คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2538

แหล่งที่มา : สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ

ย่อสั้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา733ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นได้ แม้ว่าจะมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองยกเว้นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา733ก็ตามแต่หนี้ที่ น.ลูกหนี้ค้างชำระแก่โจทก์หลังจากบังคับคดีแล้วเป็นเวลากว่า10ปีนับแต่วันพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้อง น. โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับเอากับ น. อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา698แต่ยังคงต้องรับผิดตามทรัพย์จำนอง

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ขอให้ บังคับ จำเลย ชำระ เงิน และ ดอกเบี้ย ก่อน ฟ้อง จำนวน43,750 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 25,000บาท หาก ไม่ชำระ หรือ ชำระ ไม่ครบ ให้ ยึดทรัพย์ จำนอง และ ทรัพย์สิน อื่นของ จำเลย ออก ขายทอดตลาด ชำระหนี้ แก่ โจทก์ จน ครบ
จำเลย ให้การ ว่า นาย ไพฑูรย์ อัศศิระกุล สามี ของ นาง นิตยา ยืม โฉนด ที่ดิน ของ จำเลย ไป เพื่อ เป็น หลักทรัพย์ ค้ำประกัน ใน การ กู้ยืมเงิน จาก ธนาคาร จำเลย ไม่มี เจตนา จะ ให้ นาง นิตยา นำ ที่ดิน ดังกล่าว ไป จำนอง โจทก์ ใช้ สิทธิ โดย ไม่สุจริต เพราะ โจทก์ ไม่ ขวนขวาย ที่ จะบังคับคดี แก่ ทรัพย์สิน ของ นาง นิตยา ให้ เสร็จ ไป โดย รวดเร็ว และ ฟ้อง เกิน 10 ปี ทั้ง มิได้ บังคับคดี ให้ เสร็จสิ้น ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ มี คำพิพากษา ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษายก ฟ้อง
โจทก์ อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับ ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 43,750 บาทพร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 25,000 บาทนับ ตั้งแต่ วันที่ 9 มีนาคม 2533 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ถ้า จำเลย ไม่ชำระ ให้ ยึดทรัพย์ จำนอง ที่ดิน โฉนด เลขที่ 30290 ตำบล ในคลองบางปลากด อำเภอ เมือง สมุทรปราการ จังหวัด สมุทรปราการ พร้อม สิ่งปลูกสร้าง ออก ขายทอดตลาด นำ เงิน มา ชำระหนี้ แก่ โจทก์ หาก ได้เงิน สุทธิ ไม่พอ ชำระหนี้ จำเลย ไม่ต้อง รับผิด ชำระหนี้ ส่วน ที่ ยังขาด จำนวน แก่ โจทก์
โจทก์ ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “โจทก์ ฎีกา ใน ปัญหาข้อกฎหมาย ว่า สัญญาข้อ 5 ใน ข้อตกลง ต่อ ท้าย สัญญาจำนอง เอกสาร หมาย จ. 7 อันเป็น การ ตกลง กันอย่างอื่น นอกเหนือ จาก บทบัญญัติ ตาม มาตรา 733 แห่ง ประมวล กฎหมายแพ่ง และ พาณิชย์ ใช้ บังคับ ได้ไม่ เป็น การ ขัด ต่อ ความสงบ เรียบร้อยหรือ ศีลธรรม อัน ดี ของ ประชาชน แต่ ประการใด ใน การ วินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกา ต้อง ถือ ตาม ข้อเท็จจริง ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยจาก พยานหลักฐาน ใน สำนวน ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา238 ประกอบ มาตรา 247 ซึ่ง ศาลอุทธรณ์ ฟัง ข้อเท็จจริง ว่า จำเลย ได้นำ ที่ดิน โฉนด เลขที่ 30290 ตำบล ในคลองบางปลากด อำเภอ เมือง สมุทรปราการ จังหวัด สมุทรปราการ มา ประกันหนี้ ของ นาง นิตยา อัศศิระกุล จำนวน 25,000 บาท โดย ยอม เสีย ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี ตาม หนังสือ สัญญาจำนอง และ ข้อตกลง ต่อ ท้าย สัญญาจำนอง ตามเอกสาร หมาย จ. 7 มี นาย พิสันต์ บุญญกาศ ลงลายมือชื่อ แทน จำเลย ใน ฐานะ ผู้รับมอบอำนาจ ตาม หนังสือมอบอำนาจ เอกสาร หมาย จ. 19นาง นิตยา ถูก โจทก์ ฟ้องบังคับ ให้ ชำระหนี้ แล้ว ยัง คง ค้าง โจทก์ อยู่ จำนวน 51,220.35 บาท เมื่อ คิด ถึง วันที่ 30 เมษายน 2533 ตาม บัญชีและ รายการ โอน ชำระหนี้ เอกสาร หมาย จ. 11, จ. 12 ซึ่ง จำเลย ต้อง รับผิดชำระ เงิน จำนวน 25,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ค้างชำระ ก่อน ฟ้อง ใน อัตราร้อยละ 15 ต่อ ปี เป็น เวลา 5 ปี เป็น เงิน 18,750 บาท และ นับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2533 จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์ เห็นว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ไม่ใช่ บทบัญญัติ แห่งกฎหมายอัน เกี่ยวกับ ความสงบ เรียบร้อย หรือ ศีลธรรม อัน ดี ของ ประชาชน ผู้จำนองอาจ ตกลง กับ ผู้รับจำนอง เป็น ประการอื่น พิเศษ นอกเหนือ จาก ที่มา ตรา733 บัญญัติ ไว้ ก็ ย่อม กระทำ ได้ เช่น ใน กรณี ที่ ยึดทรัพย์ จำนอง ออกขายทอดตลาด แล้ว ยัง ได้ เงิน ไม่พอ ใช้ หนี้ ผู้จำนอง ยอมรับ ผิด ให้ผู้รับจำนอง ยึดทรัพย์ อื่น ของ ตน มา ใช้ หนี้ จน ครบ เป็นต้น ข้อตกลง นี้ย่อม มีผล บังคับ กัน ได้ ตาม กฎหมาย หา ตกเป็น โมฆะ อย่างใด ไม่ ตาม นัยคำพิพากษาฎีกาที่ 168/2518 ระหว่าง ร้านสหกรณ์ ร้อยเอ็ด จำกัด สิน ใช้โจทก์ นาย เสรี อิทธิสมบัติ กับพวก จำเลย นาย เถียร นาครวาจา จำเลยร่วม แม้ ปรากฏ ตาม ข้อตกลง ต่อ ท้าย สัญญาจำนอง ที่ จำเลย ทำ ไว้กับ โจทก์ มี ระบุ ไว้ ใน ข้อ 5 ความ ว่า ถ้า ใน การ บังคับจำนอง ตาม สัญญา นี้ได้ เงิน ไม่พอ จำนวนเงิน ที่ ค้างชำระ จำนวน อยู่ เท่าใด ผู้จำนอง ยอมรับผิดชอบ ใช้ เงิน ที่ ขาด จำนวน นั้น ให้ แก่ ผู้รับจำนอง จน ครบ จำนวนซึ่ง หมายความ ว่า ถึง จะ ยึดทรัพย์ จำนอง ขายทอดตลาด แล้ว ได้ เงิน ไม่พอใช้ หนี้ แก่ โจทก์ โจทก์ ก็ ยัง มีสิทธิ ที่ จะ ยึดทรัพย์ อื่น ๆ ของ จำเลยใน ฐานะ ผู้จำนอง เป็น ประกัน มา ใช้ หนี้ จน ครบ ก็ ตาม แต่ หนี้ ที่นา ง นิตยา อัศศิระกุล ลูกหนี้ ค้าง โจทก์ หลังจาก บังคับคดี แล้ว ไม่พอ ชำระ นั้น เป็น เวลา กว่า 10 ปี นับแต่ วัน มี คำพิพากษา โจทก์ จึง หมด สิทธิที่ จะ บังคับ เอา แก่ ลูกหนี้ อีก ต่อไป ตาม ประมวล กฎหมาย วิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 271 จำเลย ใน ฐานะ ผู้ค้ำประกัน ย่อม หลุดพ้น จาก ความรับผิด ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 แต่ ยัง คง รับผิดตาม ทรัพย์ จำนอง ซึ่ง ยุติ ตาม ที่ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ที่ ศาลอุทธรณ์พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา เห็นพ้อง ด้วย ใน ผล ฎีกา โจทก์ ฟังไม่ขึ้น ”
พิพากษายืน

Share