แหล่งที่มา : ADMIN
ย่อสั้น
ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตให้โจทก์จ่ายเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้ผู้ขายไปได้เมื่อมีการยื่นตั๋วแลกเงินใบตราส่งสินค้าทางเรือครบชุดใบกำกับสินค้าพร้อมลายมือชื่อใบรับรองหรือกรมธรรม์ประกันภัยและจำเลยจะชำระเงินให้โจทก์เมื่อจำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวนั้นแล้วเมื่อใบตราส่งสินค้าทางเรือแสดงว่าได้มีการบรรทุกสินค้าขึ้นระวางเรือแล้วธนาคารตัวแทนของโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายไปโจทก์หรือธนาคารตัวแทนของโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องตรวจตราว่าความจริงสินค้าได้บรรทุกลงเรือแล้วหรือไม่.(ที่มา-เนติฯ)
ย่อยาว
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ หนี้ แก่ โจทก์ เป็น เงิน1,862,893.95 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์ พิพากษา ยืน จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ข้อกฎหมาย ว่า ‘ข้อเท็จจริง ฟัง ได้ ใน เบื้องต้น ว่าจำเลย ได้ สั่ง ซื้อ เครื่อง ผลิต หลอด ฉีด ยาหล่อ แบบ พลาสติก จากบริษัท อินเตอร์วอลล์ อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ต เจนเนอรัล เอเยนซีที่ ฮ่องกง เป็น จำนวน 6 ชุด ราคา 446,600 เหรียญ ฮ่องกง ต่อมา วันที่25 มิถุนายน 2522 จำเลย ได้ ขอ ให้ โจทก์ เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต เพื่อชำระ ราคา สินค้า ดังกล่าว ปรากฏ ตาม คำขอ เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิตเอกสาร หมาย จ.4 โจทก์ ได้ เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต แจ้ง ไป ยัง ธนาคารฮ่องกงเมโทรโปลิแตน จำกัด ตัวแทน ของ โจทก์ เพื่อ แจ้ง ให้ ผู้ขาย ทราบปรากฏ ตาม ใบแจ้ง การ เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต เอกสาร หมาย จ.8 ต่อมาวันที่ 20 กรกฎาคม 2522 บริษัท อินเตอร์วอลล์ อิมปอร์ต แอนด์เอ็กซ์ปอร์ต เจนเนอรัล เอเยนซี ผู้ขาย ได้ นำ ตั๋วแลกเงิน ใบตราส่งสินค้า ทาง เรือ ใบกำกับ ราคา สินค้า และ เอกสาร อื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องมา ยื่น ต่อ ธนาคาร ฮ่องกง เมโทรโปลิแตน จำกัด เพื่อ รับ ชำระ ราคาสินค้า ธนาคาร ฮ่องกง เมโทรโปลิแตน จำกัด ได้ จ่าย เงิน จำนวน 446,600เหรียญ ฮ่องกง ให้ ไป ตาม คำสั่ง ของ โจทก์ แล้ว หัก บัญชี เงินฝากของ โจทก์ จำนวน 446,600 เหรียญ ฮ่องกง ซึ่ง คิด เป็น เงินไทย จำนวน1,773,002 บาท แล้ว โจทก์ ได้ แจ้ง ให้ จำเลย มา รับ เอกสาร เกี่ยวกับการ ขนส่ง เพื่อ นำ ไป รับ ของ จาก การ ท่าเรือ แห่งประเทศไทย แต่ปรากฏ ว่า เครื่องจักร ผลิต หลอดฉีดยา ที่ สั่งซื้อ ไว้ นั้น มา ไม่ ถึงประเทศไทย จะ ขัดข้อง เนื่องด้วย เหตุใด ไม่ ปรากฏ ชัด จำเลย จึง ไม่ยอม ชำระ เงิน ตาม เลตเตอร์ออฟเครดิต ให้ แก่ โจทก์ ต่อมา ได้ มี การนำ เงิน เข้า บัญชี จำเลย เพื่อ หัก หนี้ ตาม เลตเตอร์ออฟเครดิต 2ครั้ง คือ เมื่อ วันที่ 16 มกราคม 2523 จำนวน 50,000 เหรียญ ฮ่องกง และเมื่อ วันที่ 23 พฤษภาคม 2523 อีก 20,000 เหรียญ ฮ่องกง ปัญหา วินิจฉัยมี ว่า จำเลย จะ ต้อง รับผิด ชำระ หนี้ ให้ โจทก์ ตาม คำขอ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต นั้น หรือไม่ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย ไม่ ต้อง รับผิดเพราะ ผู้ขาย มิได้ ส่ง สินค้า ลง เรือ การ ที่ ธนาคาร ตัวแทน ของ โจทก์จ่าย เงิน ให้ ผู้ขาย ไป เป็น ความผิดพลาด ของ ธนาคาร ตัวแทน ของ โจทก์เอง เพราะ มิได้ ตรวจสอบ ให้ แน่นอน เสียก่อน ว่า มี การ ส่งของ ลง เรือแล้ว หรือไม่ พิเคราะห์ แล้ว เห็นว่า การ ที่ จำเลย ขอ ให้ โจทก์ เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ก็ เนื่อง มา จาก จำเลย ได้ สั่ง ซื้อ เครื่อง ผลิตหลอดฉีดยา จาก บริษัท อินเตอร์วอลล์ อิมปอร์ต แอนด์ เอ็กซ์ปอร์ตเจนเนอรัล เอเยนซี ที่ ฮ่องกง โดย จำเลย กับ บริษัท ผู้ขาย ได้ ตกลงทำ สัญญา ซื้อ ขาย กัน ไว้ เรียบร้อย แล้ว ส่วน ธนาคาร โจทก์ ผู้เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต เป็น เพียง คนกลาง เพื่อ ชำระ ราคา สินค้า แทนจำเลย เท่านั้น ซึ่ง การ จ่าย เงิน นั้น ทาง ธนาคาร โจทก์ หรือ ตัวแทนโจทก์ จะ พิจารณา จ่าย ให้ ก็ ต่อเมื่อ เอกสาร ที่ ผู้ขาย นำ มา ยื่นนั้น ถูกต้อง ตาม คำขอ เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต และ เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ แจ้ง ไป เท่านั้น เมื่อ ธนาคาร ตัวแทน ของ โจทก์ ตรวจสอบ เอกสาร ที่ผู้ขาย นำ มา ยื่น เห็นว่า ถูกต้อง ครบถ้วน ก็ จะ จ่าย เงิน ให้ ไปเอกสาร หมาย จ.4 ที่ จำเลย ยื่น ต่อ โจทก์ ไว้ นั้น ได้ กำหนด เงื่อนไขไว้ ว่า ตาม คำขอ เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต ให้ โจทก์ จ่าย เงิน ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต ให้ ผู้ขาย ไป ได้ เมื่อ มี การ ยื่น ตั๋วแลกเงินใบตรา ส่งสินค้า ทางเรือ ครบชุด ใบกำกับ สินค้า พร้อม ลายมือชื่อใบรับรอง หรือ กรมธรรม์ ประกันภัยฯลฯ และ จำเลย จะ ชำระ เงิน ให้ โจทก์เมื่อ จำเลย ได้ รับ เอกสาร ดังกล่าว ข้างต้น นั้น แล้ว ข้อเท็จจริงปรากฏ ว่า บริษัท ผู้ขาย ได้ นำ ตั๋วแลกเงิน ใบตราส่ง สินค้า ทางเรือและ ใบกำกับ ราคา สินค้า ตาม เอกสาร หมาย จ.5 ถึง จ.6 มา ยื่น ต่อธนาคาร ฮ่องกงเมโทรโปลิแตน จำกัด ตัวแทน ของ โจทก์ แล้ว ธนาคาร ดังกล่าวได้ จ่าย เงิน ค่า สินค้า ให้ แก่ ผู้ขาย ไป ซึ่ง ตาม ใบส่ง สินค้าทางเรือ (BILL OF LADING) เอกสาร หมาย จ.6 ได้ มี ข้อความ ระบุ ไว้ชัดแจ้ง ว่า สินค้า ที่ เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต ไว้ นั้น คือ เครื่องผลิต หลอดฉีดยา หล่อแบบ พลาสติก 6 ชุด รวม 6 หีบ ได้ บรรทุก ลง เรือแล้ว (SHIPPED ON BOARD) เมื่อ ใบตราส่ง สินค้า ทาง เรือ แสดงว่า ได้มี การ บรรทุก สินค้า ขึ้น ระวางเรือ แล้ว เช่นนี้ ธนาคาร ตัวแทน ของโจทก์ ก็ มี หน้าที่ ต้อง จ่าย เงิน ให้ แก่ ผู้ขาย ไป โจทก์ หรือธนาคาร ตัวแทน ของ โจทก์ ไม่ มี หน้าที่ ต้อง ตรวจตรา ว่า ความจริงสินค้า ได้ บรรทุก ลง เรือ แล้ว หรือไม่ คดี ไม่ ได้ ความ ว่า เอกสารต่างๆ ที่ ผู้ขาย นำ มา ยื่น ต่อ ธนาคาร ตัวแทน ของ โจทก์ นั้น เป็นเอกสาร ปลอม ไม่ ถูกต้อง ครบถ้วน หรือ ธนาคาร ตัวแทน ของ โจทก์ ได้กระทำ การ โดย ไม่ สุจริต แต่ อย่างใด ฉะนั้น ถึงแม้ จะ มี เหตุ ขัดข้องไม่ มี การ ส่ง สินค้า นั้น มา ก็ ตาม ทาง ฝ่าย จำเลย จะ ปฏิเสธ ไม่ ยอมรับผิด ชำระ หนี้ ตาม เลตเตอร์ออฟเครดิต หา ได้ ไม่ เพราะ โจทก์ ได้ปฏิบัติ ไป ตาม เงื่อนไข ใน คำขอ เปิด เลตเตอร์ออฟเครดิต นั้น แล้วส่วน ข้อ ที่ จำเลย ฎีกา ว่า จำเลย ไม่ ควร รับผิด เสีย ดอกเบี้ย ร้อยละ 18 ต่อ ปี นั้น จำเลย มิได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ แต่ แรก จึง เป็น ข้อที่ มิได้ ยก ขึ้น ว่า กัน มา แล้ว ใน ศาลชั้นต้น ศาลฎีกา ไม่ รับวินิจฉัย ส่วน ที่ จำเลย ฎีกา ว่า คำแปล เอกสาร ไม่ มี ผู้ รับรอง ความถูกต้อง ไม่ มี น้ำหนัก ให้ รับ ฟัง นั้น เห็นว่า สาระ สำคัญ อยู่ ที่ว่า เอกสาร นั้น แปล ถูกต้อง หรือไม่ เท่านั้น แม้ คำแปล เอกสาร ของโจทก์ จะ ไม่ มี ผู้ ลงชื่อ รับรอง ก็ ตาม แต่ โจทก์ ก็ ได้ นำ ผู้แปลเอกสาร นั้น มา เบิกความ รับรอง คำแปล นั้น อยู่ แล้ว ฉะนั้น เอกสารที่ โจทก์ อ้าง ไว้ นั้น จึง ไม่ ต้องห้าม มิให้ รับฟัง ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ หนี้ แก่ โจทก์ นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วยฎีกา จำเลย ทุก ข้อ ฟัง ไม่ ขึ้น’
พิพากษา ยืน ให้ จำเลย ใช้ ค่าฤชา ธรรมเนียม ชั้น ฎีกา แทน โจทก์ โดยกำหนด ค่า ทนายความ 10,000 บาท.