม่
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามรายงานพิจารณาในท้องสำนวนไม่ปรากฎโดยชัดเจนว่าในการพิจารณาคดีเรื่องนี้ มีผู้พิพากษากี่นายออกนั่งบัลลังก์ คงปรากฎตามรายงานพิจารณาลงวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๔๗๘ ซึ่งศาลฎีกาเป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายขัดต่อพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.๒๒-๒๓ แต่ถึงอย่างไรก็ดีเรื่องนี้ยังไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่อีกเพราะพะยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ตามฟ้องแล้วการพิจารณาใหม่ก็หามีประโยชน์ประการใดไม่มีแต่จะทำให้จำเลยเสียเปรียบเท่านั้น อนึ่งหลักกฎหมายทั่วไปกก็มีว่าแม้การพิจารณาหรือการฟังพะยานหลักฐานจะไม่ถูกต้องตามกฎหมายบางประการ แต่เมื่อคู่ความฝ่ายใดไม่เสียเปรียบกัน และคำพิพากษาในคดีนั้นถูกต้องตามความยุตติธรรมแล้วก็ไม่ต้องพิจารณาซ้ำอีก ฉะนั้นจึงพิพากษาให้ยกฎีกาโจทก์