คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2538

แหล่งที่มา : เนติบัณฑิตยสภา

ย่อสั้น

จำเลยตกลงให้ค่านายหน้าแก่โจทก์ที่2และที่3ที่ชี้ช่องจนจำเลยสามารถขายที่ดินแก่โจทก์ที่1ได้เมื่อจำเลยกับโจทก์ที่1ได้เข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันจำเลยทั้งสองรับผิดใช้ค่าบำเหน็จนายหน้าให้แก่โจทก์ที่2และที่3แม้ต่อมาสัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุใดจำเลยก็ต้องชำระค่าบำเหน็จนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา845

ย่อยาว

โจทก์ ฟ้อง ว่า จำเลย แจ้ง แก่ โจทก์ ทั้ง สาม ว่า จะขาย ที่ดินใน ราคา 16,530,000 บาท หาก โจทก์ ทั้ง สาม สามารถ ชี้ ช่อง หรือแนะนำ บุคคล ใด มา ซื้อ ที่ดิน ได้ จะ ให้ ค่า บำเหน็จ นายหน้า แก่ โจทก์ ทั้ง สามคน ละ 100,000 บาท จะ จ่าย ให้ ใน วันที่ 5 ตุลาคม 2532 หาก จำเลยผิดสัญญา ยอม เสีย ดอกเบี้ย ให้ อีก ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปีใน วันเดียว กัน นั้นเอง โจทก์ ทั้ง สาม ได้ ให้ โจทก์ ที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขาย ที่ดิน จำเลย โดย ผู้จะซื้อ ชำระ ค่าที่ดิน บางส่วนจำนวน 1,000,000 บาท ด้วย เช็ค และ จำเลย ได้รับ เงิน ดังกล่าวไป แล้ว การ ที่ จำเลย ได้ ทำ สัญญาจะซื้อขาย กัน เป็น ผลสำเร็จ เพราะโจทก์ ทั้ง สาม เป็น ผู้ชี้ช่อง และ จัดการ ให้ เข้า ทำ สัญญา กัน แต่เมื่อถึง วัน ครบ กำหนด ชำระ ค่า นายหน้า จำเลย ไม่ยอม ชำระ ขอให้ บังคับจำเลย ชำระ เงิน แก่ โจทก์ คน ละ 100,000 บาท รวมเป็น เงิน 300,000บาท พร้อม ดอกเบี้ย จน ถึง วันฟ้อง อีก คน ละ 13,280 บาท และ ให้ จำเลยชำระ ดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปี แก่ โจทก์ แต่ละ คน จาก เงินต้นคน ละ 100,000 บาท นับแต่ วันฟ้อง ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย ให้การ ว่า เมื่อ โจทก์ ที่ 1 ทำ สัญญาจะซื้อขาย กับ จำเลยแล้ว ถึง กำหนด นัด โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน และ ชำระ ค่าที่ดิน ส่วน ที่ เหลือ กันใน วันที่ 5 ตุลาคม 2532 โจทก์ ที่ 1 ไม่ไป รับโอน กรรมสิทธิ์ ตาม กำหนดและ ไม่มี ตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ ธนาคาร อาวัล ไป ชำระ แก่ จำเลย โจทก์ ที่ 1จึง เป็น ฝ่าย ผิดสัญญา ทำให้ สัญญาจะซื้อขาย เป็น อัน เลิกกันผล การ ชี้ ช่อง ของ โจทก์ ทั้ง สาม ให้ จำเลย ทำ สัญญาจะซื้อขาย จึง ไม่เป็น ผลสัญญา ให้ บำเหน็จ นายหน้า ต้อง สิ้นสุด ลง โจทก์ ทั้ง สาม ไม่มี สิทธิได้รับ บำเหน็จ นายหน้า ขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ แก่ โจทก์ ทั้ง สาม คน ละ 100,000 บาทรวมเป็น เงิน 300,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 15 ต่อ ปีนับแต่ วันที่ 5 ตุลาคม 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จจำเลย อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ยก ฟ้องโจทก์ ที่ 1นอกจาก ที่ แก้ ให้ เป็น ไป ตาม คำพิพากษา ศาลชั้นต้น จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า “ส่วน ปัญหาข้อกฎหมาย ที่ จำเลย ฎีกา ว่าตาม สัญญา ให้ ค่า บำเหน็จ นายหน้า เอกสาร หมาย จ. 2 มี ข้อความ ระบุไว้ ว่า “สำหรับ การ ที่ บุคคล ทั้ง สาม เป็น ผู้ชี้ช่อง จน ข้าพเจ้า สามารถขาย ที่ดิน โฉนด เลขที่ เนื้อที่ 87 ไร่ ได้ โดย จะ ชำระ ใน วันที่5 ตุลาคม 2532” มี ความหมาย ว่า โจทก์ ที่ 1 และ จำเลย จะ ต้องมี การ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน และ ชำระ เงิน ค่าที่ดิน กันจึง จะ ถือว่า จำเลย สามารถ ขาย ที่ดิน ได้ และ มี หน้าที่ ชำระค่า บำเหน็จ นายหน้า นั้น เห็นว่า เกี่ยวกับ สัญญา นายหน้าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 บัญญัติ ว่า “บุคคล ใดตกลง จะ ให้ ค่า บำเหน็จ แก่ นายหน้า เพื่อ ที่ ชี้ ช่อง ให้ ได้ เข้า ทำ สัญญาก็ ดี จัดการ ให้ ได้ ทำ สัญญา กัน ก็ ดี ท่าน ว่า บุคคล ผู้ นั้น จะ ต้องรับผิด ใช้ ค่า บำเหน็จ ก็ ต่อเมื่อ สัญญา นั้น ได้ ทำ กัน สำเร็จ เนื่องแต่ผล แห่ง การ ที่นาย หน้า ชี้ ช่อง หรือ ได้ จัดการ นั้น ” สัญญา นายหน้าจึง เป็น สัญญา ซึ่ง บุคคล คนหนึ่ง ตกลง ให้ นายหน้า เป็น ผู้ชี้ช่องหรือ จัดการ ให้ เข้า ได้ ทำ สัญญา กับ บุคคลภายนอก และ นายหน้า รับ กระทำการตาม นั้น เมื่อ ได้ ชี้ ช่อง หรือ จัดการ ให้ เขา ได้ ทำ สัญญา กัน แล้วนายหน้า ก็ จะ ได้ บำเหน็จ ตาม ที่ ตกลง กัน ไว้ และ คำ ว่า สัญญา สำเร็จมิได้ หมายความ ว่า สำเร็จ ถึง ขนาด จัดการ โอน กรรมสิทธิ์ ใน ทรัพย์สิน แก่ กันเพียงแต่ นายหน้า ได้ ทำการ ชี้ ช่อง ให้ คู่กรณี ได้ ทำ สัญญา เป็น การผูกมัด กัน ตาม กฎหมาย นายหน้า ก็ หมด หน้าที่ เมื่อ ข้อเท็จจริงฟัง เป็น ยุติ ว่า โจทก์ ที่ 2 และ ที่ 3 ชี้ ช่อง หรือ จัดการ ให้ จำเลยกับ โจทก์ ที่ 1 ได้ เข้า ทำ สัญญาซื้อขาย ที่ดิน กัน จำเลย จึง ต้องรับผิด ใช้ ค่า บำเหน็จ นายหน้า ให้ แก่ จำเลย ที่ 2 และ ที่ 3 หาใช่จะ ต้อง มี การ จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ที่ดิน และ ชำระ ราคา ต่อ กันครบถ้วน จำเลย จึง จะ มี หน้าที่ ชำระ ค่า บำเหน็จ นายหน้า ดัง จำเลย ฎีกา ไม่ ”
พิพากษายืน

Share