คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2504

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

การละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มีความหมายรวมทั้งการกระทำและละเว้นการกระทำอันบุคคลนั้น ๆ จะต้องกระทำด้วย และคำว่า “กระทำ” ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 ซึ่งให้นายจ้างร่วมรับผิดกับลูกจ้าง ก็หมายถึงการกระทำหรือละเว้นการกระทำตามนับที่กล่าว ในเมื่อการกระทำหรือละเว้นนั้นเป็นไปในทางการที่จ้างนายจ้างก็ต้องรับผิด

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ ๑ เป็นคนงานหรือลูกจ้างของจำเลยที่ ๒ มีหน้าที่ปิดเปิดแผงกั้นถนนตรงริมทางรถไฟจะผ่านและผ่านไปแล้ว จำเลยที่ ๑ นอนหลังไม่ได้เอาแผงกั้นถนนเป็นเหตุให้รถไฟของจำเลยที่ ๒ ชนรถยนต์ที่โจทก์นั่งผ่านมา ทำให้โจทก์บาดเจ็บเสียหาย ขอให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหาย
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ตรงถนนซึ่งทางรถไฟผ่านซึ่งเป็นที่เกิดเหตุทางการรถไฟได้ทำเครื่องกีดกั้นทางจราจรยวดยานอื่นที่จะผ่านทางรถไฟในขณะเมื่อจะมีรถไฟผ่านไปมา เครื่องกีดกั้นนั้นยกขึ้นลงด้วยเครื่องกว้าน จำเลยที่ ๑ เป็นเจ้าหน้าที่ในการนี้ เมื่อเวลาจะมีรถไฟผ่าน จำเลยที่ ๑ ก็เลื่อนเครื่องกีดกั้นถนน เมื่อรถไฟผ่านไปแล้ว จำเลยที่ ๑ ก็ยกเครื่องกีดกั้นถนนให้ยวดยานต่าง ๆ ผ่านไปได้ และจำเลยที่ ๑ ยังมีหน้าที่ให้ไฟสัญญานไฟแก่พนักงานขับรถไฟด้วย ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ ๑ นอนหลับไม่ได้ปิดกั้นถนนและไม่ได้ให้สัญญาณรถไฟผ่าน
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต้องกันว่า การกระทำของจำเลยที่ ๑ เป็นการละเมิดต่อโจทก์และเป็นการกระทำซึ่งจำเลยที่ ๒ ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย
จำเลยที่ ๒ ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งมีหน้าที่กั้นทาง นอนหลับเสียไม่กระทำการปิดกั้นทางรถไฟในเมื่อรถไฟจะผ่าน เป็นการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่กระทำการป้องกันภัยสาธารณ ซึ่งเป็นหน้าที่ต้องกระทำเป็นประจำ ถ้าหากจำเลยที่ ๑ ปฏิบัติการปิดกั้นทางเสียก่อนที่รถไฟจะผ่าน รถยนต์ที่โจทก์นั่งไปก็ไม่อาจผ่านเข้าไปถึงทางรถไฟ เหตุร้ายก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยที่ ๑ ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ การละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๒๐ นั้น มีความหมายรวมทั้งการกระทำและละเว้นการกระทำอันบุคคลนั้น ๆ จะต้องกระทำด้วย ฉะนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำของจำเลยที่ ๑ ในกรณีนี้เป็นการละเมิด+โจทก์และวินิจฉัยว่า คำว่า “กระทำ” ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๒๕ ซึ่งให้+จ้างร่วมรับผิดกับลูกจ้างก็ย่อมหมายถึงการกระทำหรือละเว้นการกระทำตามนัย+แล้ว ในเมื่องการกระทำหรือละเว้นนั้นเป็นไปในทางการที่จ้าง นายจ้างก็+รับผิด และคำว่า “ในทางการที่จ้าง” ก็หมายถึงว่า เมื่อลูกจ้างกระทำการอัน+กับทางการที่จ้างแล้วไปทำละเมิดแก่บุคคลอื่น นายจ้างก็ต้องรับผิด พิพากษายืน

Share