คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยที่1กระทำละเมิดยึดรถยนต์ที่โจทก์ที่1ซื้อไว้จากตัวแทนของจำเลยที่1ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายโดยโจทก์ที่1ไม่ได้รับเงินค่ารถยนต์ส่วนที่เหลือจากการขายให้โจทก์ที่2และโจทก์ที่2ต้องเสียเงินที่ชำระให้จำเลยที่1แล้วกับไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้รถยนต์แต่ละวันจำเลยที่1ให้การต่อสู้ว่ารถยนต์เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่1ไม่ได้ให้ผู้ใดเป็นตัวแทนไปขายให้โจทก์ที่1เป็นการโต้เถียงกรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคารถยนต์เมื่อโจทก์แต่ละคนต่างเรียกร้องให้จำเลยที่1รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับเท่านั้นจึงเป็นหนี้ที่แบ่งแยกกันชำระได้เมื่อคดีสำหรับโจทก์แต่ละคนเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ที่1ประกอบกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์จำเลยที่1มีชื่อในสมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์บรรทุกปิดอัพยี่ห้ออีซูซุคันหมายเลขทะเบียน8ย-7504กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่29มกราคม2531จำเลยที่1ได้มอบให้นาย รัตน์ ไม่ทราบนามสกุลนำรถยนต์คันดังกล่าวพร้อมสมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์แบบแจ้งโอนและการเปลี่ยนแปลงต่างๆในทะเบียนรถยนต์คำแจ้งความเรื่องขอโอนและขอรับโอนทะเบียนรถยนต์ซึ่งยังไม่ได้กรอกข้อความโดยจำเลยที่1ลงลายมือชื่อในช่องเจ้าของรถยนต์ผู้ยื่นคำขอและช่องผู้โอนทั้งสำเนาบัตรประจำตัวของจำเลยที่1มาแสดงและเสนอขายให้โจทก์ที่1ในราคา140,000บาทโจทก์ที่1รับซื้อไว้ซึ่งเป็นการซื้อขายโดยสุจริตในท้องตลาดโจทก์ที่1ได้ตกแต่งปรับปรุงรถยนต์ให้มีสภาพดีขึ้นเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงิน15,000บาทต่อมาวันที่10กุมภาพันธ์2531โจทก์ที่1ได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่2ในราคา170,000บาทโจทก์ที่2ชำระเงินให้โจทก์ที่1เป็นจำนวน35,000บาทส่วนที่เหลือโจทก์ที่2จะขอกู้จากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธนานันท์ จำกัดโดยนำรถยนต์ที่ซื้อไปโอนใส่ชื่อเป็นของบริษัทดังกล่าวในสมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานกองทะเบียนกรมตำรวจไม่สามารถจดทะเบียนโอนเปลี่ยนชื่อได้แจ้งว่ารถยนต์คันดังกล่าวถูกจำเลยที่1แจ้งอายัดไว้เพราะถูกขโมยไปวันที่22กุมภาพันธ์2531เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธินได้ไปยึดรถยนต์คันดังกล่าวจากโจทก์ที่2มาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลพหลโยธินเพื่อประกอบการสอบสวนคดีลักทรัพย์โจทก์ที่1มีหนังสือโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในรถยนต์และขอรับรถยนต์คืนแต่จำเลยที่2ซึ่งเป็นสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลพหลโยธินไม่ยอมคืนแจ้งว่าได้คืนรถยนต์ให้จำเลยที่1ไปแล้วการคืนดังกล่าวจำเลยที่2ไม่ได้สอบถามโจทก์ทั้งสองก่อนการกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำโดยไม่ชอบและไม่มีอำนาจกระทำได้จำเลยที่2เป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของจำเลยที่3จำเลยที่2จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่3การกระทำของจำเลยที่1และที่2เป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายซึ่งจำเลยที่3ต้องร่วมรับผิดด้วยขอให้บังคับจำเลยทั้งสามส่งมอบรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน8ย-7504กรุงเทพมหานครในสภาพเดิมแก่โจทก์ทั้งสองหากไม่สามารถคืนรถยนต์คันดังกล่าวได้ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าเสียหายแก่โจทก์ที่1เป็นเงิน140,062.50บาทและโจทก์ที่2เป็นเงิน97,106.28บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีสำหรับโจทก์ที่1ในต้นเงิน135,000บาทสำหรับโจทก์ที่2ในต้นเงิน93,500บาทนับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่1ให้การว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ประกอบกิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์จำเลยที่1เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน8ย-7504กรุงเทพมหานครและได้ครอบครองรถยนต์มาโดยตลอดจำเลยที่1ไม่เคยขายรถยนต์ให้แก่ผู้ใดและไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองฟ้องของโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุมจำเลยที่1ไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อทำผิดกฎหมายต่อโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองไม่ได้รับความเสียหายขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่2และที่3ให้การทำนองเดียวกันว่าโจทก์ที่1ไม่ได้ประกอบกิจการซื้อขายและแลกเปลี่ยนรถยนต์โจทก์ที่1ไม่ได้ซื้อรถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่1จำเลยที่1ไม่เคยมอบให้นาย รัตนะเป็นตัวแทนนำรถยนต์คันพิพาทไปขายให้แก่โจทก์ที่1จำเลยที่1มาแจ้งความร้องทุกข์ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่2ว่าจำเลยที่1ถูกนาย รัตนะหลอกให้ลงลายมือชื่อในใบโอนรถยนต์พร้อมกับเอาสมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์และรถยนต์คันพิพาทไปโจทก์ทั้งสองไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทจำเลยที่2ได้แจ้งอายัดรถยนต์คันดังกล่าวไปยังกองทะเบียนกรมตำรวจโจทก์ทั้งสองไม่โต้แย้งกรรมสิทธิ์จำเลยที่2จึงได้คืนรถยนต์คันพิพาทที่ยึดมาให้จำเลยที่1ไปโดยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองจำเลยที่2และที่3ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1คืนรถยนต์บรรทุกกระบะยี่ห้ออีซูซุหมายเลขทะเบียน8ย-7504กรุงเทพมหานครในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีแก่โจทก์ทั้งสองหากคืนไม่ได้ให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่1จำนวน135,000บาทโจทก์ที่2จำนวน44,750บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ทำละเมิด(วันที่22มกราคม2531)จนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์
จำเลยที่1อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าหากจำเลยที่1คืนรถยนต์คันพิพาทไม่ได้ให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่1เป็นจำนวนเงิน120,000บาทให้จำเลยที่1ใช้ค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยที่1ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า”คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยที่1กระทำละเมิดยึดรถยนต์ที่โจทก์ที่1ซื้อไว้โดยชอบแล้วจากตัวแทนของจำเลยที่1ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายโดยโจทก์ที่1ไม่ได้รับเงินค่ารถยนต์ส่วนที่เหลือจากการขายให้โจทก์ที่2และโจทก์ที่2ต้องเสียเงินที่ชำระให้จำเลยที่1แล้วกับไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้รถยนต์แต่ละวันจำเลยที่1ให้การต่อสู้ว่ารถยนต์เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่1ไม่ได้ให้ผู้ใดเป็นตัวแทนไปขายให้โจทก์ที่1อันเป็นกรณีโต้เถียงกรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคารถยนต์ซึ่งราคาซื้อขายเพียง155,000บาทอีกทั้งคดีนี้แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่1รับผิดโดยอาศัยมูลละเมิดเดียวกันแต่โจทก์แต่ละคนต่างเรียกร้องให้จำเลยที่1รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับเท่านั้นจึงเป็นหนี้ที่แบ่งแยกกันชำระได้คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ที่1ได้รับค่าเสียหายเป็นเงิน120,000บาทและให้โจทก์ที่2ได้รับค่าเสียหายเป็นเงิน35,000บาทในกรณีที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับรถยนต์คืนซึ่งรวมเป็นราคารถยนต์พิพาทแล้วแม้โจทก์ที่2จะได้รับค่าเสียหายเนื่องจากการไม่ได้ใช้รถยนต์อีกเป็นเงิน9,750บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันละเมิด(22มกราคม2531)คิดถึงวันฟ้องเป็นเงินรวม10,256.86บาทแต่เมื่อนำมารวมกันแล้วก็ไม่เกิน200,000บาทคดีสำหรับโจทก์แต่ละคนเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000บาททั้งไม่ปรากฏเหตุยกเว้นที่จะฎีกาข้อเท็จจริงได้ตามกฎหมายจึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งที่จำเลยที่1ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์ที่1มีอาชีพซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์นั้นขัดต่อเหตุผลก็ดีนาย รัตนะมิใช่เป็นตัวแทนของจำเลยที่1แต่น่าจะฟังว่านาย รัตนะเป็นตัวแทนของโจทก์ที่1ก็ดีไม่น่าเชื่อว่าโจทก์ที่1รับซื้อรถยนต์ไว้โดยสุจริตนาย รัตนะไม่ได้รับเงินจากโจทก์ที่1ก็ดีไม่น่าเชื่อว่ามีการซื้อขายรถยนต์ระหว่างโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายก็ดีล้วนแต่เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามและที่ฎีกาว่าโจทก์ที่2ซื้อรถยนต์พิพาทจากโจทก์ที่1โดยมิชอบเพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนและการกระทำของจำเลยที่1ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองก็เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามเช่นกันศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้”
พิพากษายกฎีกาของจำเลยที่1

Share