คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2520

แหล่งที่มา : กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

ย่อสั้น

มีเฮโรอีนฯ และเสพเฮโรอีนที่มีไว้นั้น เป็นการกระทำโดยเจตนาคนละอันต่างกันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2465 มาตรา 20 ตรี กระทงหนึ่งกับ มาตรา 22 อีกกระทงหนึ่ง แก้ไขฉบับที่ 4 พ.ศ. 2504 มาตรา 7 และ 8

ย่อยาว

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2512 โจทก์ได้ฝากเงิน 24,600 บาทไว้กับจำเลย โดยมิได้ทำหนังสือไว้เป็นหลักฐาน โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบด้วยว่าโจทก์จะต้องเรียกเงินคืนภายใน 6 เดือน จำเลยได้รับฝากไว้โดยไม่เรียกร้องค่าบำเหน็จหรือค่ารักษาแต่อย่างใด เมื่อครบกำหนด 6 เดือนแล้ว โจทก์ทวงถามจำเลยผัดผ่อน ครบกำหนดที่ผัดผ่อนแล้วจำเลยก็ไม่นำเงินมาคืน และไม่ยอมทำหนังสือไว้เป็นหลักฐาน ทนายโจทก์ได้ทวงถามไปยังจำเลย จำเลยไม่ยอมรับหนังสือทวงถาม โจทก์เสียหาย จำเลยต้องชดใช้ให้ โดยเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เป็นเงิน 3,796.15 บาท ขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงิน 28,396.15บาทให้โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ย

จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยรับฝากเงินจากโจทก์ ในวันที่ 10 ตุลาคม 2512 จำเลยรับราชการที่กรมไปรษณีย์โทรเลข โจทก์คิดไม่สุจริตยักยอกเงินที่เรี่ยไรมาได้แล้วโยนบาปมาให้จำเลย

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 24,600 บาทให้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าได้ฝากเงินจำเลยไว้แต่นำสืบว่าโจทก์ได้ฝากเงินให้จำเลยไปฝากธนาคาร ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้ยกขึ้นเป็นข้อตำหนิคดีของโจทก์นั้น เป็นเรื่องการแตกต่างกันเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ข้อใหญ่ใจความของคดีคงอยู่ที่ว่า โจทก์ได้อ้างว่าเงินของโจทก์อยู่ที่จำเลยและขอให้จำเลยส่งคืน ซึ่งข้อนี้จำเลยได้ให้การต่อสู้แต่เพียงว่า จำเลยไม่เคยได้รับฝากเงินจากโจทก์ไว้เลย ในวันที่โจทก์อ้างตามฟ้องนั้นจำเลยก็ไม่ได้รับเงินไว้จากโจทก์ฉะนั้นถ้าหากทางพิจารณาคดีฟังได้ว่าจำเลยได้รับเงินของโจทก์ไว้ และเงินจำนวนนั้นยังอยู่ที่จำเลย ศาลก็ชอบที่จะบังคับตามคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยคืนเงินให้แก่โจทก์ได้

ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ได้มอบเงินให้แก่จำเลยไปจริงหรือไม่นั้นศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วเชื่อว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวนที่ฟ้องจริง

พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

Share